การสังเคราะห์และแนวโน้มการวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคม

Main Article Content

ขนิษฐา ใจมโน

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อจำแนกงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมตามตัวแปรทางสังคม สังเคราะห์งานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมในประเด็นวัตถุประสงค์การวิจัย กลุ่มตัวอย่าง และผลการวิจัย ตลอดจนศึกษาแนวโน้มงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน


ผลการวิจัยพบว่างานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมหากนำจำนวนของตัวแปรทางสังคมมาเป็นเกณฑ์ในการแบ่งจะสามารถแบ่งงานวิจัยได้เป็น 5 ประเภท ได้แก่ การใช้ตัวแปรทางสังคม 1 ตัวแปร การใช้ตัวแปรทางสังคม 2 ตัวแปร การใช้ตัวแปรทางสังคม 3 ตัวแปร การใช้ตัวแปรทางสังคม 4 ตัวแปร และการใช้ตัวแปรทางสังคม 5 ตัวแปร ซึ่งผลการวิจัยสรุปว่า การใช้ตัวแปรทางสังคม 1 ตัวแปรพบมากที่สุด ในขณะเดียวกัน ตัวแปรทางสังคมที่มีการเลือกนำมาใช้ในงานวิจัยทางภาษาศาสตร์สังคม พบจำนวน 8 ตัวแปร ได้แก่ (1) วัยของผู้พูด (2) เพศของผู้พูด (3) การศึกษาของผู้พูด (4) สถานภาพทางสังคมของผู้พูด (5) ถิ่นที่อยู่อาศัยของผู้พูด (6) อาชีพของผู้พูด (7) ความสัมพันธ์ของคู่สนทนา (8) ความพึงพอใจของผู้พูด


จากการสังเคราะห์งานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมในประเด็น วัตถุประสงค์ในการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง และผลการวิจัย สรุปได้ว่า วัตถุประสงค์ในการศึกษา พบ 4 ด้าน คือ การใช้ภาษาของคนในสังคม  ทัศนคติที่ผู้พูดมีต่อภาษา พลังชีวิตของภาษา (language vitality) และการธำรงภาษา (language maintenance) ส่วนกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย หากเป็นวัยของผู้พูด จะแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่มอายุ และ 3 กลุ่มอายุ ในขณะที่เพศของผู้พูดจะแบ่งกลุ่มตัวอย่างเป็น 2 กลุ่ม คือ เพศชายกับเพศหญิง และเพศชาย เพศหญิง และเพศที่สาม สำหรับตัวแปรทางสังคมด้านถิ่นที่อยู่อาศัยมีตั้งแต่การนำถิ่นที่อยู่อาศัย 2 ถิ่นและมากกว่ามาเปรียบเทียบกัน ทั้งนี้ถิ่นที่อยู่อาศัยที่นำมาเปรียบเทียบกันนั้นจะต้องมีลักษณะบางประการร่วมกัน ยิ่งไปกว่านั้น ผลการวิจัยมุ่งพิสูจน์ความสัมพันธ์ของภาษากับสังคมในประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพื่ออธิบายปรากฏการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นกับภาษาในสังคม


สำหรับแนวโน้มการวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมมีการศึกษาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปีพ.ศ.2535 เป็นต้นมา และอยู่ในกลุ่มวิทยานิพนธ์ระดับมหาบัณฑิตเท่านั้น ทั้งนี้เพราะงานวิจัยด้านภาษาศาสตร์สังคมส่วนมากเป็นแต่เพียงการแสดงความรู้เพื่อพิสูจน์ข้อสมมุติฐานบางอย่างจากทฤษฏีที่เรียนมา


คำสำคัญ: ภาษาศาสตร์สังคม ตัวแปร/ปัจจัยทางสังคม การแปร


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ฉิงหยู่ เหวิน. (2556). ปัญหาการใช้บุรุษสรรพนามของนักศึกษาจีนที่เรียนภาษาไทยตามแนวทางภาษาศาสตร์สังคม.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ฐิติกาญจน์ ใจไมตรี. (2558). การศึกษาการแปรทางเสียงและคำศัพท์ในภาษาพวนบ้านหมี่ จังหวัดลพบุรี. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

โทมิโอกะ ยูทากะ. (2552). ทัศนคติต่อภาษาและการเลือกภาษาของคนไทยอีสานที่มีอายุต่างกัน. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นลินลักษณ์ หอมหวน. (2556). การใช้คำยืมภาษาจีนฮกเกี้ยนของคนที่อาศัยอยู่ในจังหวัดภูเก็ตตามตัวแปรทางสังคม
บางประการ. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

บุษบา แฝงสาเคน. (2557). การเลือกใช้ภาษาและทัศนคติที่มีต่อภาษาไทยถิ่นโคราชของประชากรชาวไทยโคราช.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ประณีต แย้มงาม. (2543). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ของคนต่างอายุในภาษาเขมรถิ่นไทยที่บ้านตะลุงเก่า
อำเภอประโคนชัย จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ปฏิมา ปรมศิริ. (2536). ความเข้มของการใข้คำศัพท์คำเมืองในจังหวัดเชียงใหม่: การศึกษาการแปรตามถิ่นที่อยู่.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พนิดา ธนานันท์. (2548). ความสัมพันธ์ระหว่างการแปรของ ร, ล ในการพูดและการเขียนสะกดคำ: การศึกษาแนว
ภาษาศาสตร์สังคม. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

พิมพ์ระวี เรืองวัฒกี. (2551). การแปรทางสังคมของพยัญชนะควบกล้ำ /kw/ และ /khw/ ในภาษาไทยถิ่น ตำบล
บ้านแพรก อำเภอบ้านแพรก จังหวัดพระนครศรีอยุธยา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ภูมิใจ บัณฑุชัย. (2549). คำเรียกขาน คำบุรุษสรรพนามที่ 1 และคำบุรุษสรรพนามที่ 2 ของผู้ชายในห้างสรรพสินค้า.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

มลิวัลย์ ธุวะคำ. (2547). การมีอยู่ของภาษาและทัศนคติของคนยองในจังหวัดลำพูนที่มีต่อภาษาของตนเอง: การศึกษา
ภาษาศาสตร์เชิงสังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.

รตญา กอบศิริกาญจน์. (2535). การแปรของวรรณยุกต์สูง-ตกในภาษาไทยถิ่นสุพรรณบุรีตามตัวแปรทางสังคมบาง
ประการ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

รังสรรค์ จันต๊ะ. (2535). การศึกษาคำเรียกขานนาภาษาถิ่นเชียงใหม่ตามแนวภาษาศาสตร์เชิงสังคม. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

รุ่งนภา เถียรถาวร. (2541). การศึกษาเปรียบเทียบระบบเสียงภาษาไทยยวน 4 จังหวัดในภาคกลาง. วิทยานิพนธ์
ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

เรืองสุข คงทอง. (2549). แนวแบ่งเขตระหว่างภาษาไทยถิ่นกลาง ภาษาไทยถิ่นใต้ และภาษาผสมไทยถิ่นกลาง ไทยถิ่น
ใต้: การแปรของวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เลย์ ตวน. (2547). การศึกษาการใข้ภาษาและทัศนคติต่อภาษาไป๋เชิงภาษาศาสตร์สังคม ณ อำเภอเจียนฉวน ประเทศ
จีน. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.

วีรวัฒน์ มีสม. (2557). การแปรของเสียงวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นอยุธยา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

เวนดี้ แชมเบอร์เลน. (2553). การธำรงรักษาภาษาในกลุ่มชนพลัดถิ่น: การศึกษาภาษาศาสตร์เชิงสังคมในกลุ่มชนที่พูด
ภาษาเนปาลถิ่นพม่าที่อาศัยอยู่ในตัวเมืองเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.

ศิรินภา พรหมคำ. (2536). รูปแบบการใช้ภาษาพูดในละครโทรทัศน์ไทย: การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม.
วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

ศิริรัตน์ ชูพันธ์. (2547). การแปรของคำศัพท์ภาษาไทยถิ่นเกาะสมุยตามถิ่นที่อยู่และอายุของผู้พูด. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ศศิธร นวเลิศปรีชา. (2552). ระบบคำเรียกญาติภาษาส่วย (กูย-กวย) ของผู้พูดที่มีอายุต่างกันในจังหวัดศรีสะเกษ.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สถาพร วัฒนธรรม. (2517). การใช้คำเรียกขานของผู้ประกอบการค้า. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

สิงหชาต ไตรจิตต์. (2549). กฎการกล่าวขอบคุณในสังคมไทย: การศึกษาตามแนวภาษาศาสตร์สังคม. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรัตร์ แสงงาม. (2549). การแปรของคำศัพท์และวรรณยุกต์ตามกลุ่มอายุและทัศนคติต่อภาษาในภาษาโซ่ง (ไทดำ)
ที่พูดในอำเภอเขาย้อย จังหวัดเพชรบุรี. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุนทรี เฉลิมแสนยากร. (2543). การแปรของ /kh/ ในภาษาไทยกรุงเทพฯ ตามสัทบริบทและอายุของผู้พูด. วิทยานิพนธ์
อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุภรา สุขวรรณ. (2537). การศึกษาการเปลี่ยนแปลงคำศัพท์และการออกเสียงคำศัพท์ในภาษาถิ่นอุบลฯของบุคคล 2
ระดับอายุ. วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

สุรางคนา แก้วน้ำดี. (2536). การแปรของคำเรียกชื่อพืชกับความสัมพันธ์ระหว่างภาษาไทยถิ่นและภาษาไทยถิ่นย่อย.
วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุรียา สอดส่องกฤษ. (2541). คำเรียกขานในภาษาเขมรเหนือ: การวิเคราะห์ทางภาษาศาสตร์เชิงสังคม กรณีศึกษา
ตำบลกระสัง อำเภอกระสัง จังหวัดบุรีรัมย์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

สุวรรณรัตน์ ราชรักษ์. (2556). การแปรของสระสูงยาว /i:, ɨ:, u:/ ในภาษาไทยถิ่นนครศรีธรรมราชตามตัวแปรอายุ
เพศ และวัจนลีลา. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

หล่า เมาง เท. (2554). การสำรวจเชิงภาษศาสตร์สังคมของภาษาลีซูถิ่น 3 ภาษา. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยพายัพ.

อภิรดี จันทนโรจน์. (2550). การสำรวจกลุ่มภาษาถิ่นของภาษาไตเหนือเชิงภาษาศาสตร์สังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร
มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.

อมรสิริ บุญญสิทธิ์. (2548). คำชมและการตอบคำชมในภาษาไทยที่ใช้โดยเพศชาย เพศหญิง และเพศชายที่มีจิตใจเป็น
หญิง. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

อรทัย ใจใส. (2546). การศึกษาเปรียบเทียบการใช้คำศัพท์ของคนต่างอายุในภาษาลับแล อำเภอลับแล จังหวัด
อุตรดิตถ์. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยมหิดล.

อารีวรรณ เลิศธนะ. (2548). การแปรของเสียงวรรณยุกต์โทตามเพศของผู้พูดในภาษาไทยกรุงเทพฯและทัศนคติของ
ผู้ฟัง. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

อิสรีย์ สว่างดี. (2557). การวิเคราะห์การเปลี่ยนแปลงของคำศัพท์การประกอบอาหารไทยถิ่นเหนือของคนสามช่วงอายุ
ในจังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.

อุไรพรณ์ ตันตินิมิตกุล. (2544). การแปรของเขตปรับเปลี่ยนระหว่างภาไทยถิ่นกลางกับภาษาไทยถิ่นใต้ตามตัวแปรทาง
สังคมบางประการ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอกพล กันทอง. (2550). การแปรของวรรณยุกต์ในภาษาไทยถิ่นเชียงใหม่ตามกลุ่มอายุ. วิทยานิพนธ์อักษรศาสตร
มหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เอลิซ่า เอ. อิเคดะ. (2556). การศึกษาพลังชีวิตของภาษาอะนุง (อะนอง) ในประเทศเมียนมาร์ตามแนวภาษาศาสตร์
สังคม. วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยพายัพ.