ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 Factors Affecting Learning Organization in the 21st Century for Benjaburapha Subarea Teachers Under the Jurisdiction of the Secon
Main Article Content
Abstract
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสหสัมพันธ์ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู (2) ศึกษาการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู (3) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู และ (4) สร้างสมการพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู ประชากร ได้แก่ ครูในสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ปีการศึกษา 2559 จำนวน 5 โรงเรียน จำนวนครู 592 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย จำนวน 3 โรงเรียน จำนวนครู 250 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูล คือ แบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามการพัฒนาวิชาชีพของครู ความพร้อมของนักเรียนการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยผู้บริหาร และการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครู เท่ากับ .81, .91, .94 และ .96 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ ผลการวิจัยพบว่า
- ปัจจัยที่ส่งผลต่อการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 ได้แก่ อายุ มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 85 ปี ประสบการณ์การสอน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 9.38 ปี ภาระงานสอนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 17.50 คาบต่อสัปดาห์ การพัฒนาวิชาชีพของครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.22 อยู่ในระดับมาก ความพร้อมของนักเรียน มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.81 อยู่ในระดับมาก และการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยผู้บริหาร มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95 อยู่ในระดับมาก
- การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูสหวิทยาเขตเบญจบูรพา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2 พบว่า มีการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 อยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.03
- ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูพบว่า ปัจจัยอายุประสบการณ์การสอน การพัฒนาวิชาชีพของครู ความพร้อมของนักเรียน และการส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยผู้บริหาร มีความสัมพันธ์กับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
- ปัจจัยที่สามารถพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 คือ การส่งเสริมการจัดการเรียนรู้ของครูโดยผู้บริหาร (X6) การพัฒนาวิชาชีพของครู (X4) และความพร้อมของนักเรียน (X5) โดยค่าสัมประสิทธิ์ การถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (b) เท่ากับ .360, .219, และ .090 ตามลำดับ และมีค่าคงที่ (Constant ) เท่ากับ 340 ค่าสัมประสิทธิ์การถดถอยของตัวแปรพยากรณ์ ในรูปคะแนนมาตรฐาน (b) เท่ากับ .440, .231, และ .131 ตามลำดับ ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์พหุคูณ (R) เท่ากับ .657 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การพยากรณ์ (R2) เท่ากับ .431 ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์การพยากรณ์ปรับปรุง (R2adj) เท่ากับ .424 และมีประสิทธิภาพในการพยากรณ์การจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของครูได้ร้อยละ 42.40 โดยสามารถเขียนเป็นสมการพยากรณ์ได้ดังนี้
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ (Y¢)
Y´ = 1.340 + .360X6 + .219X4 + .090X5
สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน (Z´Y)
Z´Y = .440 + .231 + .131
In this correlational research investigation, the researcher examines (1) factors exerting effects on learning organization in the 21st century for teachers. The researcher also investigates (2) learning organization for 21st century teachers. Moreover, the researcher studies (3) the relationships between the aforementioned factors and learning organization in the 21st century for teachers. Furthermore, finally, the researcher frames (4) a predictive equation governing learning organization for 21st century teachers.
The research population consisted of 592 teachers from five schools in the Benjaburapha subarea under the jurisdiction of the Secondary Educational Service Area Office Two, all of whom were teaching in the academic year 2016. Using the multistage sampling method, the researcher selected a sample population consisting of 250 teachers from three schools.
The research instrument used to collect data was a quadripartite questionnaire. The four component parts involved eliciting data concerning teacher professional development, student readiness, the promotion of learning organization for teachers by administrators, and learning organization in the 21st century, respectively. The reliability levels of the four component parts were 0.81, 0.91, 0.94, and 0.96, respectively.
Using techniques of descriptive statistics, the data collected were analyzed in terms of mean (M) and standard deviation (SD). Moreover, the researcher employed Pearson’s product-moment correlation coefficient (PPMCC) method and multiple regression analysis.
Findings are as follows:
- The teachers under study showed a mean (M) age of 35.85 years concomitant with a M teaching experience of 9.38 years, and a M teaching load of 17.50 periods weekly. They evinced professional development at a high level. Student readiness was also exhibited at a high level. The promotion of learning organization for teachers by administrators was additionally displayed at a high level.
- The teachers under investigation manifested learning organization in the 21st century at a high level.
- Insofar as concerns the relationships between factors and learning organization in the 21st century for teachers, the following results were found:
The factors of age, teaching experience, professional development, student readiness, and promotion of learning organization for teachers by administrators were correlated with learning organization in the 21st century for teachers at the statistically significant level of .05.
- Factors predictive of learning organization in the 21st century for teachers at the statistically significant level of .05 were as follows: the promotion of learning organization for teachers by administrators (X6), professional development (X4), and student readiness (X5). The regression coefficients for the predictive variables in the form of raw score (b) were 0.360, 0.219, and .090, respectively. The constant was 1.340. The regression coefficients for predictive variables in the form of standard score (β) were 0.440, 0.231, and 0.131, respectively. The multiple correlation coefficient (R) was at 0.657. The predictive correlation coefficient (R2) was at 0.431. The adjusted predictive correlation coefficient (R2adj) was at 0.424. The predictive efficiency of learning organization in the 21st century for teachers was at 42.40 percent.
Accordingly, predictive equations can be written in raw score and standard score forms after the following fashion:
The predictive equation in raw score form (Y´)
Y´ = 1.340 + .360X6 + .219X4 + .090X5
The predictive equation in standard score form (Z´y)
Z´Y = .440 + .231 + .131
Article Details
References
ชุติมา เทพสวัสดิ์. (2556). ความพร้อมด้านกระบวนการจัดการเรียนรู้สู่ประชาคมอาเซียนของครูกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ โรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 8 จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง.
นิตยา ร่มโพธิ์รี. (2552). ปัจจัยที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลสถาบันการศึกษาเอกชน ในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล. (วิทยานิพนธ์ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
บริษัท แม็คเอ็ดดูเคชั่น จำกัด. (2558). ครูอาชีวะแห่งศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: แปลนพริ้นท์ติ้งจำกัด.
พรทิพย์ เอี่ยมประเสริฐ. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อสมรรถนะในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของครูปฐมวัย สังกัดสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการศึกษาเอกชน กรุงเทพมหานคร. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
พูนสุข อุดม. (2556). การวิเคราะห์ปัจจัยเชิงสาเหตุและผลกระทบต่อการพัฒนาสมรรถนะของครูในภาคใต้ตามเกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพด้านกระบวนการพัฒนาการจัดการเรียน. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยทักษิณ.
วิจารณ์ พานิช. (2556). การสร้างการเรียนรู้สู่ศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสยามกัมมาจล.
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(1).
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะผู้เรียน. กรุงเทพมหานคร: 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุวรรณี ยหะกร. (2558). ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการจัดการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของสถานศึกษา. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน, สำนักบริหารงานการมัธยมศึกษาตอนปลาย. (2558). แนวทางการจัดทักษะการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ที่เน้นสมรรถนะสาขาวิชาชีพ. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
Eun, S. (2002). Contextual Autonomy in EFL Classrooms: A Critical Review of English Teaching Methods in South Korea. Dissertation Abstracts International. 62(11): 3666-A.
Kaplan, L. S.; & Owings, W. A. (2001). Teacher quality and student achievement: Recommendations for principals. NASSP Bulletin, 85(628), 64-73.
Moore, F. L. (2004). Perspective on the Critical Factors for Student Success in Developmental Education: Instructors and Student Speak. Dissertation Abstracts International. 65(3): 809–A.