การพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
Main Article Content
บทคัดย่อ
การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย และประเมินผลความพึงพอใจต่อการใช้งานโมบายแอปพลิเคชัน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แบบประเมินความพึงพอใจต่อโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย
ผลการพัฒนาโมบายแอปพลิเคชันเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวด้วยตนเองตามเส้นทางท่องเที่ยวชุมชนตำบลนางแล อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย พบว่าชุมชนได้คัดเลือกแหล่งท่องเที่ยวจำนวน 9 แห่ง ร้านอาหารและเครื่องดื่ม จำนวน 7 แห่ง เนื้อหาที่จะนำเสนอเป็นข้อมูลในแอปพลิเคชัน ได้แก่ (1) ประวัติ/ข้อมูลแนะนำสถานที่ (2) เวลาทำการ (3) ที่ตั้ง (4) เบอร์โทรติดต่อ (5) Website (6) อัตราค่าบริการ (7) ข้อมูลแนะนำเพิ่มเติม (8) รูปภาพประกอบ (9) คำนวณระยะทางระหว่างตำแหน่งปัจจุบันกับสถานที่ท่องเที่ยว (10) คำนวณระยะทางระหว่างสถานที่ท่องเที่ยว (11) จัดทำเป็น 5 ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย ภาษาจีน ภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่น และภาษาเกาหลี ผลการประเมินคุณภาพโมบายแอปพลิเคชันจากผู้เชี่ยวชาญ พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมคุณภาพแอปพลิเคชันอยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.45, S.D. = 0.61)
ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้ใช้โมบายแอปพลิเคชัน พบว่าค่าเฉลี่ยโดยรวมมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ( = 4.12, S.D. = 1.45)
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
ภูมินทร์ ฮงมา, ระวิวร ฮงมา, ธนพงษ์ นรสาร, และ อสิราภรณ์ ตรีกูล. (2558). การพัฒนาแอปพลิเคชั่นส่งเสริมการท่องเที่ยวนมัสการพระธาตุประจำวันเกิดทั้ง 7 วัน @นครพนม.การประชุมวิชาการระดับประเทศทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ครั้งที่ 7, 159-164. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง.
ศุษมา แสนปากดี. (2557). การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเสมือนจริงในบอร์ดประชาสัมพันธ์ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน. วารสารวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี (การประชุมวิชาการ มหาสารคามวิจัยครั้งที่ 10), ปีที่ 2557 (ฉบับพิเศษ), 257–264.
สมาคมการตลาดท่องเที่ยวไทย. (2561). สถานการณ์ และแนวโน้มด้านการท่องเที่ยว แผนพัฒนาการท่องเที่ยวแห่งชาติ พ.ศ.2555- 2559, 18 ตุลาคม 2561. https://www.attm.biz/ news/326755/179071_1349423720
สุธิรา จันทร์ปุ่ม, พิเชนทร์ จันทร์ปุ่ม, และ แพรตะวัน จารุตัน. (2560). การพัฒนาโมบายแอพพลิเคชั่นแหล่งท่องเที่ยวในจังหวัดสกลนคร. วารสารวิชาการการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและนวัตกรรม คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภฏัมหาสารคาม. ปีที่ 4(2), 114-120.