อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความรักในบทเพลงที่ประพันธ์โดยแก้ว อัจฉริยะกุล
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ถ้อยคำที่เป็นอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับความรัก ในบทเพลงซึ่งเป็นผลงานประพันธ์ของแก้ว อัจฉริยะกุล เพื่อศึกษาและวิเคราะห์มโนทัศน์เกี่ยวกับ ความรักที่ปรากฏในบทเพลง โดยใช้ทฤษฎีอรรถศาสตร์ปริชาน และแนวคิดอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์ ของเลคอฟฟ์และจอห์นลัน (Lakoff and Johnson) ในการวิเคราะห์
ผลการวิจัยบทเพลงที่มีความหมายเกี่ยวกับความรัก พบอุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์เกี่ยวกับ ความ รักทั้งหมด 5 ประเภท แสดงให้เห็นว่า ความรักเป็นสิ่งมีชีวิต ความรักเป็นสิ่งไม่มีชีวิต ความรักเป็นการเดินทาง ความรักเป็นการศึกษา ความรักเป็นการต่อสู้ นอกจากนี้มโนทัศน์ที่ปรากฏยังสะท้อน รูปธรรมที่เป็นวัตถุทางกายภาพมากกว่าสิ่งที่เป็นนามธรรม โดยพบอุปลักษณ์ความรักระดับมโนทัศน์ที่ มีความสัมพันธ์เชิงความหมายกับธรรมซาติและร่างกายมนุษย์มากที่สุด ส่วนความสัมพันธ์เชิงความหมายกับความอัศจรรย์น้อยที่สุด
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
เจตนา นาควัชระ. (2527). มรดกของสุนทราภรณ์: ข้อคิดเชิงวิจารณ์. วารสารธรรมศาสตร์, 13, 1: หน้า 120-134.
ชัชวดี ศรลัมพ์. (2538). การศึกษามโนทัศน์ของคำว่า เข้า. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์, จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2560). อุปลักษณ์เกี่ยวกับอารมณ์กลัวในรวมเรื่องสั้นและรายการโทรทัศน์ภาษาไทย. วารสารอารยธรรมศึกษาโขง- สาละวิน, 8, 2: หน้า 85 – 107.
บุญยงค์ เกศเทศ. (2525). วรรณกรรมวิเคราะห์. พิมพ์ครั้งที่ 2 กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. กรุงเทพมหานคร: นานมีบุ๊ตส์พับลิเคชั่น.
ศุภชัย ต๊ะวิชัย. (2549). อุปลักษณ์เชิงมโนทัศน์แสดงอารมณ์โกรธในภาษาไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต. สาขาวิชาภาษาไทย, มหาวิทยาลันศิลปากร.
Lakoff, G. (1987). Women, fire, and dangerous things: what categories reveal about the Mind. Chicago and London: The University of Chicago Press.
Lakoff, G. and M. Johnson (1980). Metaphor We Live By. Chicago and London: The University of Chicago Press.