การศึกษาความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 A Study of Stress in Working of School Administrators under the Secondary Educational Service Area Office 11
Main Article Content
Abstract
จากการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบระดับความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา และแนวทางการจัดการความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 108 คน โดยสุ่มตัวอย่างแบบง่าย ในการศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดได้เลือกตัวอย่างแบบเจาะจงจากผู้บริหารสถานศึกษาที่มีผลงาน และประสบการณ์ตามเกณฑ์ที่กำหนด จำนวน 5 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยมีค่าความเชื่อมั่น 0.981 และแบบสัมภาษณ์แบบไม่มีโครงสร้างที่ใช้ในการสัมภาษณ์เชิงลึก การวิเคราะห์ข้อมูลสถิติทดสอบ ได้แก่ t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว และวิเคราะห์ข้อมูลจากการสัมภาษณ์โดยการวิเคราะห์เนื้อหา
ผลจากการวิจัย พบว่า ระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาโดยรวมและ รายด้านอยู่ในระดับปานกลางทุกด้านโดยเรียงลำดับจากมากไปหาน้อย คือ ด้านลักษณะงาน ด้านความก้าวหน้าในวิชาชีพ ด้านบทบาทหน้าที่ ด้านสัมพันธภาพกับบุคคลอื่นในการปฏิบัติงาน ด้านโครงสร้างและบรรยากาศขององค์กร ตามลำดับ ผลการเปรียบเทียบระดับความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารจำแนกตามเพศ ไม่แตกต่างกัน ส่วนจำแนกตามอายุ ประสบการณ์ในการบริหาร และขนาดของสถานศึกษาที่ปฏิบัติงาน พบว่า แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการศึกษาแนวทางการจัดการความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษา พบว่าต้องมีการวางแผนงานให้ชัดเจน กำหนดบทบาทหน้าที่ของบุคคลให้เหมาะสมโดยเน้นการทำงานแบบมีส่วนร่วม สร้างสัมพันธภาพระหว่างบุคลากรทุกระดับในการปฏิบัติงาน กำหนดเส้นทางความก้าวหน้าในวิชาชีพให้ชัดเจน จัดโครงสร้างและบรรยากาศในสถานศึกษาให้เอื้อต่อการปฏิบัติงาน สร้างวัฒนธรรมการเป็นแบบอย่างที่ดีในการปฏิบัติงาน
This research aims to study and compare stress in working of school administrators under The Secondary Educational Service Area Office 11. The sample were 108 administrators under The Secondary Educational Service Area Office 11, by simple random sampling. The instrument were questionnaire and question for indepth interviewsThe index of questionnaires’ reliability was 0.98. The statistics used for data analyzed were t-test, One - Way ANOVA.
The research results found that the level of stress in working of school administrators in overall and individual aspect were at a middle level, in descending order ; the job description, the carrier-path, role in position, the relationship with others and structure and organization climate. The comparison of stress in working of school administrators who are different in sex showed no difference but in case of age, work experience and school - size where they work showed different at statistical level of .05. The ways for managing of stress in working of school administrators are the specific of planning, the role fixed for right person by participation in working, the relationship with all level, the carrer-path, the structure and organization climate that support working and the good culture in working.
Article Details
References
กิติพร โคตรตะ. (2557). ศึกษาความเครียดในการปฏิบัติงานของบุคลากรทางการศึกษาสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, สาขาการบริหารการศึกษา.
จอมพงศ์ มงคลวนิช. (2555). การบริหารองค์การและบุคลากรทางการศึกษา. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ชานนทร์ มุ่งเขตกลาง. (2557). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 25. วารสารศึกษาศาสตร์ฉบับวิจัยบัณฑิตศึกษา มหาวิทยาลัยขอนแก่น. 8(4).
ธนานัด ประทุม. (2556). สาเหตุความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนอร์ทกรุงเทพ, สาขาการบริหารการศึกษา
ธนดล หาญอมรเศรษฐ. (2555). คู่มือตรวจสอบประสิทธิภาพการบริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: ไอดีซี พรีเมียร์.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ปวิตรา ลาภละมูล. (2557). ความเครียดในองค์กรที่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงาน บริษัท ไอ.เทค.คอมมูนิเคชั่น จำกัด. (สารนิพนธ์บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาการจัดการ.
พนิตา ภักดี. (2551). การบิดขี้เกียจในช่วงพักที่มีผลต่อความเมื่อยล้า ความเครียดในการทำงานและผลการ
ปฏิบัติงานของครู. (วิทยานิพนธ์ศิลปะศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระ
นครเหนือ, สาขาจิตวิทยาอุตสาหกรรมและองค์การ.
พิสณุ ฟองศรี. (2552). วิจัยทางการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: พรอพเพอร์ตี้พริ้น.
รัตนาภรณ์ ปะนามะทัง. (2559). สาเหตุของความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 32. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎบุรีรัมย์, สาขาการบริหารการศึกษา.
วนิดา อ่อนชุม. (2556). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความเครียดในการปฏิบัติงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฏร์ธานีเขต 3. (ภาคนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
วรรณิศา สระทองยอด. (2556). การศึกษาความเครียดในการปฏิบัติงานของครูในโรงเรียนบ้านมาบตาพุด สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาระยอง เขต 1. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต).มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาการบริหารการศึกษา.
วิเชียร มันแหละ. (2559, มกราคม–มิถุนายน). แนวทางการพัฒนาเครือข่ายครูบรรณารักษ์เพื่อพัฒนาการเรียนรู้
ด้วยตนเองของนักเรียนในจังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลันราชภัฏ
นครศรีธรรมราช. 8(1).
สัญญา ลิธรรมา. (2554). ระดับภาวะความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาหนองคาย เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม, สาขาการบริหารการศึกษา.
สุดแสง หมื่นราม. (2554). ปัจจัยที่ทำให้เกิดความเครียดของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรีเขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏราชนครินทร์.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11. (2558). รายงานผลการจัดการศึกษาปีการศึกษา 2558. (เอกสารอัดสำเนา).
อุดมลักษณ์ เมฆาวณิชย์. (2556). ความเครียดของข้าราชการครูในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชลบุรี เขต 2 (กลุ่มอำเภอพนัสนิคม). (ปริญญารัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน.
Cooper, C. L. & S. Cartwright. (1994). Stress Management Interventions in The Workplace: Stress Counseling and Stress Audits. British Journal of Guidance and Counseling. 65-73.
Cooper, C. L. & Straw, Alison. (1993). Successful stress management in a week. London: Headway. Hodder & Stoughton.
Cooper, C. L. Dewe, Philip J. & O’Driscoll, Michael P. (2001). OrganizationalStress. Thousand Oaks, California: Sage.
Hellriegel, John W. Slocum, Richard W. Woodman. (1998). Organizational behavior. South-Western College Pub.
Robbin, Stephen P. and Judge, Tim (2013). Organization behavior. Upper Saddle River, New Jersey: Pearson.
Taylor, S.E. (1986). Health Psychology. New York: Random House.