การพัฒนาหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้นิทานพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย

Main Article Content

สมลักษณ์ เลี้ยงประยูร
วรรณทิวา เชียงตุง
สมลักษณ์ จันทรมาศ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้นิทานพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายให้มีคุณภาพตามเกณฑ์คุณภาพหนังสือเสริมการอ่านของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (2558) และเพื่อศึกษาความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทานพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่1 จำนวน 120 คน ในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้นิทานพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย แบบประเมินคุณภาพหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษตามเกณฑ์คุณภาพหนังสือเสริมการอ่านของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน 2558 และแบบสอบถามความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย
          ผลการวิจัยพบว่า คุณภาพของหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยใช้นิทานพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงราย มีค่าเฉลี่ยรวมทุกด้านเท่ากับ 4.33 อยู่ในระดับดี และเมื่อพิจารณาในแต่ละด้านที่ประเมิน พบว่า ค่าเฉลี่ยคุณภาพทุกด้านอยู่ในเกณฑ์ดี โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านภาษา (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.50) ด้านประโชน์ที่ได้รับ (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}= 4.50) ด้านเนื้อหา (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}=4.40) ด้านรูปเล่มและการจัดภาพ (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}=3.92) ความคิดเห็นและความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ที่มีต่อหนังสือเสริมการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทานพื้นบ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ในอำเภอแม่สาย จังหวัดเชียงรายมีค่าเฉลี่ยโดยรวมเท่ากับ 4.03 อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาความคิดเห็นของนักเรียนในแต่ละด้าน พบว่า นักเรียนมีความคิดเห็นและความพึงพอใจทุกด้านอยู่ระดับมาก โดยเรียงตามลำดับดังนี้ ด้านรูปเล่มของหนังสือ (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}=4.15) ด้านประโยชน์ที่ได้รับ (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}=4.12) และด้านเนื้อหาและภาษา (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x}=3.87)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กมลวรรณ โคตรทอง. (2557). การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษจากนิทานอาเซียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ Storyline สําหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านเป้า (สําราญไชยวิทยา) จังหวดชัยภูมิ. ปริญญานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยศิลปากร. นครปฐม.

จงกิจ วงษ์พินิจ, วิภาวดี มูลไชยสุข, ธีติมา พจนะแก้ว และนาฎยา ซาวัน. (2559). การพัฒนาสื่อเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษโดยใช้นิทานพื้นบ้านกลุ่มชาติพันธุ์เขมรในเขตอีสานใต้. สุรินทร์: มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.

ปราณี ปราบริปู, ปรัชญา ใจภักดี, พรทิพย์ รักชาติ และจงกล เก็ตมะยูร. (2560). แนวทางการสร้างหนังสือเรียนและหนังสืออ่านเพิ่มเติม. วารสารศึกษาศาสตร์ มสธ, 10(2), 346-359.

รุ่งวนา สุดจิตต์. (2545). การพัฒนาสื่อการอ่าน-เขียนภาษาอังกฤษจากนิทานพื้นบ้านไทย สำหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนไทรโยคน้อยวิทยา จังหวัดกาญจนบุรี. มหาวิทยาลัยศิลปากร/กรุงเทพฯ. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.the.2002.46

วีรชาติ ชัยเนตร. (2541). การสร้างบทเรียนเสริมสร้างการอ่านภาษาอังกฤษ โดยใช้นิทานพื้นบ้านไทย สาหรับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยมหาสารคาม. มหาสารคาม

ศรีรัตน์ เจิงกลิ่นจันทร์. (2542). การอ่านและการสร้างนิสัยรักการอ่าน. (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพานิช.

สถาบันการทดสอบทางการศึกษา. (2562). สถิติ O-NET ย้อนหลัง, 20 มกราคม 2562. http://www.niets.or.th/th/catalog/view/3865.

สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2563). การสำรวจการอ่านของประชากร พ.ศ. 2561. กรุงเทพฯ.

สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์กระทรวงศึกษาธิการ. (2558). แผนปฏิบัติราชการประจำปีงบประมาณ 2558 ของกระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพฯ.

สุมนทิพย์ บุญสมบัติ. (2554). ประวัติศาสตร์ในวิชาสังคมศึกษา: เอกสารการสอนชุดวิชาสังคมศึกษา 2 ประวัติศาสตร์สำหรับครู หน่วยที่ 1. นนทบุรี: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.

อมรรัตน์ นัดดาหลง. (2551) การพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะอ่านภาษาอังกฤษที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับท้องถิ่นจังหวัดตราดสำหรับนักเรียนระดับช่วงชั้นที่ 4 โรงเรียนเนินทรายวิทยาคม อำเภอเมือง จังหวัดตราด. มหาวิทยาลัยศิลปากร/นครปฐม. DOI: https://doi.nrct.go.th/ListDoi/listDetail?Resolve_DOI=10.14457/SU.the.2008.122

อัจฉรา ชีวพันธ์. (2546). ศิลปะการจัดการเรียนรู้ภาษาไทย ระดับประถมศึกษา. กรุงเทพฯ: เบ็นพับลิซซิง.

แฮลาย ปรามวล. (2553). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง "วิถีชีวิตไทยในกลันตัน" สำหรับนักเรียนชาวมาเลเซียเชื้อสายไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยทักษิณ. สงขลา

Brock, Mark N. (1990). The case for localized literature in the ESL classroom. English Teaching Forum, 28(3), 22-25.

Emma, B. (1997). Once upon a time…A Collaborative study of the storybook experiences of three deaf preschoolers. Dissertation Abstracts International. 58(5), 1640-A.

Fu, W. (2018). Read from local to global: A culture-based reading material. Advances in Social Sciences Research Journal. 5(3) 57-65.

Nathanson, S. (2006). Harnessing the power of story: Using narrative reading and writing across content areas. Reading Horizons. 47(1), 1-26

Ratminingsih, N. M., Budasi, I. G., & Kurnia, W. D. A. (2020). Local culture-based storybook and its effect on reading competence. International Journal of Instruction, 13(2), 253-268.https://doi.org/10.29333/iji.2020.13218a

Richards, J. C., & Renandya, W. A. (2002). Methodology in language teaching: An anthology of current practice. New York: Cambridge University Press.

Royani, M. (2013). The use of local culture texts for enthusiastic english reading teaching. The International Journal of Social Science, 7(1), 130-135