การศึกษาเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านการเลือก ทำเลที่ตั้งของตลาดสด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ : กรณีศึกษาตลาดไทยพัฒนาท่าพล ตลาดเทศบาล2 และตลาดเทศบาล3
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยนี้ศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้งของตลาดสด ในเขตอำเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้งของตลาดสดที่ผู้บริโภคใช้ประจำ เพื่อเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้ง เมื่อทำเลที่ตั้งของตลาดสดแตกต่างกันและเพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้งของตลาดสด ที่ส่งผลต่อการใช้บริการ เป็นประจำ จากตัวอย่าง 360 คน โดยใช้เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม วิธีการสุ่มแบบเจาะจง ใช้สถิติพรรณนา การวิเคราะห์ความแปรปรวน และสมการถดถอยพหุ ผลการวิจัยพบว่า ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ร้อยละ 65.3 ส่วนใหญ่มีอายุ 36- 45 ปี รายได้เฉลี่ยต่อเดือนต่ำกว่าหรือเท่ากับ 10,000 บาท ส่วนใหญ่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี ความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้งของตลาดสดที่ใช้ประจำอยู่ในระดับดี ทำเลที่ตั้ง ที่ต่างกันส่งผลให้ ความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้งแตกต่างกัน ความพึงพอใจของผู้บริโภคด้านทำเลที่ตั้งที่ส่งอิทธิพลร่วมต่อการใช้บริการตลาดสดเป็นประจำ คือ ด้านแหล่งวัตถุดิบ ด้านตลาด และด้านการขนส่ง ส่วนด้านแหล่งแรงงาน ด้านที่ดิน และด้านปัจจัยอื่นๆ นั้นมีผลแบบรายด้านเท่านั้น และตลาดสดที่ผู้บริโภคใช้ประจำมีความสัมพันธ์กับตลาดสดที่ผู้บริโภคชื่นชอบ เป็นไปตามสมมุติฐานทุกข้อ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กิตติศักดิ อาสาวงค์. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยด้านทำเลที่ตั้งโครงการอสังหาริมทรัพย์ประเภทบ้านจัดสรร. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
ดาราวรรณ สกุลวงศ์. (2552). ความพึงพอใจของผู้บริโภคสินค้าจากตลาดสดน่าซื้อ. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
บดินทร์ภัทร์ สิงโต และ ศรัณยพงศ์ เที่ยงธรรม. (2559). พฤติกรรมการเลือกซื้อและปัจจัยที่มีผลต่อความตั้งใจกลับมาซื้อซ้าของลูกค้าในตลาดนัดสวนจตุจักร. การประชุมวิชาการระดับชาติ ด้านบริหารธุรกิจราชมงคลพระนครและการนำเสนอผลงานวิจัยเชิงสร้างสรรค์ 2559
ปรีชญะ โรจน์ฤดากร. (2556). แนวทางการพัฒนาตลาดสดสีเขียวรังสิต. วารสารวิชาการคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ สจล.
ปิยฉัตร เอกศักดิ์พรทวี. (2551). การเลือกใช้บริการตลาดสดของผู้บริโภค ในเขตอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์. มหาวิทยาลัยแม่โจ้
พิชิต สุขเจริญพงศ์. (2552). การจัดการวิศวกรรมการผลิต. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยุเคชั่น.
ภาวิณี กาญจนาภา. (2554). การบริหารส่วนประสมการค้าปลีกและการจัดการเชิงกลยุทธ์การตลาดของร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิม. วารสารบริหารธุรกิจ ปีที่ 34 ฉบับที่ 132 ตุลาคม-ธันวาคม 2554
มัชณัตตา เงาะผล. (2551). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความอยู่รอดของดิสเคาน์สโตร์ท้องถิ่นกรณีศึกษา: ห้างซุปเปอร์ชีปจังหวัดภูเก็ต.วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิตมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์. คณะเศรษฐศาสตร์
มาโนชญ์ เพ็ญสุวรรณ. (2546). ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งของสถานประกอบการธุรกิจทางการค้า และธุรกิจทางการบริการ บนถนนประดิษฐมนูธรรมและถนนพระรามที่ 9. วิทยานิพนธ์.จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
วรรณา ทองเย็น. (2561). แนวทางการจัดการการตลาดสำหรับร้านค้าปลีกขนาดเล็ก: กรณีศึกษา อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ. Kasem Bundit Journal Volume 19 Special Edition March 2018
สำนักข่าว BBC. สภาพเศรษฐกิจไทยในสายตาแม่ค้าตลาดสด. สืบค้นเมื่อ 23 พฤษภาคม 2559, จาก http://www.bbc.com
สำนักงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์. (2561). รายงานสถิติจังหวัดเพชรบูรณ์. สำนักงานสถิติแห่งชาติ กระทรวงดิจิทัลเพื่อเศรษฐกิจและสังคม
สมศักดิ์ ตรีสัตย์. (2542). การออกแบบและวางผังโรงงาน. กรุงเทพฯ : สมาคมส่งเสริมเทคโนโลยี (ไทย-ญี่ปุ่น)
Cronin, J.J. Jr, Brady, M.K. & Hult, G.T.M. (2000). Assessing the effects of quality, value, and customer satisfaction on consumer behavioral intentions in service environments. Journal of Retailing, 76(2)
Hellier P. K., Geursen G. M., Carr R. A. & Rickard G. A. (2003). Customer repurchase intention: a general structural equation model. European Journal of Marketing. 37