ระบบคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี

Main Article Content

ฤทัยวรรณ ปานชา

บทคัดย่อ

             งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อวิเคราะห์ลักษณะของคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย และความหมายของคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย ด้วยวิธีวิเคราะห์องค์ประกอบ (Componential Analysis) รวมทั้งเพื่อศึกษาวัฒนธรรมที่สะท้อนจากระบบคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย  โดยเก็บข้อมูลคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย จากการสัมภาษณ์ผู้บอกภาษากลุ่มชาติพันธุ์เขมร บ้านสามทอง หมู่ที่ 1 ตำบล     ตลิ่งชัน อำเภอเมือง จังหวัดสุพรรณบุรี จำนวน  6 คน แบ่งเป็นผู้บอกภาษาเพศชาย 3 คน เพศหญิง 3 คน


ผลการวิจัยพบว่าภาษาเขมรถิ่นไทยมีจำนวนคำเรียกญาติทั้งหมด จำนวน 26 คำ  แบ่งเป็นคำเรียกญาติคำเดี่ยว 13 คำ และคำประสม 13 คำ โดยความหมายของคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทยถูกจำแนกออกจากกันด้วยมิติแห่งความแตกต่าง 6 ประการ ได้แก่ รุ่นอายุ, สายเลือด,  เพศ,  อายุ, การแต่งงาน และการแต่งงานใหม่


               วัฒนธรรมที่สะท้อนจากระบบคำเรียกญาติในภาษาเขมรถิ่นไทย มี 5 ประการ ได้แก่ การให้ความสำคัญกับระบบอาวุโส  การเน้นญาติที่สัมพันธ์กันทางสายเลือด  การให้ความสำคัญกับญาติสายตรง การให้ความสำคัญกับญาติฝ่ายพ่อกับฝ่ายแม่และฝ่ายสามีกับฝ่ายภรรยาเท่าเทียมกัน และการให้ความสำคัญกับเพศชายและหญิงเท่าเทียมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

จตุพร โดมไพวัลย์. (2555). การเปรียบเทียบระบบคำเรียกญาติในภาษาไทยและภาษาเมี่ยน (เย้า). วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ชัยวัฒน์ เสาทอง. (2545). การศึกษาระบบเสียงภาษาเขมร บ้านสำโรงบน ตำบลทรายขาว อำเภอสอยดาว จังหวัดจันทบุรี. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาเขมรศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.

ทิพากรวรวงศ์ เจ้าพระยา. (2503). พงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์สมัยรัชกาลที่ 1. (ม.ป.ท.)

ประสิทธิ์ สวาสดิ์ญาติ. (2535). ระบบเครือญาติและการจัดระเบียบสังคม. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

เยาวลักษณ์ เฉลิมเกียรติ. (2542). คำเรียกญาติในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยทักษิณ.

วราภรณ์ ตีระ. (2545). คำเรียกญาติของชาวไทยมุสลิมที่มีเชื้อสายต่างกันในกรุงเทพมหานคร. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาศาสตร์ บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สมเกียรติ วัฒนาพงษากุล. (2548). สีในภาษาเขมร : การรับรู้และโครงสร้างทางไวยากรณ์. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาเขมร มหาวิทยาลัยศิลปากร.

สุรสิทธิ์ วิหคมาตย์และคณะ. (2533). อนุสรณ์คุณแม่หน่าย สาธุพันธุ์. สุพรรณบุรี : สุรศักดิ์การพิมพ์.

สุวัฒนา เลี่ยมประวัติ. (2557). แผนที่ภาษาศาสตร์ จังหวัดสุพรรณบุรี. นครปฐม : ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.

อมรชัย คหกิจโกศล. (2548). การเปรียบเทียบคำเรียกเครือญาติในภาษาไทยและภาษาจีนแต้จิ๋ว. ดำรงวิชาการ. 4,1 (มกราคม – มิถุนายน) : 1-23.

อรวรรณ ภูอิสระกิจ. (ม.ป.ป.). ไวยาภรณ์และระบบหน่วยคำภาษาเขมร. กรุงเทพฯ : คณะโบราณคดี มหาวิทยาลัยศิลปากร.