รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านสำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ระดับมัธยมศึกษา The Flipped Classroom Model For Geographical Methods Operation in Secondary Education
Main Article Content
Abstract
การวิจัยเรื่อง รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา มีวัตถุประสงค์ 1.เพื่อศึกษาปัญหาการจัดการเรียนรู้ในวิชาภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา 2.เพื่อพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา 3.เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้าน สำหรับการปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา ประชากรและกลุ่มตัวอย่างคือ โรงเรียนท่าศาลาประสิทธิ์ศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา 45 คน นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/6 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3/10 จำนวน 35 คน รวม 65 คน ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจงเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าดัชนีความสอดคล้องค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก ค่าประสิทธิภาพ E1/E2 ผลการวิจัยพบว่า
1) ปัญหาการจัดการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษา โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ปัญหา ด้านสื่อในการจัดการเรียนรู้ / แหล่งเรียนรู้ และการเสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ในโรงเรียน โดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญเป็นปัญหาระดับมากที่สุด ส่วนปัญหาอื่นๆ คือครูผู้สอนยังใช้วิธีการสอนแบบรรยาย ปัญหาด้านสื่อการจัดการเรียนรู้ด้วยบรรยากาศห้องเรียนที่ยังขาดสื่อการเรียนรู้ที่ทันสมัย
2) ผลการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้ห้องเรียนกลับด้านสำหรับปฏิบัติการวิธีการทางภูมิศาสตร์ ระดับมัธยมศึกษามีองค์ประกอบคือแผนการจัดการเรียนรู้หน่วยการเรียนรู้ที่ 1 ประกอบด้วยแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1-4 แต่ละแผนมีองค์ประกอบ คือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาสาระ กิจกรรมการเรียนรู้ ประกอบด้วยขั้นนำ ขั้นสอนที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ครูมอบหมายงานให้ผู้เรียนปฏิบัติ แล้วนำข้อมูลมานำเสนออภิปรายในชั้นเรียน และสรุปกิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นสรุป สื่อ / แหล่งเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ทดสอบก่อนเรียน – หลังเรียน ผลการประเมินประสิทธิผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบห้องเรียนกลับด้านพบว่ามีผลการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังเรียน เพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 16.96 และมีผลคะแนนผลสัมฤทธิ์ ผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้ร้อยละ 70 ส่วนผลการประเมินทักษะ ตามวิธีการทางภูมิศาสตร์ที่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ให้ผู้เรียนลงภาคสนาม ทำให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจในเนื้อหา ลงมือปฏิบัติและนำเสนอข้อมูลได้อย่างมีประสิทธิผล
The purposes of this research were to 1) study problems of the flipped classroom model for geographical methods operation in secondary education. 2) to developed the flipped classroom model, and 3) to evaluated the effectiveness of the flipped classroom model. The research simple were 45 social science teachers, 5 professor san the experimental group comprised of 30 high school students of Room 3/6. A control group comprised 35 high school students of Room 3/10. The research instruments was a questionnaire. The statistics for data analysis were percentage, mean, standard deviation, IOC (Index of Item Objective Congruence), difficulty index, discrimination index, and E1/E2 efficiency index.
The findings were as follows:
1) The problems of geographical instruction in secondary education were at a high level. The problems of instructional media, learning resources and enhancement of the school environment with an emphasis on the student-centered idea were the highest. Other problems included teaching via lecture method, a lack of media, and a classroom setting without modern instructional media.
2) The results to develop the flipped classroom modendl were lesson plans a learning activities. Each lesson plan consisted of purposes, content,and learning activies. The evaluation of the effectiveness of the flipped classroom showed that post-test scores were increased at 5.09 (16.96 percent), and their achievement score was 25.77 out of 30, which attained the set criteria (70 percent). Moreover, according to the evaluation of skills gained via geographical methods with at-site learning opportunities and clear steps of measurement, the students understood the contents, worked, and presented the data effectively.
Article Details
References
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
ทิศนา แขมมณี. (2554). ศาสตร์การสอน : องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร. (2557). การสังเกต 360 องศาเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(1).
พระมหาเทพรัตน์ อริยว์โส, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). รูปแบบการจัดกิจกรรมบูรณา
การเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร
นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการและพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา สอวน. (2557). ภูมิศาสตร์เทคนิค. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิ สอวน.
ลัดดา จิตต์ต่างวงศ์. (2551). เทคนิคและวิธีการทางภูมิศาสตร์. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช.
วิจารณ์ พานิช. (2556). ครูเพื่อศิษย์สร้างห้องเรียนกลับทาง. มูลนิธิสยามกัมมาจล. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพมหานคร.
สุภาพร สุบนิด. (2556). การเปรียบเทียบความรับผิดชอบต่อการเรียน เจตคติต่อการเรียน และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดห้องเรียนกลับทาง (Flipped Classroom) และการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบปกติ. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาสารคาม, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิจัยและประเมินผลการศึกษา.
อรวรรณ แซ่อึ่ง, หัสชัย สิทธิรักษ์, ลัญจกร นิลกาญจน์ (2559, มกราคม–มิถุนายน). การถอดบทเรียนการ
ผลิตไบโอดีเซลล์จากน้ำมันพืช โรงเรียนบางขันวิทยา อำเภอบางขัน จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
อรรถกร เกสรแก้ว. (2550). สภาพและปัญหาการเรียนการสอนวิชาสังคมศึกษาในโครงการจัดการเรียนการสอนตามหลักสูตรกระทรวงศึกษาธิการเป็นภาษาอังกฤษ : การศึกษาโรงเรียนขอนแก่นวิทยายน. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยขอนแก่น, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาสังคมศึกษา.
Briggs,A.R.J.; Coleman,M. and Morrison M.E. (2012). Research methods in education leadership and management. California: SAGE.
Gillian Symon and Catherine Cassell. (2012). Qualitative Organizational Research–Core Methods and Current Challenges. California: Sage Publication Inc.