ฉู่เฉียว : บทบาทความเป็นผู้นำของตัวละครเอกหญิงในวรรณกรรมแปลจีน เรื่องจอมนางจารชนหน่วย 11
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีจุดประสงค์ที่จะวิเคราะห์บทบาทความเป็นผู้นำของตัวละครเอกหญิงตามเพศสภาวะที่ปรากฏในเรื่องจอมนางจารชนหน่วย 11 พบว่าฉู่เฉียวมีบทบาทความเป็นผู้นำ ด้วยเธอมีคุณสมบัติที่ดีของผู้นำหลายประการไม่ว่าจะเป็นความมีน้ำใจ ความเสียสละ ความกล้าหาญ ความรับผิดชอบ ความซื่อสัตย์ รวมทั้งสติปัญญาจึงทำให้เธอมีโอกาสแสดงบทบาทความเป็นผู้นำตามเพศสภาพต่าง ๆ กัน เริ่มตั้งแต่ฉู่เฉียวถูกจับไปเป็นทาส เธอก็พยายามนำพาเหล่าทาสหญิงต่อสู้กับผู้ที่ใช้อำนาจกดขี่ข่มเหงพวกเธอ เมื่อเป็นนักรบเธอก็สามารถนำพาทหารในบังคับบัญชาต่อสู้กับศัตรูอย่างไม่ย่อท้อหลายครั้ง เมื่อเป็นแม่ทัพใหญ่เธอก็นำทัพพันธมิตรของชาวซีเหมินสู้กับชาวเฉวี่ยนหรงจนได้ชัยชนะ
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคต้น เล่ม 2.สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคต้น เล่ม 3.สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคต้น เล่ม 4.สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคปลาย เล่ม 1. สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคปลาย เล่ม 2. สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคปลาย เล่ม 3. สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
เซียวเซียงตงเอ๋อร์(เขียน),ลี หลินลี่(แปล).(2559)จอมนางจารชนหน่วย 11.ภาคปลาย เล่ม 4. สำนักพิมพ์สยามอินเตอร์บุ๊ค.
พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2560)“บทบาทด้านการเมืองการปกครองของบูเช็กเทียนในวรรณกรรมร่วมสมัยต่างประเภท”. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. ปีที่ 8 ฉบับ ที่ 2 กรกฏาคม-ธันวาคม 2560. หน้า 16-28.
พัชรินทร์ อนันต์ศิริวัฒน์. (2562)“วิเคราะห์บทบาทผู้หญิงที่ปรากฏในวรรณกรรมแปลพงศาวดารจีนเรื่องง่วนเฉียว”.วารสารมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร. ปีที่ 16 ฉบับที่ 1 เดือนมกราคม- เมษายน 2562.หน้า 1-14
วุฒิชัย มูลศิลป์จำนงค์ และอดิวัฒนสิทธิ์(แปล). (2533). วจนะขงจื๊อ. กรุงเทพฯ: บริษัทต้นอ้อจำกัด.
วีระชัย โชคมุกดา. (2557) ประวัติศาสตร์จีน. สำนักพิมพ์ยิปซี, 2557.
สุวรรณา สถาอานันท์ (บรรณาธิการ). (2555). ความเรียงใหม่รื้อสร้างปรัชญาตะวันออก. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.
สุวรรณา สถาอานันท์. (2503.). กระแสธารปรัชญาจีนข้อโต้แย้งเรื่องธรรมชาติ อำนาจ และจารีต. กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
สุวรรณา สถาอานันท์.(แปลและเรียบเรียง) (2554.).หลุนอี่ว์ : ขงจื่อสนทนา. พิมพ์ครั้งที่ 2.กรุงเทพฯ : โอเพ่นบุ๊กส์.