แรงบันดาลใจจากศิลปวัฒนธรรมอีสานสู่การออกแบบของเล่นสำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี

Main Article Content

กัลยกร จันทรสาขา
ภรดี พันธุภากร

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมอีสานเพื่อเป็นแนวทางในการออกแบบผลงานของเล่น สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี ให้มีภาพลักษณ์ลักษณะรูปแบบเหมาะกับวิถีชีวิตร่วมสมัย แต่ยังคงกลิ่นอายของวัฒนธรรมได้ งานวิจัยนี้แสดงเนื้อหาการศึกษาและวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมอีสานตามขอบเขตงานวิจัยด้านพื้นที่คือ จังหวัดขอนแก่น เพื่อสำรวจข้อมูลบริบทภาพรวมของพื้นที่ในจังหวัดขอนแก่น ฐานข้อมูลศิลปวัฒนธรรมของจังหวัดขอนแก่น  ข้อมูลของเล่นพื้นบ้านภูมิปัญญาไทย เพื่อค้นหาแนวทางในการออกแบบของเล่น สำหรับเด็กอายุ 6-12 ปี และยังส่งเสริมพัฒนาการ ใน 3 ด้าน ได้แก่ พัฒนาการทางด้านสังคม พัฒนาการทางด้านการรับรู้ และพัฒนาการทางด้านสร้างสรรค์ ซึ่งงานออกแบบที่ได้มานั้น มีกระบวนการออกแบบอย่างเป็นขั้นตอน โดยผ่านการวิเคราะห์การออกแบบจากทฤษฎีศิลปะกับพัฒนาการ หลักการออกแบบของเล่นและการเล่นเพื่อพัฒนาการเด็ก ซึ่งผลจากการศึกษาและวิเคราะห์ศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญาอีสานเมืองขอนแก่น ได้มีการจัดศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดขอนแก่นออกเป็นหมวดต่างๆ คือ 1)แหล่งโบราณคดี 11 แห่ง  2)สิม 5 หลัง  3)จิตรกรรม 4 ภาพ 4)วัฒนธรรมประเพณี 9 เทศกาล และ5)หัตถกรรม 6 แหล่ง และได้คัดเลือกศิลปวัฒนธรรมในจังหวัดขอนแก่นนำไปออกแบบในกระบวนการและยังสามารถเป็นอัตลักษณ์ของจังหวัดขอนแก่นได้ โดยการพิจารณาจาก มีความโดดเด่นและมีความแตกต่างไม่ซ้ำกับจังหวัดอื่น เป็นที่ยอมรับในวงกว้างและต้องมีศักยภาพในการสร้างสรรค์ ที่สามารถนำไปส่งเสริมเป็นตัวแทนประจำจังหวัดได้และนำมาประยุกต์เข้ากับการออกแบบ โดยในขั้นตอนการออกแบบของเล่นนั้น ได้ออกแบบของเล่นเป็น 3 กลุ่ม ด้วยกันคือ กลุ่มที่ 1  ศิลปวัฒนธรรมหมวดจิตรกรรมและพัฒนาการทางด้านสร้างสรรค์ กลุ่มที่ 2 ศิลปวัฒนธรรมหมวดประเพณีและพัฒนาการด้านสังคมและกลุ่มที่ 3 ศิลปวัฒนธรรมหมวดสิมและพัฒนาการด้านการรับรู้ โดยแต่ละกลุ่มออกแบบของเล่นอย่างละ 3 ชิ้น ซึ่งผลงานการออกแบบ การที่เด็กได้เล่นของเล่นด้วยตนเอง ถือได้ว่าเป็นการทำให้เด็กได้ลงมือปฏิบัติทำให้เกิดประสบการณ์ขึ้น ส่งผลให้เด็กเกิดการเรียนรู้ ทั้งในส่วนขององค์ความรู้ ให้เกิดความสนใจความอยากรู้อยากเห็นว่าสีหรือลวดลาย รูปทรง รูปแบบของของเล่นคือลายอะไร สีอะไร ซึ่งสามารถลดช่องว่างระหว่างศิลปวัฒนธรรมกับเด็กในยุคปัจจุบันได้ สร้างความเชื่อมโยง ต่อยอด และใช้ประโยชน์ได้ต่อไปในอนาคต

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

คู่มือหลักสูตร ศิลปกรรมศาสตร์บัณฑิต สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. (2559). สาขาออกแบบหัตถอุตสาหกรรม. มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์ลำปาง.

ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์. ฐานข้อมูลพิพิธภัณฑ์จังหวัดขอนแก่น. 25 มีนาคม 2561. http://www.sac.or.th/databases/folktoys/main.php.

พรเทพ เลิศเทวศิลิ. (2536). องค์ประกอบในการออกแบบของเล่นเพื่อการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย. (2560). คิด/เล่น/เห็น/ทำ-ใหม่. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

สมาคมอุตสาหกรรมของเล่นไทย. (2558). ร่วมสร้างสรรค์ของเล่น. กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์.

หอศิลปวัฒนธรรม. ศิลปวัฒนธรรมอีสาน. 15 ธันวาคม 2560 . http://cac.kku.ac.th/?p=608.