วิถีชีวิตและบทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง

Main Article Content

สุประวีณ์ แสงอรุณเฉลิมสุข

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์วิถีชีวิตที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ และบทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง ผลการวิจัยพบว่า วิถีชีวิตที่ปรากฏในนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน แบ่งได้เป็น 4 ด้าน ได้แก่ 1. ด้านความเชื่อ แบ่งได้ 7 ประเภท ได้แก่ ความเชื่อดั้งเดิม ความเชื่อทางศาสนา ความเชื่อเรื่องอมนุษย์ ความเชื่อเรื่องของวิเศษ ความเชื่อเรื่องกำเนิดมนุษย์ ความเชื่อเรื่องโชคชะตา และความเชื่อเรื่องการเสี่ยงทาย 2. ด้านค่านิยม แบ่งได้ 5 ด้าน ได้แก่ ความพยายาม การเป็นผู้มีไหวพริบ ความกล้าหาญ ความกตัญญู และการเชื่อฟังผู้ใหญ่ 3. ด้านการประกอบอาชีพ พบการทำไร่ทำสวน การเลี้ยงวัวเลี้ยงควาย การหาของป่า ล่าสัตว์ และการทอผ้า 4. ด้านครอบครัว พบว่าขนาดครอบครัวมีลักษณะเป็นครอบครัวเดี่ยว และสัมพันธภาพในครอบครัวส่วนใหญ่มีความรักความเข้าใจกันดี ส่วนบทบาทหน้าที่ของนิทานพื้นบ้านชาวปกาเกอะญอ บ้านโป่งน้ำร้อน จำแนกได้ 3 ประการ คือ ประการแรก บทบาทหน้าที่ในการอธิบายกำเนิดและอัตลักษณ์ของกลุ่มชนและพิธีกรรม แบ่งได้ 2 ด้าน คือ การอธิบายกำเนิดและอัตลักษณ์ของชุมชน และการอธิบายพิธีกรรม ประการที่ 2 บทบาทหน้าที่ในการให้การศึกษา อบรมระเบียบสังคม และรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคม แบ่งได้ 2 ด้าน คือ การถ่ายทอดเรื่องราวเกี่ยวกับท้องถิ่นของตน และการอบรมระเบียบสังคม ปลูกฝังค่านิยมและรักษามาตรฐานพฤติกรรมของสังคม และประการที่ 3 บทบาทหน้าที่ในการเป็นทางออกให้กับการคับข้องใจของบุคคลอันเกิดจากกฎเกณฑ์ทางสังคม พบการเป็นทางระบายความกดดันในใจอันเกิดจากกฎเกณฑ์ในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

ปฐม หงษ์สุวรรณ. (2554). คติชนกับชนชาติไท. พิมพ์ครั้งที่ 2. มหาสารคาม : มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.

ประคอง นิมมานเหมินท์. (2551). นิทานพื้นบ้านศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: โครงการเผยแพร่ผลงานวิชาการ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พระครูอรุณเขมากร (สรรเพชญ์ ปริปุณฺโณ). (2557). ศึกษาวิเคราะห์อมนุษย์ในมหาสมัยสูตร. วารสารบัณฑิตศึกษาปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วิทยาเขตสุรินทร์. 2(2), 95-105.

วัชราภรณ์ ดิษฐป้าน. (2548). การแตกเรื่อง 2 ชั้นในนิทานชุดสุวรรณสิรสา. วารสารวรรณวิทัศน์, 5(พฤศจิกายน), 40-67.

วิเชษฐชาย กมลสัจจะ. (2563). การศึกษาอัตลักษณ์วัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอในนิทานพื้นบ้าน. วารสารศิลปศาสตร์ มทร.กรุงเทพ, 2(2) , 1-19

ศิราพร ณ ถลาง. (2552). ทฤษฎีคติชนวิทยา วิธีวิทยาในการวิเคราะห์ตำนาน-นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

สุดารัตน์ มาศวรรณา และปฐม หงษ์สุวรรณ. (2564). การใช้ตำนานและนิทานของคนไทพลัดถิ่นเพื่อต่อรองอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมภายใต้บริบทสังคมอีสาน. วารสารสังคมศาสตร์และมานุษยวิทยาเชิงพุทธ, 6(4), 143-159.

สุภัทรา บุญปัญญโรจน์. (2558). คติชนสำหรับเด็ก. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคำแหง.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2558). ทฤษฎีคติชนและวิธีการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: รามคำแหง.

เสาวลักษณ์ อนันตศานต์. (2561). นิทานพื้นบ้าน. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพฯ: รามคำแหง.

อรัญญา แสนสระ และ นันท์ชญา มหาขันธ์. (2561). นิทานพื้นบ้านกับการสืบสานภูมิปัญญาท้องถิ่น อำเภอเกษตรสมบูรณ์ จังหวัดชัยภูมิ. วารสารมนุษยศาสตร์ ฉบับบัณฑิตศึกษา, 7(1), 53-66.

สัมภาษณ์

นายมูล วันดู. (2562, 27 เมษายน). บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

นายมูล วันดู. (2562, 30 เมษายน). บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

นายยงค์ ดอกผู้ชาย. (2562, 27 เมษายน). บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

นางลา ใจคำ. (2562, 11 พฤษภาคม). บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

นางสุข ใจยาธิ. (2562, 11 พฤษภาคม). บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.

นางเอื้อย ติ๊บดี. (2562, 3 พฤศจิกายน). บ้านโป่งน้ำร้อน อำเภอเสริมงาม จังหวัดลำปาง, สัมภาษณ์.