ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 Leadership of School Administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2

Main Article Content

ณรงค์ศักดิ์ กำเนิดทอง
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.วีระยุทธ ชาตะกาญจน์
ดร. ธีระพงษ์ สมเขาใหญ่

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1)เพื่อศึกษาภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2  และ 2)เพื่อเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์การสอน และขนาดโรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือครูโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 จำนวน 320 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางสำเร็จรูปของเครจซี่และมอร์แกน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น และวิธีการสุ่มอย่างง่ายเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามชนิดสำรวจรายการและมาตราส่วนประมาณค่า สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่า t–test วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และเปรียบเทียบรายคู่ตามวิธีการของ LSD (Least Significant Difference)


       ผลการวิจัยพบว่า 1)ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 อยู่ในระดับมากทั้งโดยรวมและรายด้าน 2)ผลการเปรียบเทียบภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2 ตามความคิดเห็นของครู จำแนกตามวุฒิการศึกษา พบว่าไม่แตกต่างกันเมื่อจำแนกตามประสบการณ์การสอนและจำแนกตามขนาดโรงเรียน พบว่าแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 


The purpose of this research were : 1)to investigate the leadership of school administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2 2) to compare means of leadership of school administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2 as perceived by teachers among Educational Backgrounds, working experiences, school sizes.


            The samples of this study consisted of 302 teachers from schools the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 2, selected by using the table of Krejcie& Morgan, and stratified random sampling.The research instrument was a questionnaire.The statistics used to analyze the collected data were percentage, mean, and standard deviation.The hypotheses were tested by independent samples t-test, One-Way ANOVA and   the comparison between each pair of sample was done by LSD method.


                The findings of this research were as follows:


  1. The leadership of school Administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Areas 2, as whole showed that all the leadership were in high level.    

  2. The comparative analysis between the opinions of teachers about the leadership of school Administrators under the office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Areas 2 divided by level of education showed that there was no significant difference, divided by teaching experience and divided by size of the school were significantly different at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2549). รวมกฎหมาย กฎ ระเบียบ การบริหารงานบุคคลด้านกฎหมายของข้าราชการครู
และบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภาลาดพร้าว.
กฤติยา จันทรเสนา. (2556). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำกับองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครปฐม เขต 1. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
กัลยา อินทรีย์. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
จารุวรรณ กึกก้อง. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาในโรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัด
มหาสารคาม. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม.
จิดาภา เทียนคำ. (2556). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษากับมาตรฐานการอาชีวศึกษา สังกัดสำนักงาน
คณะกรรมการการอาชีวศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
ตะวันฉาย โกทัน. (2555). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา สังกัด
สำนักงานเขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
ประทีป นิ่มมาก. (2556). การศึกษาภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารโรงเรียนมัธยมศึกษาในจังหวัดตราด สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 17. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัย
บูรพา.
ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร. (2557). การสังเกต 360 องศาเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(1).
ภัสรา ชูเสน. (2558). ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 4. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 8(1), 69–76.
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 2. (2558) . รายงานผลการประเมินคุณภาพ
การศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2558. นครศรีธรรมราช: สำนักงานฯ.
. (2559). แผนปฏิบัติการประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2559. นครศรีธรรมราช: สำนักงานฯ.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2550). แนวทางการกระจายอำนาจการบริหารและการจัด
การศึกษาให้คณะกรรมการ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและสถานศึกษา ตามกฎกระทรวง กำหนด
หลักเกณฑ์ และวิธีการกระจายอำนาจการบริหารและการจัดการศึกษา พ.ศ. 2550. กรุงเทพมหานคร:
สำนักงานฯ.
. (2559). คู่มือการประเมินคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานเพื่อการประกันคุณภาพภายใน
สถานศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานพระพุทธศาสนา.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). 2555. คู่มือการประเมินคุณภาพ
ภายนอกรอบสาม (พ.ศ. 2554-2558). (พิมพ์ครั้งที่ 4). กรุงเทพมหานคร: บริษัทออฟเซ็ทพลัส จำกัด.
สำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา (องค์กรมหาชน). (2557). คู่มือการประเมินคุณภาพ
ภายนอกรอบสาม. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานฯ.
สุภินทรานรสิงห์. (2556). การศึกษา:ไทยรั้งท้ายอาเซียนในมติชนสุดสัปดาห์, 21 เมษายน 2559.
http://.www.matichon.com.
สุลาวรรณ คงถาวร. (2556). ภาวะผู้นำเหนือผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษา อำเภอบางละมุง สังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาปฐมศึกษาชลบุรี เขต 3. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา.
อัจฉรา โพธิ์อ้น. (2558). ภาวะผู้นำของผู้บริหารสถานศึกษาตามทัศนะของผู้บริหารและครูผู้สอนสังกัดสำนักงาน
เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสิงห์บุรี. วารสารวิชาการมหาวิทยาลัยกรุงเทพธนบุรี, 4(1), 143–149.
Manz and Sims, 1991. Superleadership Leading Others to Lead Themselves. New York:
Prentice Hall Press.