ความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผีของชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก

Main Article Content

ชญานิน บุญส่งศักดิ์
หนึ่งฤทัย ม่วงเย็น
อุไรวรรณ สิงห์ทอง
ฉียูน เจียง

บทคัดย่อ

บทความนี้มุ่งศึกษาความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผีของชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยศึกษา  2 ประเด็น คือ 1) เพื่อศึกษาความเชื่อที่ปรากฏในพิธีกรรมเลี้ยงผีของชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ  2) เพื่อศึกษาพิธีกรรมเลี้ยงผีของชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ  ผลการวิจัยพบว่า สภาพวิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก ดำรงชีวิตอยู่ท่ามกลางธรรมชาติ และยังคงมีเชื่อความความศรัทธาต่อสิ่งแวดล้อมที่มีอยู่รอบตัวที่มีฐานะเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งสะท้อนให้เห็นผ่านการสืบทอดพิธีกรรมเลี้ยงผี จากการเก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์ชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ พบว่าความเชื่อในพิธีกรรมเลี้ยงผี ประกอบด้วย ความเชื่อที่เกี่ยวกับการกำหนดฤกษ์ยาม ความเชื่อที่เกี่ยวกับน้ำ ความเชื่อที่เกี่ยวกับผี และความเชื่อที่เกี่ยวกับสิ่งของที่ใช้ในการประกอบพิธี แม้สภาพสังคมจะเกิดการเปลี่ยนแปลงไป และอิทธิพลทางศาสนาเข้ามาในชุมชน แต่การสืบทอดความเชื่อในพิธีกรรมเลี้ยงผีของชาวกะเหรี่ยงยังคงปรากฏอยู่  นอกจากนี้จากการศึกษาพิธีกรรมเลี้ยงผี 3 พิธีกรรม ได้แก่ พิธีกรรมหลื้อทีบอ (เลี้ยงผีฝาย)  พิธีกรรมแสะจี่ (เลี้ยงผีนา) และพิธีกรรม  หลื้อเกลาะ (เลี้ยงผีไร่) พิธีกรรมเหล่านี้สืบทอดต่อ ๆ กันมาจากรุ่นสู่รุ่น ด้วยความเชื่อและความศรัทธาต่อธรรมชาติ การแสดงออกด้วยการเคารพ การกราบไหว้บูชาต่อผี การอ้อนวอนและร้องขอ เพื่อให้ผีประทานความอุดมสมบูรณ์ในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม จึงเป็นสิ่งยืนยันให้เห็นว่าการสืบทอดความเชื่อและพิธีกรรมเลี้ยงผีฝังลึกในรากเหง้าของชาวกะเหรี่ยงบ้านปูเต้อ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก โดยผ่านการประกอบพิธีกรรมการเลี้ยงผีซึ่งเป็นพิธีกรรมที่สำคัญของชุมชนกะเหรี่ยงบ้านปูเต้ออย่างเหนียวแน่น

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์. (2561). ข้อมูลประชากรกลุ่มชาติพันธุ์ พื้นที่ 20 จังหวัด (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://hhdclampang.anamai.moph.go.th/. (วันที่ค้นข้อมูล: 8 กันยายน 2564)

คึกฤทธิ์ ปราโมช, พลตรี ม.ร.ว. (2554). ฮวนนั้ง. กรุงเทพฯ : ดอกหญ้า.

ทิพย์วิมล ประเสริฐศร และคณะ. (2564). การถอดบทเรียนการพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวต้นแบบ: กรณีศึกษาชุมชนบ้านปูเต้อ ตำบลแม่กุ อำเภอแม่สอด จังหวัดตาก. วารสารสังคมศาสตร์และ มานุษยวิทยาเชิงพุทธ 6(6) มิถุนายน 2564

ธวัช ปุณโณทก. (2522). “ความเชื่อพื้นบ้านอันสัมพันธ์กับชีวิตคนอีสาน”, วัฒนธรรมพื้นบ้านคติความเชื่อ. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ประมวญ ดิคคินสัญ. (2539). คติชนชาวบ้าน, พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ต้นอ้อ แกรมมี่ จำกัด.

พระอธิการทิพเนตร ปญฺญาทีโป และคณะฯ. 2562. วิเคราะห์พิธีกรรมการบูชาและความเชื่อเกี่ยวกับผีตาแฮกในชุมชน ตำบลเกษม อำเภอตระการพืชผล จังหวัดอุบลราชธานี. วารสารศิลปะการจัดการ, 3(1), มกราคม – เมษายน 2562. หน้า 11-22.

ไพสิฐ พาณิชย์กุลและคณะ. (2539). รายงาน สิทธิของชุมชนชาวกะเหรี่ยง (ปกาเกอะญอ) กับการดำเนินเขตวัฒนธรรมพิเศษไร่หมุนเวียนในพื้นที่ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหา ข้อพิพาทกรณีที่ดินทำกินและที่อยู่อาศัยของชุมชนกะเหรี่ยงในพื้นที่ป่าภาคเหนือ. สำนักงานคณะกรรมการสิทธิมนุษยชน.

มณี พะยอมยงค์. (2529). วัฒนธรรมล้านนาไทย. กรุงเทพฯ : ไทยวัฒนาพาณิช.

มัลลิกา คณานุรักษ์. (2550). คติชนวิทยา. กรุงเทพฯ : โอเดียนสโตร์.

มูลนิธิโครงการหลวง. (2555). กะเหรี่ยง (KAREN) “ปกาเกอะญอ” (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : http://www.royalprojectthailand.com/karen, (วันที่ค้นข้อมูล : 8 กันยายน 2564)

วิรัตน์ ตราดรรชนี และคณะ. (2560). รายงาน โครงการ วิถีคนเลี้ยงช้าง คนปกาเกอะญอบ้านปูเต้อ อําเภอแม่สอด และบ้านยะพอ อําเภอพบพระ จังหวัดตาก. สํานักงานกองทุนสนับสนุนงานวิจัยท้องถิ่นสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดตาก. 2553. วิถีวัฒนธรรมชนเผ่าปกาเกอะญอจังหวัดตาก. ตาก

หทัยรัตน์ ทับพร. (2559). ชื่อไทยหรือชื่อกะเหรี่ยง: วิเคราะห์ความเชื่อเรื่องชื่อกะเหรี่ยงกับการเปลี่ยนแปลงเป็นชื่อไทยตามอิทธิพลของการศึกษาและกระแสวัฒนธรรมใหม่. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต. ปีที่ 12 ฉบับที่ 21 กรกฎาคม – ธันวาคม.

อุบลนภา อินพลอย และ ประจักษ์ สายแสง. (2563). ประเพณีและพิธีกรรมเกี่ยวกับข้าว: ความสัมพันธ์ระหว่างกะเหรี่ยงกับสิ่งเหนือธรรมชาติ. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา, 8(2) กรกฎาคม –ธันวาคม 2563 หน้า 206 - 228.

Duan Liqiong. (2013). A Study on Perspective of Basic Color Terms in Minorities (Master thesis). Huhan: South-central University for Nationalities.

รายละเอียดเกี่ยวกับผู้บอกข้อมูล

นายชรินทร์ ราษฎร์อาสา อายุ 60 ปี อาชีพทำนาและทำไร่ ความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมหลื้อทีบอ (เลี้ยงผีฝาย) โดยเป็นผู้นำการประกอบพิธีกรรม สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เมื่อวันที่ วันที่ 28 สิงหาคม 2564 และวันที่ 23 กันยายน 2564

นายผจญ สุวรรณคำพันธุ์ อายุ 60 ปี อาชีพทำนาและทำไร่ ความเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมแสะจี่ (เลี้ยงผีนา) และพิธีกรรมหลื้อเกลาะ (เลี้ยงผีไร่) โดยเป็นผู้ปฏิบัติพิธีกรรม สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ เมื่อวันที่ วันที่ 6 กันยายน 2564 และวันที่ 23 กันยายน 2564