การวิเคราะห์กลวิธีการสร้างโครงเรื่องในนวนิยายผีชุด “Six Scream” ของภาคินัย

Main Article Content

ปรีชญา สุขมี
ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์

บทคัดย่อ

บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์กลวิธีการสร้างโครงเรื่องในนวนิยายผีชุด Six Scream ของภาคินัย โดยใช้แนวคิดเกี่ยวกับโครงเรื่องของประทีป  เหมือนนิล (2519) ในการวิจัย ผลการวิจัยกลวิธีการสร้างโครงเรื่องในนวนิยายผีชุด Six Scream ของภาคินัย ทั้ง 4 องค์ประกอบ มีดังนี้ 1) กลวิธีการเปิดเรื่อง พบการเปิดเรื่องลักษณะเดียวกันทุกเรื่องคือการพรรณนาเหตุการณ์ตื่นเต้นระทึกใจเพื่อแนะนำตัวละครสำคัญ 2) กลวิธีการดำเนินเรื่อง พบการดำเนินเรื่องตามลำดับปฏิทินและการดำเนินเรื่องย้อนต้น 3) กลวิธีการสร้างความขัดแย้ง พบความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ซึ่งมีสาเหตุของความขัดแย้ง ได้แก่ ความต้องการแก้แค้น ความต้องการปกปิดความผิด ปัญหาความรัก ความต้องการเอาชีวิตรอด การขัดผลประโยชน์ และพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์ รวมทั้งพบความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสิ่งเหนือธรรมชาติ ซึ่งมีสาเหตุของความขัดแย้ง ได้แก่ ความต้องการแก้แค้น และความต้องการเอาตัวรอด 4) กลวิธีการปิดเรื่อง พบการปิดเรื่องลักษณะเดียวกันทุกเรื่องคือการปิดเรื่องแบบหักมุมและการปิดเรื่องแบบโศกนาฏกรรม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กัมปนาท ขำแก้ว (2559). “ผี” ปฐมบทแห่งความน่าสะพรึงกลัว พัฒนาการของผีไทย “ผีบุพกาล” สู่ “ผีพาณิชย์”. วารสารรูสมิแล, 37(3), 63-87.

ชุมชนคนรักการอ่าน สำนักพิมพ์ประพันธ์สาส์น. (2561). ทำเนียบนักประพันธ์. สืบค้นเมื่อ 31 มีนาคม 2561, https://www.praphansarn.com/home/detail_author_th/57

ณรงค์กรรณ รอดทรัพย์. (2557). ภาพลักษณ์ด้านลบของผู้หญิงในวรรณกรรมโบราณสันสกฤตพากย์ไทย. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม. 8(1), 31-40

นิคม กองเพชร. (2543). กลวิธีการแต่งนวนิยายสยองขวัญไทย. วิทยานิพนธ์ กศ.ม., มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, มหาสารคาม.

ประทีป เหมือนนิล. (2519). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: สารสยาม.

ประภาษ เพ็งพุ่ม. (2558). “นิทานซ้อนนิทาน” ในนิทานนางตันไตรของไทยที่ได้รับอิทธิพลจากตันโตรปาขยานะ: กลวิธีการสร้าง องค์ประกอบ ศิลปะการใช้ภาษา และโลกทัศน์. วิทยานิพนธ์ ปร.ด., มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, กรุงเทพฯ.

ภาคินัย (นามแฝง). (2554). น้ำสังข์อาบศพ. กรุงเทพฯ: โซฟา.

_____________. (2554). บันรากุ...หน้ากากฆาตกรรม. กรุงเทพฯ: โซฟา.

_____________. (2554). พอร์ซเลน...ตู๊กตาอาฆาต. กรุงเทพฯ: โซฟา.

_____________. (2554). สวนสนุกแดนนรก. กรุงเทพฯ: โซฟา.

_____________. (2554). สาปอัปสรา. กรุงเทพฯ: โซฟา.

_____________. (2555). พิพิธภัณฑ์ หุ่น-หั่น-หัว. กรุงเทพฯ: โซฟา.

ภิญญ์สินี (นามแฝง). (2560). ล้อมวงอ่านเรื่องสยองของ ‘ภาคินัย’. ออล แม็กกาซีน. 12 (1), 36-38

สันติภาพ ชารัมย์ และคณะ. (2555). กลวิธีการเล่าเรื่องแบบแปลกใหม่จากเรื่องสั้นในนิตสารช่อการะเกด. วารสารบรรณศาสตร์ มศว. 5(1), 57-69.

สุประวีณ์ แสงอรุณเฉลิมสุข. (22 ธันวาคม 2560). การวิเคราะห์การสร้างภาวะเหนือธรรมชาติในนวนิยายชุดผ้าของพงศกร. ใน การประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 4. (441-449). กำแพงเพชร: สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยราชภัฏกำแพงเพชร.