การประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ The Internal Quality Assurance of Opportunity Expansion School under Krabi Primary Educational Service Area Office

Main Article Content

อุไร หัตถประดิษฐ์
ดร. อรุณ จุติผล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สำเริง จันชุม

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่  จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่และประสบการณ์การทำงานในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นผู้บริหารและครูจำนวน  254 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่าง โดยใช้ t-test และการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way Analysis of Variance)


          ผลการวิจัยพบว่า


  1. การดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านโดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการจัดให้มีการประเมินคุณภาพภายในตามมาตรฐานการศึกษา ด้านการจัดระบบบริหารและสารสนเทศ ด้านการจัดทำรายงานประจำปีที่เป็นรายงานประเมินคุณภาพภายใน ด้านการกำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดทำแผนพัฒนาการศึกษาของสถานศึกษา ด้านการจัดให้มีการติดตามตรวจสอบคุณภาพการศึกษา ด้านการจัดให้มีการพัฒนาคุณภาพการศึกษาอย่างต่อเนื่อง และด้านการดำเนินงานตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา

  2. ผลการเปรียบเทียบความแตกต่างการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา จำแนกตามตำแหน่งหน้าที่ พบว่าไม่แตกต่างกัน แต่เมื่อพิจารณาตามประสบการณ์การทำงานในสถานศึกษา พบว่า แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

             This study was aimed to study and compare the internal quality assurance of opportunity expansion school under Krabi Primary Educational Service Area. The 254 samples consisted of school administrators and teachers, classified by working position and experience. The research instruments are questionnaires. The statistical analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test and one way ANOVA.


The research found that:


1) The overallof internal quality assurance of opportunity expansion school are in high level. The consequences are evaluation, administration and information system, self assessment reports, educational standard setting, development plan, quality control, continuous development and performance development plans.


2) The comparisons of internal quality assurance classified by working position found with no statistical different, when classified by working experience found difference with statistical significant level at 05.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์ และกัลยกร ภิญโญ. (2558, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินผลกาดำเนินงาน
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
คณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2554). แนวทางการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาตามกฎกระทรวงว่าด้วยระบบหลักเกณฑ์และวิธีการประกันคุณภาพการศึกษา พ.ศ.2553. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
จันทร เพชรบูรณ์. (2556). กลยุทธ์การพัฒนาระบบประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากำแพงเพชร เขต1 และเขต 2. วารสารศึกษาศาสตร์มหาวิทยาลัยนเรศวร, 15(1), 70-74.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
บุญศรี มณีมาส. (2556). การดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพภายในเพื่อรองรับการประเมินคุณภาพ
ภายนอกรอบสามของสถานศึกษาเอกชน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.

ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
วิเชียร จันทวิเศษ. (2553). สภาพและปัญหาการประกันคุณภาพการศึกษาภายในโรงเรียนระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาจังหวัดสระแก้ว. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
ศึกษาธิการ, กระทรวง. (2554). แนวทางการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกัน
คุณภาพภายในของสถานศึกษา. สำนักงานพระพุทธศาสนาแห่งชาติ.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์การมหาชน). (2555). คู่มือการประเมินคุณภาพ
ภายนอกรอบสาม (พ.ศ.2554-2558) ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานฉบับสถานศึกษา (แก้ไขเพิ่มเติม พฤศจิกายน 2554). สมุทรปราการ: ออฟเซ็ทพลัส จำกัด.
องค์การ วงค์เรือง. (2553). การศึกษาสภาพการดำเนินงานการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียน
ขนาดเล็กสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาน่าน เขต 2. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุตรดิตถ์.
อัคคพัฒน์ อุดมพัฒน์. (2554). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาฉะเชิงเทรา เขต1. (งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์.
อังคณา สุขผล. (2554). การดำเนินงานประกันคุณภาพภายในสถานศึกษาของโรงเรียนเอกชนจังหวัดราชบุรี.
(การค้นคว้าอิสระครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
Krejcie, R.V. and morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.
Education and Psychological Measurement.