ดุษฎีนิพนธ์การประพันธ์เพลง: “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติ สำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทประพันธ์เพลงดุษฎีนิพนธ์: “อู่ฮั่น” ตำนานชัยชนะแห่งมนุษยชาติสำหรับวงแจ๊สอองซอมเบลอร่วมสมัยประพันธ์โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างสรรค์นวัตกรรมบทประพันธ์เพลงบทใหม่ ซึ่งตีความจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 (Covid 19) ในประเทศไทย วิธีดำเนินการวิจัยเป็นการนำเรื่องราวจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในช่วงต่าง ๆ ของประเทศไทยมาถอดความเพื่อนำมาสร้างสรรค์เป็นบทประพันธ์ที่มีสำเนียง ลีลาสีสัน และถ่ายทอดความรู้สึกในรูปแบบดนตรีแจ๊ส ร่วมสมัย โดยบูรณาการแนวคิดของดนตรีแจ๊ส ดนตรีคลาสสิก และดนตรีร่วมสมัย รวมถึงใช้เทคนิค การประพันธ์ต่าง ๆ เทคนิคการคัดทำนองและการถอดสัญญะของบทเพลง ได้แก่ เพลง ช้าง แสดงถึง ประเทศไทย เพลง ธรณีกรรแสง เป็นตัวแทนความโศกเศร้า มาเป็นวัตถุดิบในการประพันธ์
ผลการวิจัยในครั้งนี้เป็นการสร้างสรรค์บทประพันธ์เพลงนี้มีความยาวโดยรวมประมาณ 40 นาที ประกอบด้วย 5 บทเพลง ได้แก่ บทประพันธ์เพลงที่ 1 The Attack: BKK 3/26/2020 แสดงถึงจุดเริ่มต้นสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโคโรนา 2019 ในประเทศไทย บทประพันธ์เพลงที่ 2 The Chaos แสดงถึงความแตกตื่นของผู้คน บทประพันธ์เพลงที่ 3 The Sacrificing แสดงถึงความเสียสละและ ความสูญเสียที่เกิดขึ้น บทประพันธ์เพลงที่ 4 Time of the Black Shadow สะท้อนถึงความมืดมน ของประเทศจากการระบาดแพร่ของไวรัสโคโรนา 2019 หลายระลอก และบทประพันธ์เพลงที่ 5 Rising of the Heroes แสดงถึง ความยืนหยัดต่อสู้และสุดท้ายเราได้ผ่านพ้นไป การนำเสนอบทประพันธ์เพลงประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่ได้กำหนดอย่างสมบูรณ์ เป็นผลงานวิชาการทางด้านการประพันธ์เพลง ที่ผสมผสานระหว่างองค์ความรู้ทางดนตรีร่วมกับการเล่าเรื่องราวที่เกิดขึ้นจริงในปัจจุบัน สร้างสรรค์ เป็นบทประพันธ์เพลงแจ๊สร่วมสมัย เป็นประโยชน์ต่อการศึกษาทางด้านการประพันธ์เพลง และช่วยพัฒนาวิชาการทางด้านดนตรีของประเทศไทยให้มากยิ่งขึ้น
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
เนื้อหาและข้อมูลในบทความที่ลงตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นข้อคิดเห็นและความรับผิดชอบของผู้เขียนบทความโดยตรงซึ่งกองบรรณาธิการวารสาร ไม่จำเป็นต้องเห็นด้วย หรือร่วมรับผิดชอบใดๆ
บทความ ข้อมูล เนื้อหา รูปภาพ ฯลฯ ที่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารมังรายสาร ถือเป็นลิขสิทธิ์ของวารสารมังรายสาร หากบุคคลหรือหน่วยงานใดต้องการนำทั้งหมดหรือส่วนหนึ่งส่วนใดไปเผยแพร่ต่อเพื่อกระทำการใดๆ จะต้องได้รับอนุญาตเป็นลายลักอักษรณ์จากวารสารมังรายสารก่อนเท่านั้น
References
จิราภรณ์ ศรีแจ่ม. (2563). วันที่ไทยรู้จัก COVID-19. TPBS. https://news.thaipbs.or.th/content/290347
ซอทอง บรรจงสวัสดิ์ .(2556) .ลักษณะสองโฉมหน้าของเมืองไทยในเอกสารภาษาฝรั่งเศส: การวิเคราะห์ตามแนวสัญวิทยา. เอกสารประกอบการประชุมวิชาการแห่งชาติ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกําแพงแสน ครั้งที่ 10 .วันที่ 6-7 ธันวาคม 2556 , 531-536
วรชิน มั่งคั่ง และ ศราวุธ วิวรรณ (2565). แตรวงชาวบ้านคณะ เส.ท่าฉลอม . เอกสารประกอบการประชุมวิชาการระดับชาติ ครั้งที่ 14 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม , 2448-2459