การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร A Study of Relationship between School Administrators and Student Care Sy

Main Article Content

อาริษา วัฒนครใหญ่
รองศาสตราจารย์ ดร.ชูศักดิ์ เอกเพชร
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัฎจรี เจริญสุข

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา 2)ศึกษาการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 278 คนได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลากใช้แบบสอบถามด้านคุณลักษณะของผู้บริหารที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.93 และแบบสอบถามด้านการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาที่มีค่าความเชื่อมั่น 0.95 รวมค่าความเชื่อมั่นแบบสอบถามทั้งฉบับเท่ากับ 0.92 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


           ผลการวิจัยพบว่า 1)คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการสร้างแรงจูงใจ ด้านการติดต่อสื่อสาร ด้านการมีภาวะผู้นำ และด้านการตัดสินใจ 2)การบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับดังนี้ ด้านการเตรียมการและวางแผนดำเนินงาน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการนิเทศ กำกับ ติดตาม และด้านการประเมินผล 3)ความสัมพันธ์ระหว่างคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร พบว่ามีค่าความสัมพันธ์ (r) อยู่ระหว่าง .56 - .71 และคุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษากับการบริหารจัดการระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียนของสถานศึกษาอยู่ในระดับสูง (r = .73**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01


           The objectives of this research were: 1)to study of relationship between school administrators characteristics; 2)to study student care system management in schools; 3)to studyrelationship between school administrators characteristics and student care system management in schools under Secondary Educational Service Area Office 11 Chumphon. The sample were 278 teachers by sample random sampling. Data were collected by administrators school characteristics of 0.93 data were collected by study student care system management in schools of 0.95 data were collected by questionnaire with reliability index of 0.92.and analyzed by mean, using standard deviation and the correlation coefficient of Pearson.


           The result showed that 1)the school administrators relationship were at high level in overall and each dimension: motivation, communications, the leadership, and decision. 2)The student care system management in schools were at high level in overall and each dimension: preparation and planning, plan implementation, supervision control and monitoring, and assessment. 3)The relationship between school administrators characteristics and student care system management in schools under Secondary Educational Service Area Office 11 Chumphon were at high level (r = .73) at statistically significant level of 0.01.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์ และกัลยกร ภิญโญ. (2558, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินผลการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
กรมสุขภาพจิต. (2550). คู่มือการบริหารระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนช่วงชั้นที่ 1 - 2 (ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6).
กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การสงเคราะห์ทหารผ่านศึก.
กวี วงศ์พุฒ. (2550). ภาวะผู้นำ. กรุงเทพมหานคร: สถาบันพัฒนาวิสัยทัศน์นักบริหาร.
ชิสา เพตาเสน. (2557). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษาตามความต้องการของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2. (ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์
ธานี, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเป็นมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา. (พิมพ์ครั้งที่ 4).
กรุงเทพมหานคร: ข้าวฟ่าง.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
บวร เทศารินทร์. (2556). คุณลักษณะของผู้บริหารสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: ปัญญาชน.
ไพฑูรย์ ศรีวะสุทธิ์. (2555). การบริหารจัดการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐานอำเภอท่าแซะ
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 1. (ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
ไพบูลย์ จำปาปั่น. (2555). คุณลักษณะความเป็นมืออาชีพของผู้บริหารสถานศึกษาตามความคิดเห็นของผู้บริหาร
สถานศึกษาและข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
สุดา หมื่นจง. (2554). คุณลักษณะของผู้บริหารโรงเรียนตามความคิดเห็นของครูผู้สอนโรงเรียนประถมศึกษา
อำเภอเบตง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหา
บัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). ยุทธศาสตร์และแนวทางการดำเนินงานระบบดูแล
ช่วยเหลือนักเรียนในสถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์.
อ้อย สงึมรัมย์. (2554). รูปแบบการพัฒนาพฤติกรรมภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารโรงเรียนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาในจังหวัดนครราชสีมา. (วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราช
ภัฏนครราชสีมา, สาขาภาวะผู้นำทางการบริหารการศึกษา.
Thomas. (2012). Conflict Mode Interest. New York: X/COM Incoporated.