การพัฒนานวัตกรรมพื้นที่การเรียนรู้ “ศิลปินด้านวรรณศิลป์” จังหวัดสุโขทัย

Main Article Content

ภาคภูมิ สุขเจริญ
สุวรรณี ทองรอด
เพ็ญพิชญา เพ็งศรี มูฮาเน่น

บทคัดย่อ

บทความวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ 3 ประการ คือ 1) เพื่อนำเสนอการใช้กระบวนการศึกษาท้องถิ่นในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปินด้านวรรณศิลป์ของจังหวัดสุโขทัย 2) เพื่อวิเคราะห์และสังเคราะห์กลวิธีที่สร้างความโดดเด่นในผลงานด้านวรรณศิลป์ของจังหวัดสุโขทัย และ 3) เพื่อสร้างความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปินจังหวัดสุโขทัย ใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพเก็บข้อมูลในพื้นที่ในจังหวัดสุโขทัย ซึ่งผ่านการคัดกรองบุคคลจากภาคีเครือข่ายแล้ว


ผลการวิจัยด้านการใช้กระบวนการศึกษาท้องถิ่นในการเก็บรวบรวมข้อมูลเกี่ยวกับศิลปิน ได้ข้อมูลศิลปินจำนวน 8 คน ด้านการวิเคราะห์และสังเคราะห์กลวิธีที่สร้างความเด่นในผลงานของศิลปินด้านวรรณศิลป์ พบลักษณะเด่นด้านวรรณศิลป์ ได้แก่ การสรรคำ การเรียบเรียงคำ และการใช้สำนวนโวหาร ส่วนลักษณะเด่นด้านเนื้อหาในวรรณกรรม พบว่ามีการเชื่อมโยงบริบทท้องถิ่น สภาพแวดล้อม และการประกอบอาชีพของศิลปินเป็นองค์ประกอบสำคัญในการสร้างสรรค์ผลงานให้โดดเด่นเป็นที่ยอมรับของท้องถิ่น


ผลการวิจัยด้านความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในระดับพื้นที่พัฒนาพื้นที่การเรียนรู้เกี่ยวกับศิลปินจังหวัดสุโขทัย พบว่า ได้รับความร่วมมือจากภาคีเครือข่ายในพื้นที่อำเภอสวรรคโลก และระดับจังหวัดสุโขทัย เพื่อพัฒนานวัตกรรมพื้นที่การเรียนรู้โดยการจัดกิจกรรมการเปิดหอศิลปินสุโขทัย การประพันธ์บทการแสดงนาฏยศิลป์ประเภทลิเกเยาวชน และการถ่ายทอดประสบการณ์ พร้อมทั้งการฝึกทักษะการเขียนเชิงปฏิบัติการของศิลปินด้านวรรณศิลป์สู่เยาวชนผู้สนใจในจังหวัดสุโขทัย

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

กุหลาบ มัลลิกะมาส. (2543). วรรณคดีวิจารณ์. (พิมพ์ครั้งที่ 10). กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยรามคําแหง.

ชำนาญ รอดเหตุภัย. (2519). สัมมนาการใช้ภาษาไทยปัจจุบัน. กรุงเทพฯ: การสยาม.

ฐานเศรษฐกิจ. (2563). “สุโขทัย” คว้าเครือข่ายเมืองสร้างสรรค์ยูเนสโก. สืบค้นเมื่อ 22 มีนาคม 2564, จาก https://www.thansettakij.com/content/strategy/418131.

ทองเจือ สืบชมภู. (2566). นางทองเจือ สืบชมภู. สืบค้นเมื่อ 21 มกราคม 2566, จาก http://www.info.ru.ac.th/province/sukhotai/tongjuer.htm.

เทพศิริ สุขโสภา. (2548). สารคดีเรื่อง ศิลปินกับนางแบบ. กรุงเทพฯ : มติชน.

เทพศิริ สุขโสภา. (2549). ร่างพระร่วง. กรุงเทพฯ : มติชน.

เทพศิริ สุขโสภา. (2560). บึงหญ้าป่าใหญ่. (พิมพ์ครั้งที่ 8). กรุงเทพฯ: มติชน.

ธเนศ เวศร์ภาดา. (2549). หอมโลกวรรณศิลป์. กรุงเทพฯ: ปาเจรา.

นิคม รายยวา. (2547). ตลิ่งสูง ซุงหนัก. (พิมพ์ครั้งที่ 3). กรุงเทพฯ: หนังสือรูปรวี.

นิมิตร ภูมิถาวร. (2517). สร้อยทอง. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

นิมิตร ภูมิถาวร. (2518). แด่คุณครูด้วยคมแฝก. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

นิมิตร ภูมิถาวร. (2518). หอมกลิ่นดอกอ้อ. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

นิมิตร ภูมิถาวร. (2520). กัดฟันสู้. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

นิมิตร ภูมิถาวร. (2522). สายลมเสียงซอ. กรุงเทพฯ : บรรณกิจ.

นิมิตร ภูมิถาวร. (2539). หนุ่มชาวนา. กรุงเทพฯ : กระทรวงศึกษาธิการ.

โปรดปราน ศิริพร, พัชราภรณ์ เกษะประกร และ ชุติมา เกศดายุรัตน์. (2557). การรับรู้เกี่ยวกับตัวตนของวัยรุ่น บทบาทและอัตลักษณ์ของศิลปินไทย ทัศนคติ และพฤติกรรมการเลียนแบบในเขตกรุงเทพมหานคร. การประชุมทางวิชาการของมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ครั้งที่ 52: สาขาศึกษาศาสตร์, สาขาเศรษฐศาสตร์และบริหารธุรกิจ, สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. (หน้า 545-552).

ภาคินัย กสิรักษ์. (2551). นางชฎา. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2552). WARD ห้องคลอดมรณะ. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2553). Haunted อาถรรพ์เรือนลั่นทม. กรุงเทพฯ : เจริญวิทย์.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2553). Reallity ท้าคนเป็นเห็นคนตาย. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2555). Mirror กระจกสั่งตาย. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2555). Museum พิพิธภัณฑ์หุ่น-หั่น-หัว. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2556). Sleep หลับ-เป็น-ตาย. กรุงเทพฯ : ก้าวกระโดด.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2556). Stairs 12 ขั้น...บันไดผี. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2558). The Dome เคหาสน์สาปสยอง. กรุงเทพฯ : ก้าวกระโดด.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2558). Theater ตีตั๋วไปตาย. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2559). โรงมหรศพ. กรุงเทพฯ : ก้าวกระโดด.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2560). นางครวญ. กรุงเทพฯ : ก้าวกระโดด.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2560). นางคุก. กรุงเทพฯ : ก้าวกระโดด.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2561). Holy ศพ-เซ่น-ศาล. กรุงเทพฯ : ก้าวกระโดด.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2562). นางแค้น. กรุงเทพฯ: Amp A Book.

ภาคินัย กสิรักษ์. (2563). Apsara สาปอัปสรา. กรุงเทพฯ : โซฟา พับลิชชิ่ง.

ภาณุมาศ ภูมิถาวร. (2545). ลาดตระเวนสุดท้าย รวมเรื่องสั้นชุดสหาย. กรุงเทพฯ: ปุณณมา.

ภาณุมาศ ภูมิถาวร. (2546). เกียวบาวนาจอก. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

ภาณุมาศ ภูมิถาวร. (2546). ภาพอาถรรพณ์. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

ภาณุมาศ ภูมิถาวร. (2554). สนิมทองคำ. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

ภาณุมาศ ภูมิถาวร. (2562). ไซ่ง่อนกำสรวล. กรุงเทพฯ: ปุณณมา.

ภาณุมาศ ภูมิภาวร. (2545). แนวหลังกระสอบทราย. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

ภาณุมาศ ภูมิภาวร. (2548). ฝนดับไฟ. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

ภาณุมาศ ภูมิภาวร. (2550). เมดูซา…ของขวัญจากสายน้ำ. กรุงเทพฯ : มิ่งมิตร.

มูลนิธิโครงการสารานุกรมไทยสำหรับเยาวชน. (2565). สารานุกรมไทยสำหรับเยาวชนฯ เล่มที่ 37 เรื่องที่ 3 ศิลปินแห่งชาติ. สืบค้นเมื่อ 22 สิงหาคม 2565 จาก https://www.saranukromthai.or.th/sub/book/book.php?book=37&chap=3&page=t37-3-suggestion.html.

ราชบัณฑิตยสถาน. (2556). พจนานุกรมฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2554. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพฯ : ราชบัณฑิตยสถาน.

ลอง จ้องรวี. [นามปากกา]. (2557). สายลมบุพกาล. สุโขทัย : โรงนาบ้านไร่.

ลอง จ้องรวี. [นามปากกา]. (2559). สวนดวงใจ. กรุงเทพฯ : โรงนาบ้านไร่.

ลอง จ้องรวี. [นามปากกา]. (2563). สองฝั่งแม่น้ำเก่า. สุโขทัย: โรงนาบ้านไร่.

สัญญา พานิชยเวช. (2554). อยู่บ้านนาด้วยรัก. กรุงเทพฯ : กากะเยีย.

สัญญา พานิชยเวช. (2556). กระท่อมนา ฟ้าฝน และคนรัก. สุโขทัย : โรงนาบ้านไร่.