กลวิธีสร้างภาพลักษณ์ตัวละครเหนือธรรมชาติในนวนิยายเรื่องเล่ห์บรรพกาลของวรรณวรรธน์
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความวิจัยเรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาภาพลักษณ์และกลวิธีการสร้างภาพลักษณ์ตัวละครเหนือธรรมชาติที่ปรากฏในนวนิยายเรื่องเล่ห์บรรพกาลของวรรณวรรธน์ จำนวน 4 ตัวละคร ได้แก่ เพลิงฟ้า ศาสตราจารย์อดุล สิตางศุ์ และปักบุญ ผลการศึกษาพบว่า ภาพลักษณ์ด้านความเหนือธรรมชาติของตัวละคร มีภูมิหลังที่เชื่อมโยงเกี่ยวเนื่องกัน ซึ่งภาพลักษณ์ของตัวละครเหล่านี้มีการสร้างสรรค์ที่สมเหตุสมผลและสมจริงตามองค์ประกอบของวรรณกรรม 3 แนวทางหลัก ได้แก่ 1) กลวิธีการสร้างผ่านโครงเรื่องที่มีการดำเนินเรื่องสลับไปมาระหว่างอดีตชาติกับปัจจุบัน 2) กลวิธีการสร้างผ่านฉาก เป็นการสร้างฉากให้มีความลึกลับน่ากลัวซึ่งนำเสนอผ่านฉากเหตุการณ์ในยุคสมัยทวารวดี ยุคสมัยรัชกาลที่ 5 รวมทั้งยุคสมัยปัจจุบัน และ 3) กลวิธีการสร้างผ่านบทสนทนา ที่ทำให้เห็นลักษณะพฤติกรรมความเหนือธรรมชาติของตัวละครได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น
Article Details
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
กาญจนา วิชญาปกรณ์. (2537). หลักเบื้องต้นในการศึกษาเรื่องสั้นและนวนิยาย. พิษณุโลก : ภาควิชาภาษาไทยและภาษาตะวันตก คณะมนุษยศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร.
กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2521). วรรณกรรมไทย. กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยรามคำแหง.
ขวัญจิตร นุชชำนาญ. (2556). ความเชื่อเหนือธรรมชาติและการสร้างภาวะเหนือธรรมชาติในนวนิยายของกิ่งฉัตร. วารสารคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. 7(2). 55-63.
ธัญญา สังขพันธานนท์. (2539). วรรณกรรมวิจารณ์. กรุงเทพฯ : นาคร.
บาหยัน อิ่มสำราญ. (2548). เอกสารคำสอนวิชา 411 231 นวนิยายเรื่องสั้นของไทย. นครปฐม : ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร.
วนิดา บำรุงไทย. (2544). ศาสตร์และศิลป์แห่งนวนิยาย. กรุงเทพฯ : สุวีริยาสาส์น.
วรรณวรรธน์. (2559). เล่ห์บรรพกาล ภาค ‘ภพพยากรณ์’. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม.
วรรณวรรธน์. (2560). เล่ห์บรรพกาล ภาค ‘อักษรปริศนา’. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม.
วรรณวรรธน์. (2561). เล่ห์บรรพกาล ภาค ‘เรขพิษฐาน’. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์ ณ บ้านวรรณกรรม.
วิลาวัลย์ ตังคณากุล. (2551). การศึกษาวิเคราะห์ตัวละครเอกในนวนิยายไตรภาค ของคฑาหัสต์ บุษปะเกศ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
วีรวัฒน์ อินทรพร. (2560). ตัวละครประเภทมนุษย์เหนือธรรมชาติในนวนิยายเรื่อง “หน้ากากดอกซ่อนกลิ่น” ของแก้วเก้า. วารสารคณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร. 10(3). 2324-2341.
สายทิพย์ นุกูลกิจ. (2543). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : เอส.อาร์.พริ้นติ้ง แมสโปรดักส์.
สุพรรณี วราทร. (2516). ประวัติการประพันธ์นวนิยายไทย. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์การพิมพ์.
สมพร มันตะสูตร. (2525). วรรณกรรมไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.
อรจิรา อัจฉริยไพบูลย์. (2550). กลวิธีสร้างภาพลักษณ์ตัวละครชายในผู้ชนะสิบทิศ. (ปริญญานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). กรุงเทพฯ : มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.