ความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในงานของ คามิน คมนีย์: วิเคราะห์เชิงวาทกรรม

Main Article Content

อุไรวรรณ สิงห์ทอง
ธนพร หมูคำ
วัฒนชัย หมั่นยิ่ง
ภูริวรรณ วรานุสาสน์

บทคัดย่อ

บทความนี้ มุ่งวิเคราะห์วาทกรรมความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติในงานของ คามิน คมนีย์ กลุ่มตัวอย่าง คือ วรรณกรรมของ คามิน คมนีย์ ทั้งหมด 18 เรื่อง โดยใช้ทฤษฎีวาทกรรมของมิเชล ฟูโกต์ และทฤษฎีวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศของเชอร์ริลล์ กล็อตเฟลตี เป็นแนวทางการวิเคราะห์ พบว่า งานของ คามิน คมนีย์ นำเสนอวาทกรรม 2 ชุด คือ 1) วาทกรรมการเดินทางกับธรรมชาติ ประกอบสร้างผ่านอุดมการณ์สำนึกนิเวศ 2 ลักษณะ ได้แก่ 1.1) การสร้างจิตสำนึกเชิงนิเวศ และ 1.2) มนุษย์กับการพึ่งพาและทำลายธรรมชาติ 2) วาทกรรมตัวตนกับธรรมชาติ ประกอบสร้างผ่านกฎไตรลักษณ์ ได้แก่ 2.1) สรรพสิ่งคืออนิจจัง 2.2) การตระหนักในทุกข์ และ 2.3) การไม่มีตัวตน โดยคามิน คมนีย์ ใช้การเดินทางเป็นสัญญะในการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ และสำนึกในพลังของธรรมชาติ ขณะเดียวกันคามินได้อธิบายความย้อนแย้งของมนุษย์ว่ามนุษย์ยังมุ่งเอาชนะธรรมชาติไปพร้อมกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กานมณี ภู่ภักดี. (2547). ความหมายและคุณค่าของชีวิตในนิเวศลุ่มลึก ตามทัศนะของอาร์เนนาสส์. วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต, มหาวิทยาลัยเชียงใหม่. เชียงใหม่.

ขวัญชนก นัยจรัญ. (2564). จากวรรณกรรมสู่การสร้างจิตสำนึกเชิงนิเวศสำหรับเยาวชน : กรณีศึกษานวนิยายเยาวชนรางวัลแว่นแก้ว. วารสารวิจัยราชภัฏพระนคร สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 6(1). 71-84.

คามิน คมนีย์ [นามแฝง]. (2553). ใต้ฟ้าฟากกระโน้น. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

คามิน คมนีย์ [นามแฝง]. (2555). ลอยนวลสวนสนุกแห่งชีวิตจริง. นนทบุรี: บ้านหนังสือ.

คามิน คมนีย์ [นามแฝง]. (2556). เมื่อแม่ตื่น. นนทบุรี: บ้านหนังสือ.

คามิน คมนีย์ [นามแฝง]. (2560). ลูกยางกลางห้วย. กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

คงศักดิ์ ตันไพจิตร. (2552). พุทธอัจฉริยะ. กรุงเทพฯ: ดีเอ็มจี.

จักรพรรณ วงศ์พรพวัณ. (2561). นิเวศวิทยาเชิงพุทธกับแนวคิด คุณค่า และการเสริมสร้างการอนุรักษ์ป่าชุมชนในจังหวัดขอนแก่น. ขอนแก่น: มหาจุฬาลงกรราชวิทยาลัย.

ไชยรัตน์ เจริญสินโอฬาร. (2560). บทแนะนำสกุลความคิดหลังโครงสร้างนิยม. กรุงเทพฯ: สมมติ.

ชาคริต แก้วทันคำ. (2561). ภาพแทนตัวตนเชิงนิเวศในกวีนิพนธ์ “ปลูกดอกไม้ไว้บนภูเขา”. วารสารสงขลานครินทร์ ฉบับมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. 24(3). 223-237.

ดวงมนต์ จิตร์จำนงค์. (2540). คุณค่าและลักษณะเด่นของวรรณคดีไทยสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

เดชา สุวรรณมาศ และคณะ. (2563). นวนิยายเรื่อง “อมตะ”: การวิเคราะห์ความเป็นอมตะตามกฎไตรลักษณ์ในพระพุทธศาสนาและการโคลนนิ่งทางวิทยาศาสตร์. วารสารมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยพะเยา. 8(2). 108-124.

ทนงศ์ จันทะมาตย์ และธัญญา สังขพันธานนท์. (2562). ภาพแทนของธรรมชาติกับสิ่งแวดล้อมและพลวัตของสํานึกเชิงนิเวศในนวนิยายไทย ระหว่าง พ.ศ. 2475-2556. วารสารสันติศึกษาปริทรรศน์ มจร. 7(1), 213-223.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2556). วรรณคดีสีเขียว กระบวนทัศน์และวาทกรรมธรรมชาติในวรรณคดีไทย. ปทุมธานี: นาคร.

ธัญญา สังขพันธานนท์. (2559). แว่นวรรณคดี ทฤษฎีร่วมสมัย. ปทุมธานี: นาคร.

พชรวรรณ บุญพร้อมสกุล. (2562). นววิถี: วิธีวิทยาร่วมสมัยในการศึกษาวรรณกรรม. กรุงเทพฯ: สยามปริทัศน์.

พระพรหมคุณาภรณ์ (ป.อ. ปยุตฺโต). (2546). พจนานุกรมพุทธศาสนา ฉบับประมวลธรรม พิมพ์ครั้งที่ 12. กรุงเทพฯ: มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2548). พจนานุกรมศัพท์ปรัชญา อังกฤษ-ไทย ฉบับราชบัณฑิตยสถาน. กรุงเทพฯ: ราชบัณฑิตยสถาน.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ: นานมีบุ๊คส์พับลิเคชั่นส์.

วราภรณ์ เกิดพิมาย และคณะ. (2565). งูหงอนทอง: การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์กับธรรมชาติ ตามแนวทางการศึกษาวรรณกรรมวิจารณ์เชิงนิเวศ. วารสารมังรายสาร. 11(1). 91-107.

ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร. (2560). มหาวาตภัยแหลมตะลุมพุก. สืบค้นเมื่อ 16 พฤษภาคม 2566, จาก https://www.sac.or.th/exhibition/aseantimeline/2505.

อานันท์ กาญจนพันธุ์. (2562). คิดอย่างมิเชล ฟูโกต์ คิดอย่างวิพากษ์: จากวาทกรรมของอัตบุคคลถึงจุดเปลี่ยนของอัตตา. กรุงเทพฯ: ศยาม.