ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการบริหารตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช Parents’ Expectation on Administration Standard of Child Development Center in Nopphitam Administration Organizat

Main Article Content

พิสมร อุปลา
ดร. อรุณ จุติผล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สำเริง จันชุม

Abstract

         การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการบริหารตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอนบพิตำจังหวัดนครศรีธรรมราช จำแนกตามอายุ รายได้ของครอบครัว/เดือน ระดับการศึกษา และอาชีพของผู้ปกครอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ศึกษา คือผู้ปกครองที่ส่งเด็กเข้าเรียนที่ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลในเขตอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 8 แห่ง รวมกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 265 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถามวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปสถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าที (t-test) และค่าเอฟ (F-test) วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One–Way ANOVA)


         ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการบริหารตามมาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบล ในเขตอำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่าด้านอาคาร สถานที่ สิ่งแวดล้อม และความปลอดภัยมีค่าเฉลี่ยมากที่สุดรองลงมา คือด้านการบริหารจัดการศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ด้านวิชาการและกิจกรรมตามหลักสูตร ด้านบุคลากร ด้านส่งเสริมเครือข่ายการพัฒนาเด็กปฐมวัย และด้านการมีส่วนร่วมและสนับสนุนจากทุกภาคส่วนมีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด

  2. ผลการเปรียบเทียบความคาดหวังของผู้ปกครอง จำแนกตามอายุ และรายได้ของครอบครัว โดยรวมพบว่า ผู้ปกครองมีความคาดหวังไม่แตกต่างกัน เมื่อจำแนกตามระดับการศึกษาโดยรวมพบว่าผู้ปกครองมีความคาดหวังแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

        This study aimed to study and compare parents’ expectation on administration standard of Child Development Center in Nopphitam Administration Organizations, Nakhon Si Thammarat Province. The 265 samples consisted of parents, classified by age, monthly-income, educational level and occupations. The research instruments are questionnaires. The statistical analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test, F-test and one way ANOVA.


The research found that:


1) The overall of parents’ expectation on administration standard of Child Development Center are in high level. The consequences are building and location, environment and safety, child development center administrative, academic and curriculum, personnel, networking and participation and supporting.


2) The comparisons of parents’ expectation on administration standard classified by age and monthly-income found with no statistical different, when classified by educational level found difference with statistical significant level at .05.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น กระทรวงมหาดไทย. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. กรุงเทพมหานคร: กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น.
กานต์จิราห์ โพธิสาร. (2557). ความคาดหวังของผู้ปกครองต่อการบริหารการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตอำเภอขุนหาญ จังหวัดศรีสะเกษ. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏศรีสะเกษ.
ทัศนีย์ กำเนิดสิงห์. (2555). การศึกษาสภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงาน
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก เทศบาลตำบลเขาชีจรรย์อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษา
มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์.
นิตยา สุราทิพย์. (2553). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยขององค์การ
บริหารส่วนตำบลบุ่งแก้วอำเภอโนนสะอาดจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ประยงค์ ดอกไม้. (2556). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนต่อการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของศูนย์พัฒนา
เด็กเล็ก สังกัดเทศบาลเมืองมาบตะพุด จังหวัดระยอง. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร:
เฮ้าส์ออฟเคอร์มิสท์.
รัชฎาภรณ์ ทีปสว่าง. (2553). ความคาดหวังของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาระดับปฐมวัยของตำบลโนนทอง
อำเภอบ้านผือจังหวัดอุดรธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542. เล่ม116 ตอนที่ 74 ก
วันที่ 19 สิงหาคม 2542. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา.
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
วรรณพร คงตระกูล. (2555). สภาพที่เป็นจริงและความคาดหวังของผู้ปกครองที่มีต่อการดำเนินงานศูนย์
พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในเขตตำบลบางเสร่ อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี.
(วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์.


วรดี เลิศไกร, จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม–มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของ
เล่นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลันราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2547). คู่มือหลักสูตรการศึกษาปฐมวัย พุทธศักราช 2546
(สำหรับเด็กอายุ 3 -5 ปี). กระทรวงศึกษาธิการ. กรุงเทพมหานคร: โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา. (2550). นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาเด็กปฐมวัย (0-5 ปี) ระยะ
ยาว พ.ศ.2550–2559. กรุงเทพมหานคร: ห้างหุ้นส่วนจำกัด วี.ที.วี. คอมมิวนิเคชั่น.
. (2553). แผนการศึกษาแห่งชาติ ฉบับปรับปรุง (พ.ศ. 2552-2559):ฉบับสรุป. กรุงเทพมหานคร: พริก
หวานกราฟฟิค จำกัด.
สุดาพร พัฒนงาม. (2555). ความคาดหวังของผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อการจัดการศึกษาปฐมวัยของโรงเรียน
เทศบาลแหลมบัง1 ตำบลทุ่งสุขลา อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยบูรพา, คณะศึกษาศาสตร์.
Krejcie,R. V.& Morgan, D. W..(1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement.