การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราช Parental Involvement of Educational Resource Management of Krungching Child Development Center, Noppitham Dist
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์การบริหารส่วนตำบลกรุงชิง อำเภอนบพิตำ จังหวัดนครศรีธรรมราชกลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษานี้คือ ผู้ปกครองนักเรียนศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำนวน 148 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลได้แก่ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าทดสอบเอฟ (F-test)
ผลการวิจัยพบว่า 1.การมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก โดยรวมอยู่ในระดับมากเมื่อจำแนกรายด้าน พบว่า ด้านการบริหารทรัพยากรอาคารสถานที่ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการบริหารทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ ด้านการบริหารทรัพยากรงบประมาณ และด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด 2.ผลการเปรียบเทียบการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษา พบว่า 1)ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามอายุ โดยรวมมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล ด้านการบริหารทรัพยากรงบประมาณ และด้านการบริหารทรัพยากรวัสดุ อุปกรณ์ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนด้านการบริหารทรัพยากรอาคารสถานที่ ไม่แตกต่างกัน 2)ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามรายได้เฉลี่ยต่อเดือน โดยรวมมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 3)ระดับการมีส่วนร่วมในการบริหารทรัพยากรทางการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก จำแนกตามระดับการศึกษาสูงสุดโดยรวมมีส่วนร่วมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
The objectives of this research were to study and compare the parental involvement of educational resource management of Krungching Child Development Center, Nopphitam District, Nakhon Si Thammarat. The 148 samples consisted of parents and classified by age, monthly-income and education level. The research instruments are questionnaires. The statistical analyzed by percentage, mean, standard deviation and F- test values.
Research result
1) The overall of parents’ participation in educational resource management are in high level, when considering in each aspect found that building resource management are in the highest level, followed by material resources management, budget resources management and human resources management consequences.
2) The comparisons of parents’ participation in educational resource management classified by age found with statistically significantly different at the .05 level, while building resources found with no different. When classified by monthly-income and education level found with statistically significantly different at the .05 level.
Article Details
References
ทอฝัน บุญเพ็ง. (2557). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก สังกัดองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขตจังหวัดยโสธร. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎอุบลราชธานี, คณะครุศาสตร์.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบวิธีวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ออฟ เคอร์มิส.
เยาวรัตน์ บุญยงค์. (2554). การมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการจัดการศึกษาของศูนย์พัฒนาเด็กเล็กในเขตพื้นที่เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต, คณะศึกษาศาสตร์.
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(1).
สุจิตตรา วรรณประภา. (2553). ความคิดเห็นของผู้ปกครองต่อการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์การบริหารส่วนตำบลยอดแกง อำเภอนามล จังหวัดกาฬสินธุ์. (การศึกษาอิสระรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฎมหาสารคาม, บัณฑิตวิทยาลัย.
สุขพรรษา พะโรงรัม. (2556). การมีส่วนร่วมในการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กสังกัดองการบริหารส่วนตำบลเมืองเก่า อำเภอกบินทร์บุรี จังหวัดปราจีนบุรี. (งานนิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาบริหารการศึกษา.
สัมฤทธิ์ ยศสมศักดิ์. (2549). การบริหารทรัพยากรมนุษย์:หลักการและแนวคิด. กรุงเทพมหานคร: เอ็ม.ที.เพรส.
สายทอง บุญครองศิลป์. (2555). ศึกษาการมีส่วนร่วมของผู้ปกครองในการบริหารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ในสังกัด
เทศบาลตำบลขามใหญ่ อำเภอเมืองอุบลราชธานี จังหวัดอุบลราชธานี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี, คณะครุศาสตร์.
ส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น, กรม. (2553). มาตรฐานการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น. (ม.ป.ท.).
อนามัยสิ่งแวดล้อม.สำนัก. (2553). คู่มือการดำเนินงานศูนย์พัฒนาเด็กเล็กน่าอยู่. พิมพ์ครั้งที่ 5. (ม.ป.ท.).
Krejcie, R.V. and morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities. Education and Psychological Measurement.