การประยุกต์ใช้ความเชื่อเรื่อง “พญาลวง” เพื่อสร้างคุณค่าและความหมายใหม่ในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชุมชนไทลื้อบ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่

Main Article Content

ธิตินัดดา จินาจันทร์
ศันสนีย์ กระจ่างโฉม
เผชิญวาส ศรีชัย

บทคัดย่อ

การวิจัยเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการประยุกต์ใช้คติความเชื่อเรื่องพญาลวงของชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อสร้างคุณค่าและความหมายใหม่ในผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมของชุมชน โดยศึกษาจากเอกสาร การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลในชุมชนจำนวน 3 คน การสนทนากลุ่มและอบรมเชิงปฏิบัติการกับชาวบ้านในชุมชน 2 ครั้ง โดยครั้งที่ 1 จำนวน 16 คน และครั้งที่ 2 จำนวน 15 คน ผลการศึกษาพบว่า จากคติความเชื่อเรื่องพญาลวงที่ชาวไทลื้อบ้านลวงเหนือ สืบทอดมาจากบรรพบุรุษที่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในสิบสองพันนาผ่านวรรณกรรมมุขปาฐะนั้น เมื่อนำไปพัฒนาผลิตภัณฑ์ 2 ประเภทตามความต้องการของชาวบ้านในชุมชน ได้แก่ 1) ถุงย่ามที่มีลวดลายพญาลวงประดับตกแต่ง และ 2) โคมไฟเส้นด้ายที่ตกแต่งด้วยลวดลายพญาลวงแล้วนั้น พบว่ามีการปรับเปลี่ยนรูปลักษณ์ของพญาลวงให้มีความทันสมัยมากขึ้น สอดคล้องกับกระแสความสนใจของคนรุ่นใหม่ในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นยังมีการสร้างคุณค่าและให้ความหมายใหม่แก่ผลิตภัณฑ์ทั้ง 2 ประเภทนี้โดยอ้างอิงจากคติความเชื่อเดิมว่า พญาลวงจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์ มั่งคั่ง โดยใช้เรื่องเล่าที่เรียบเรียงขึ้นใหม่นั้นช่วยหนุนเสริมให้คุณค่าของผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมมีความเด่นชัดและมีมูลค่าเพิ่มขึ้นอีกด้วย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กฤตนัน ดีเด่นกีรติสกุล และ ดวงกมล ขาติประเสริฐ. (2565). การรับรู้คุณค่าผลิตภัณฑ์ทางวัฒนธรรมไทยของผู้บริโภคภายในประเทศ. วารสารวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย, 17(2), 31-58. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jmscrru/issue/view/17291

กษิรา ภิวงศ์กูร, บุญชู บุญลิขิตศิริ และ ภรดี พันธุภากร. (2562). การศึกษาลวดลายชาติพันธุ์ชนเผ่าในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึกหมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร. วารสารมังรายสาร. 7(2), 123-140. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/192149

เกษฎาวัลย์ ตันริยงค์ และคณะ. (2558). แนวทางการจัดการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม(ไทลื้อ)โดยการมีส่วนร่วมของชุมชนบ้านลวงเหนือ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่. สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น.

ชมรมฮักตั๋วเมือง สำนักส่งเสริมศิลปวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. (29 พฤษภาคม 2561). ลวงเหล้นฝ้า. สำนักพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com/column/article_102481

ณริสสร ธีรทีป. (2543). ความเปลี่ยนแปลงของสังคมไทลื้อ ตำบลลวงเหนือ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ พ.ศ.2460-2540: ศึกษาผ่านลักษณะและเครือข่ายความสัมพันธ์ของผู้นำที่เป็นทางการ. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่). CMUDC. https://cmudc.library.cmu.ac.th/frontend/Info/item/dc:97319

เดวิด เค วัยอาจ. (2556). ประวัติศาสตร์ไทยฉบับสังเขป. กรุงเทพฯ: มูลนิธิโครงการตำรามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์.

ไทยโรจน์ พวงมณี, คชสีห์ เจริญสุข และสุภาวดี สำราญ. (2565). อัตลักษณ์และสุนทรียภาพของหน้ากากผีบุ้งเต้าที่ส่งผลต่อการพัฒนาการท่องเที่ยวบ้านไฮตาก อำเภอภูเรือ จังหวัดเลย. วารสารมังรายสาร, 10(2), 67-81. https://so04.tci-thaijo.org/index.php/mrsj/article/view/260436

ธาม เชื้อสถาปนศิริ. (2558). เล่าเรื่องข้ามสื่อ. วารสารนิเทศศาสตร์และนวัตกรรม นิด้า, 2(1), 59-88. https://so02.tci-thaijo.org/index.php/jcin/article/view/42386

นฤมล กิมภากรณ์ และคณะ. (2562). การรับรู้คุณค่าหลายมิติจากประสบการณ์การบริโภคผลิตภัณฑ์เพื่อความงาม. วารสารวิทยาการการจัดการ, 36(2), 1-30. https://so03.tci-thaijo.org/index.php/jms_psu/article/view/192791/156165

พระยาประชากิจกรจักร. (2557). พงศาวดารโยนก. นนทบุรี: ศรีปัญญา.

เพ็ญสุภา สุขคตะ. (26 พฤศจิกายน 2563). นาค มกร กิเลน ปัญจรูป วิวัฒนาการของศิลปะทวารวดี ขอมลังกา พุกาม จีนในล้านนา (จบ). สำนักพิมพ์มติชนสุดสัปดาห์. https://www.matichonweekly.com/column/article_374305

มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย ธนาคารไทยพาณิชย์. (2542). สารานุกรมวัฒนธรรมไทยภาคเหนือ เล่ม 11. กรุงเทพฯ: มูลนิธิสารานุกรมวัฒนธรรมไทย.

มัลลิกา คณานุรักษ์. (2550). คติชนวิทยา. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: โอเดียนสโตร์.

เรณู อรรฐาเมศวร์. (2535). คติชนวิทยา. เชียงใหม่: ภาควิชาภาษาไทย คณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ สถาบันราชภัฏเชียงใหม่.

ลักษณ์สุภา พึ่งผล. (2560). การใช้เรื่องเล่าในการพัฒนาทักษะการขาย. (การค้นคว้าอิสระ ปริญญามหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์). https://digital.library.tu.ac.th/tu_dc/frontend/Info/item/dc:126509

วรชธร สิมกิ่ง. (2560). มกร นาค พญาลวง. เชียงใหม่ : ภาควิชาศิลปะไทย คณะวิจิตรศิลป์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ศิราพร ณ ถลาง. (2559). คติชนสร้างสรรค์: บทสังเคราะห์และทฤษฎี. กรุงเทพฯ: ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร.

สรัสวดี อ๋องสกุล. (2561). ประวัติศาสตร์ล้านนา (ฉบับสมบูรณ์). กรุงเทพฯ : อมรินทร์พรินติ้ง.

โสวิทย์ บำรุงภักดิ์. (2557). เป็น อยู่ คือ : พญางูใหญ่ พญานาค พญาลวง และพญามังกร. วารสารพุทธศาสน์ศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 21(2), 79-89. http://www.cubs.chula.ac.th/old/index.php?option=com_content&view=article&id=118:-21-2-2557&catid=9:2012-04-29-09-31-55&Itemid=5

ข้อมูลสัมภาษณ์

นางพรรษา บัวมะลิ สัมภาษณ์เมื่อวันที่ 20 เมษายน 2564