การออกแบบของที่ระลึก : การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน Souvenir Design : Apply of Local Wisdom to Local Products

Main Article Content

ตวงรัก รัตนพันธุ์
ชัชวาลย์ รัตนพันธุ์

Abstract

                  การออกแบบของที่ระลึก : การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชนโดยเชื่อมโยงศาสตร์ความรู้ผนวกกับการประยุกต์วัสดุพื้นถิ่นเพื่อพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีมูลค่าเพิ่ม ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาล Thailand 4.0 คือ การนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาพัฒนาให้ตรงจุดเพื่อขับเคลื่อนเศรษฐกิจประเทศไทยให้มีศักยภาพและไปสู่เป้าหมายทางการตลาด การเชื่อมโยงศาสตร์ความรู้ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมที่อยู่ใกล้ตัว ซึ่งถูกเก็บไว้ในมหาวิทยาลัยและสถาบันวิจัยต่างๆ โดยสามารถนำศาสตร์ความรู้ เทคโนโลยีและวัฒนธรรมเหล่านี้ออกมาจากบุคลากรที่มีความรู้ความสามารถจากหน่วยงานสถาบันการศึกษา ร่วมกับภาคเอกชน และใช้พลังของประชารัฐโดยมีภาครัฐเป็นตัวสนับสนุน โดยเริ่มพัฒนาจากตนเองแล้วเริ่มต่อยอดเครือข่ายต่างประเทศ เสมือนกับบันได 3 ขั้นตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง คือ การพึ่งพาตนเอง พึ่งพากันเอง และรวมกันเป็นกลุ่มอย่างมีพลัง


                 การนำเสนอกระบวนการออกแบบของที่ระลึกผ่าน 9 แนวความคิดศิลปวัฒนธรรมท้องถิ่นภาคใต้ที่มีเอกลักษณ์เด่นชัดได้แก่ สิบสองเมืองนักษัตร หัตถกรรมแกะหนังตะลุง หัตถกรรมลูกปัดโนราห์ หัตถกรรมผ้ามัดย้อม หัตถกรรมผ้าบาติก หัตถกรรมหางอวน หัตถกรรมจักสานกระจูด หัตถกรรมเครื่องปั้นดินเผาและศิลปะมาลายูดังนั้น การประยุกต์ใช้ภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน จึงเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้ผู้ผลิตรายเก่าและรายใหม่ในชุมชนท้องถิ่นภาคใต้ที่มีศักยภาพได้มีความรู้ความเข้าใจในการประยุกต์วัสดุพื้นถิ่นมาออกแบบ และพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์ให้มีมูลค่าเพิ่มตรงตามความต้องการของตลาดและผู้บริโภค


                  The article entitled Souvenir Design : Apply of Local Wisdomto Local Products combines knowledge and application of local materials in order to developvalue added to local products according to Thailand 4.0, the policyinitiated by the government. In this regard, Thailand 4.0 is the policy encouraging the right use technology and innovation to develop the potential in order to drive national economy towards market goals. Combining knowledge, technology and culture around us which has been collected in universities and research institutes is implemented by potential personnel of educational institutes cooperated with private sectors, driven by civil state power and supported by public sectors. The processes begin with self-development before building on with international network as described in the 3 Steps of Philosophy of Sufficiency Economy namely, self-reliance, community reliance and become more powerful group.


                   The process of designing souvenirs is presented through 9 concepts of local Southern arts and culture namely, the 12 Cities of Chinese Zodiac, Shadow Play Handicraft, Nora Beads Handicrafts, Tie Dye Handicrafts, Batik Handicrafts, Hang-uan Handicrafts (woven dried palm leaves handicrafts), Krajood Handicrafts (dried straw woven handicrafts), Earthenware Handicrafts, and Malay arts. Therefore, application of local wisdom on local products supports and promotes old and new local business owners in potential Southern local communities to have better understanding in applying local materials in design and develop better local product value to match with target markets and consumers.


 

Article Details

Section
บทความวิชาการ

References

กฤษติกา คงสมพงษ์. (2552, เมษายน 20-22). ถึงเวลาต้องผสมผสานการตลาดกับวัฒนธรรม. กรุงเทพธุรกิจ, 43–44.
ชัชวาล รัตนพันธุ์. (2559). การออกแบบผลิตภัณฑ์โคมไฟที่มีแนวความคิดจากการบูรณาการเครื่องปั้นดินเผากับศิลปะการแกะหนังตะลุง, มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
ชุติมา เอี่ยมโชติวลิช. (2551, มกราคม–เมษายน). แนวคิดการสร้าง Value Creation สำหรับเซรามิกส์. เซรามิกส์, 16(4), 34–36.
ดุรงค์ฤทธิ์ เอกวงษา. (2555, กรกฎาคม-ธันวาคม). การออกแบบลวดลาย : การถ่ายทอดภูมิปัญญาท้องถิ่นของช่างเครื่องเงินอำเภอเขวาสินรินทร์ จังหวัดสุรินทร์. วารสารวิชาการครุศาสตร์อุตสาหกรรมพระจอมเกล้าพระนครเหนือ, 3(2).
เทศบาลนครศรีธรรมราช. (2551, มกราคม). ย่ำรอยประวัติศาสตร์. ท่องไปในแดนวัฒนธรรม, 4,43.
ไทยโรจน์ พวงมณี. (2553). การพัฒนาทักษะการออกแบบลวดลายผ้าบาติกของนักศึกษา สาขาวิชาศิลปกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏเลย. ศูนย์วิทยบริการ.
ธนภัทร คงศรีเจริญ. (2551, พฤษภาคม 9–15). คิดสร้างสรรค์. กรุงเทพธุรกิจ, 35.
ปัญญา เลิศไกร และลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม-ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(2).
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(1).
วิมลมาศ ปฐมวณิชกุล และคณะ. (2551, พฤษภาคม-สิงหาคม). รูปแบบการถ่ายทอดความรู้เพื่อส่งเสริมการเรียนรู้ทางการตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์ชุมชน. วารสารมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, 2(2).
ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบแห่งประเทศไทย. (2551, กันยายน 15). สร้างธุรกิจเชื่อมความคิดโยงวัฒนธรรม กระบวนทัศน์ใหม่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทยกระบวนทัศน์ใหม่เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจไทย. กรุงเทพธุรกิจ, 47.
สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี. (2551, มิถุนายน). ทิศทางการพัฒนาเศรษฐกิจไทยในโลกใหม่. สร้างเศรษฐกิจด้วยความคิดสร้างสรรค์, 1(1), 7.
Bryan Lawson. (2005). How designs thing. 6rd ed. Londdon: Jodan Hill.
Henrik Sundustrom. (2010). Product Design in The Sustainable era. Germany: TASCHEN.
Mike Baxter. (2005). Product Design. 9rd ed. Florida: CRC Press.
Reyea krans. (2004). Icon of Design. 2rded. New York: Pestle Publishish.