การจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน เพื่อส่งเสริมความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาสาขาการศึกษาปฐมวัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การศึกษาในศตวรรษที่ 21 เป็นการพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ และทักษะของการคิด การแก้ปัญหา การสื่อสาร การทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อการดำรงชีวิตอย่างสร้างสรรค์ และมีความสุข ด้วยการจัดการเรียนการสอนเชิงรุก ซึ่งวิธีการหนึ่งที่ใช้ คือ การจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน ด้วยกระบวนการเรียนรู้ที่บูรณาการความรู้ภาคทฤษฎี ประสบการณ์ มาประยุกต์ใช้ในการแก้ปัญหาที่พบจากการปฏิบัติงาน จนสามารถสร้างความคิดรวบยอด จากการให้นักศึกษาเข้าสังเกตการสอนในสถานศึกษา เพื่อใช้ความรู้ประสบการณ์เดิม นำมาสู่การสร้างผลงาน และลงมือปฏิบัติงาน โดยประยุกต์ใช้ความรู้เพื่อแก้ไขปัญหาในการทำงาน รวมถึงได้มีการแลกเปลี่ยนประสบการณ์และเรียนรู้จากการสะท้อนความคิดจากการทำงาน ทั้งการสะท้อนความคิดของตนเอง และการสะท้อนความคิดจากเพื่อนร่วมงาน รวมถึงการสะท้อนความคิดจากผู้สอน จนสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการพัฒนาปรับปรุงการปฏิบัติงานให้ดีขึ้น รวมถึงเป็นการพัฒนาผลการเรียนรู้ในรายวิชา และความสามารถในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย โดยผู้สอนมีบทบาทสำคัญ ในการใช้วิธีการสอนแบบมีส่วนร่วม คอยชี้แนะสนับสนุน ให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจเชิงลึก ตลอดจนวางแผนการสอน และจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิภาพ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กุลยา ตันติผลาชีวะ. (2551). การจัดกิจกรรมการเรียนรู้สำหรับเด็กปฐมวัย.กรุงเทพฯ: มิตรสัมพันธ์กราฟฟิค.
ทิศนา แขมมณี. (2555). ศาสตร์การสอน: องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ(พิมพ์ ครั้งที่ 16). กรุงเทพฯ:ด่านสุทธาการพิมพ์ จำกัด.
ประชิต ทิณบุตร. (2551). การพัฒนาทักษะการคิดวิเคราะห์และทักษะการนำเสนอผลงานการสร้างสรรค์ผลงานการออกแบบบรรจุภัณฑ์ ของนักศึกษาสาขาวิชาศิลปกรรม(ออกแบบประยุกต์ศิลป์) มหาวิทยาลัยราชภัฎจันทรเกษม. สืบค้นจาก http://research.bcnnv.ac.th/articles/prachid.
ประพันธ์ศิริ สุเสารัจ. (2556). การพัฒนาการคิด (พิมพ์ครั้งที่ 5). กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
รักษิต สุทธิพงษ์. (2560). กระบวนทัศน์ใหม่ทางการศึกษากับการพัฒนาครูไทยในยุคดิจิตอล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 19 (ฉบับที่ 2 เมษายน – มิถุนายน).น. 344.
วัชรา เล่าเรียนดี และคณะ. (2560). กลยุทธ์การจัดการเรียนรู้เชิงรุกเพื่อพัฒนาการคิดและยกระดับคุณภาพการศึกษาสำหรับศตวรรษที่ 21(พิมพ์ครั้งที่ 12). นครปฐม: บริษัท เพชรเกษมพริ้นติ้ง กรุ๊ป.
ศุภจิต รัตนมณีฉัตร. (2557). การพัฒนาทรัพยากรการเรียนรู้ที่ใช้การทำงานเป็นฐานเพื่อการบริหารจัดการกลุ่มวิชาชีพ รายวิชาวีดิทัศน์ หลักสูตรเทคโนโลยีบัณฑิต สาขา เทคโนโลยีการศึกษาแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล. (ปริญญานิพนธ์ดุษฎีบัณฑิต) มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาหลักสูตรและการสอน.
ศศิธร เวียงวะลัย. (2556). การจัดการเรียนรู้ : Learning Management(พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ: โอ.เอส.พริ้นติ้ง เฮ้าส์.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียนในศตวรรษที่ 21 (พิมพ์ครั้งที่ 1) กรุงเทพฯ: โรงพิมพ์ 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สราวุธ ปึ้งผลพูล. (2555), การพัฒนาการเรียนรู้ เรื่องความสัมพันธ์ระหว่างรูปเรขาคณิตสองมิติ และสามมิติของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้งานเป็นฐาน. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต) มหาวิทยาลัยศิลปากร, คณะศึกษาศาสตร์, สาขาหลักสูตรและการสอน.
สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา. (กุมภาพันธ์ 2554). ความก้าวหน้าอุดมศึกษาไทย. อนุสารอุดมศึกษา, 37 (6)
Lemanski, Mewis and Overton. (2011). An Introduction to Work-Based Learning. Retrieved from www.heacademy.ac.uk/physsci.
Aini, Kustono, Dardiri and Kamdi. (2016). Work – Based Learning for enhancing the capacity of engagement: Lesson from Stakeholders perspective literature. Retrieved from https://aip.scitation.org/doi/abs/10.1063/1.4965786.