ลวดลายชาติพันธ์ชนเผ่า ในการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก หมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตร

Main Article Content

กษิรา ภิวงศ์กูร
บุญชู บุญลิขิตศิริ
ภรดี พันธุภากร

บทคัดย่อ

การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ หาอัตลักษณ์รูปแบบ สัญลักษณ์ที่มีคุณค่า ของชาติพันธ์ชนเผ่า ในการออกแบบเลขศิลป์และพัฒนาผลิตภัณฑ์ เพิ่มความคิดสร้างสรรค์ สำหรับการออกแบบร่วมสมัย ผลิตภัณฑ์ของของที่ระลึกตามแนวนิยม ในปัจจุบัน   ในหมู่บ้านรวมมิตร  ต.แม่ยาว อ.เมืองเชียงราย จ.เชียงราย ทำการสำรวจ และนำมาวิเคราะห์ เปรียบเทียบลักษณะที่โดดเด่น ของแต่ละชนเผ่า มาผสมผสานกับแนวคิดการออกแบบร่วมสมัย ให้มีลักษณะที่เรียบง่าย ที่ยังสื่อถึงความงาม แสดงถึงลักษณะเด่นของศิลปะผ้าชนเผ่าแบบดั้งเดิม เครื่องมือที่ใช้  ได้แก่แบบสัมภาษณ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านภูมิปัญญาชนเผ่า แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบเรขศิลป์ และออกแบบผลิตภัณฑ์ และแบบประเมินผู้บริโภคและรสนิยมในด้านรูปแบบของการออกแบบผลิตภัณฑ์   ออกแบบเรขศิลป์  และการออกแบบ อัตลักษณ์ กลุ่มสินค้าชาติพันธุ์  ผลการศึกษาที่เกี่ยวกับการออกแบลวดลายผ้าของชาติพันธ์ชนเผ่าได้ทำการศึกษาลวดลายผ้า ที่เป็นลวดลายโบราณดั้งเดิมและลายผ้าที่มีการประยุกต์ลวดลาย  รวม จำนวน 55 ลาย แจงเป็น               1.กระเหรี่ยง จำนวน 21 ลาย  2.ม้ง จำนวน 12 ลาย 3.อาข่า (อีก้อ) จำนวน 22 ลาย  ซึ่งวิเคราะห์ความหมายออกแบบลวดลายทั้ง 55 แบบ  สามารถจัดหมวดหมู่ตามความเชื่อของการออกแบบลวดลายได้ เป็น 6 กลุ่ม  ได้แก่ ลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสัตว์,ลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากธรรมชาติ,ลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากความเชื่อ ,ลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากรูปทรงเรขาคณิต,ลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากมนุษย์,ลายที่ได้รับแรงบันดาลใจมาจากสิ่งของในชีวิตประจำวัน 


ความพึงพอใจที่มีต่อการออกแบบผลิตภัณฑ์ของที่ระลึก ภูมิปัญญาชนเผ่า หมู่บ้านกระเหรี่ยงรวมมิตรตามแนวนิยมแบบร่วมสมัย  แยกตามผลงาน พบว่า อันดับที่ 1 ผ้าคลุมไหล่มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด อยู่ที่ 4.42 อันดับที่ 2  เสื้อยืด  ระดับความพึงพอใจในระดับมากที่สุด อยู่ที่ 4.23  อันดับที่ 3   เนคไท ระดับความพึงพอใจในระดับ มากที่สุด อยู่ที่  4.22  อันดับที่ 4  หมอนอิง  ระดับความพึงพอใจในระดับมาก อยู่ที่ 4.17 อันดับที่ 5 เครื่องประดับชุดที่ 1  มีระดับความพึงพอใจในระดับมากที่ อยู่ที่ 4.00   อันดับที่ 6  เครื่องประดับชุดที่ 2 ระดับความพึงพอใจในระดับมาก อยู่ที่ 3.68 ตามลำดับ


            และจากการศึกษาพบว่า การออกแบบของที่ระลึก ควรมีมีแนวคิดหลักๆ คือจะต้องสามารถ ดึงดูดให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจซื้อสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวนั้นได้ ไม่ว่าจะซื้อให้ตัวเองหรือเป็นของฝากเป็นการซื้อ ด้วยความประทับใจในผลิตภัณฑ์ คำนึกถึงประโยชน์ใช้สอย ที่สามารถใช้ในชีวิตประจำวันได้


 

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กระทรวงวัฒนธรรมไทย. (2558) ฝากไทย ถอดรหัสเสน่ห์ของที่ระลึกเพื่อการท่องเที่ยว.กรุงเทพฯ :กระทรวงวัฒนธรรม
ปาพจน์ หนุนภักดี.(2555) หลักการและกระบวนการออกแบบงานกราฟิกดีไซน์. นนทบุรี : ไอดีซีพรีเมียร์
พจนา นูมหัตถ์ และคณะ.(2555) ศึกษาวิถีวัฒนธรรม อนุรักษ์และพัฒนาผ้าชนเผ่า สู่เชิงพาณิชย์ กรณีศึกษาผ้าทอกะเหรี่ยง
จังหวัดภาคเหนือ.กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชวงศ์คนพระนคร.
วรเมธ ยอดบุ่น.(2548) อัตลักษณ์ของชาติพันธุ์ในบริบทการท่องเที่ยว : ศึกษากรณี หมู่บ้านรวมมิตร อําเภอเมือง จังหวัด
เชียงราย.กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ศูนย์ส่งเสริมศิลปาชีพระหว่างประเทศ. (2557) เอกลักษณ์และศิลปะลวดลายชาวเขา. กรุงเทพฯ: บริษัท สยามคัลเลอร์พริน จำกัด.