แนวทางฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร Trainingguidelines for Developing the Potential of Monks in Community Developmentlangsuan District, Chumphon Province

Main Article Content

พระครูปลัดธวัช ธวชฺโช ทองยอด
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุนทร พูนเอียด
ดร.จตุพล ชูจันทร์

Abstract

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนและกำหนดแนวทางฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยใช้แบบสัมภาษณ์ปลายเปิดแบบมีโครงสร้างและได้ตรวจสอบความเที่ยงของเครื่องมือแล้วเก็บข้อมูลจากประชากรที่เป็นเจ้าอาวาส ตัวแทนหรือผู้รักษาการแทนเจ้าอาวาสของวัดทั้งหมดในอำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร จำนวน 42 รูป การวิเคราะห์ข้อมูลใช้เทคนิคการวิเคราะห์เชิงเนื้อหาสรุปเป็นบทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนและนำข้อมูลที่ได้มากำหนดเป็นปัญหาและความจำเป็น กำหนดแนวทางฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร ตรวจสอบประเมินโครงร่าง แนวทางฯ โดยผู้รอบรู้เฉพาะทาง จำนวน 10 คน และใช้สถิติค่าดัชนี IOC พิจารณาความสอดคล้องของแนวทางฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน


                   ผลการศึกษาพบว่า พระสงฆ์มีความรู้ความเข้าใจเรื่อง ปัญหา สาเหตุ และแนวทางแก้ไขปัญหาป้องกันปัญหาสังคมในชุมชนมีความคาดหวังต่อบทบาทของพระสงฆ์ต่อการเป็นผู้นำในการพัฒนาชุมชน พระสงฆ์ต้องเข้ามีส่วนร่วมกับชุมชนในการพัฒนาชุมชน การทำหน้าที่ตามบทบาทของพระสงฆ์ในปัจจุบัน มีปัญหาด้านการปกครองสงฆ์ พระสงฆ์เอง การให้ความสำคัญต่อวัดและพระสงฆ์ของประชาชนและองค์กรภาครัฐ เอกชน มีน้อยและต้องการมีความรู้ความเข้าใจและทักษะในการพัฒนาชุมชน ได้นำข้อมูลที่พบนี้มาใช้กำหนดแนวทางฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพร โดยกำหนดแผนการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 4 เรื่องและผู้รอบรู้เฉพาะทาง (SMS) ตรวจสอบประเมิน พบว่ามีความสอดคล้องสามารถนำไปใช้เป็นแนวทางการฝึกอบรมการพัฒนาศักยภาพของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชน อำเภอหลังสวน จังหวัดชุมพรได้


                     


                           The research objectives are to study the role of Thai monks in establishing the training guidelines for the potential development, hence for thecommunity development within the area of Langsuan District, Chumphon Province. To achieve this end, the qualitative research approach is applied through employing forty-two structured interviews with representatives of all the temple abbots within the district area. Content analysis was used to synthesize data about the role of monks in relation to the community development. Research findings into the validity were considered to be vital, In terms of establishing the training guidelines for developing monks' potentials at the local level. The draft of guidelines outcomes was scrutinized by ten specialists. The IOC statistical Index was also used to determine the consistency of those outcomes


                            The results showed that the monks had an understanding of the problem causes and solutions in the social community. There are expectations on the monks, roles in having the leadership of the community development. However, the results indicate that their roles in the development remain the issues of the institution authority and some evidence reveal that their importance perceived by all stakeholders (e.g. local people, public, and private sectors) is law. Therefore, the monks must have an involvement and a cooperation with the community in the development process. In this respect, the contribution to knowledge made by this research could promote potential knowledge and skills for the community development. In particular, the finding could be used and applicable to establish  the training guidelines  in Langsuan District, Chumphon Province. The practical training guidelines in the four areas along with the SMS assessment revealed that this consistent guideline could be used as an action plan and presented as a useful model by which such research effort might guide for the monks, potential development in the community.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กาญจนา แก้วเทพและคณะ. (2551). การจัดการความรู้เบื้องต้นเรื่อง “การสื่อสารชุมชน”. สำนักงานกองทุน
สนับสนุนการวิจัย 2551 กรุงเทพมหานคร: พิมพลักษณ์.
ชุติมา สัจจาฉันท์. (2548). การสังเคราะห์งานวิจัยเรื่องรูปแบบยุทธศาสตร์และแนวทางการบูรณาการศาสนากับการศึกษาของวัดในพระพุทธศาสนา : กรณีการจัดการศึกษาตามอัธยาศัย. กรุงเทพมหานคร: สำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (ทุนอุดหนุนการวิจัยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา).
เชาวลักษณ์ วิชิตเชื้อ. (2558). การพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐาน อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาราชภัฎสุราษฎร์ธานี, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนา.
ธนสิทธิ์ เมืองแมน. (2558). การพัฒนาศักยภาพของประชาคมในการวางแผนพัฒนาเทศบาลตำบล
ทุ่งหลวง อำเภอเวียงสระ จังหวัดสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาราชภัฎสุราษฎร์ธานี, สาขาสังคมศาสตร์เพื่อการพัฒนาบัณฑิตวิทยาลัย.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พระมหาเทพรัตน์ อริยว์โส, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). รูปแบบการจัด
กิจกรรมบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พระครูณัญญาคุณญโญ (วิภาสุ). (2556). บทบาทการเผยแผ่พระพุทธศาสนาของพระสงฆ์ในอำเภอเมือง
จังหวัดฉะเชิงเทรา. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.
พระครูวิมลจินดากร (มาลัย อาทิจฺโจ). (2555). บทบาทของพระสงฆ์ในการพัฒนาชุมชนของอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.
พระครูสุจิณธรรมนิวิฐ (สมจิตร อธิปญฺโญ). (2554). บทบาทพระสงฆ์ในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของชุมชน : กรณีศึกษาคณะสงฆ์อำเภอลอง จังหวัดแพร่. (วิทยานิพนธ์พุทธศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาพระพุทธศาสนา.
พระครูปลัดสมชาย วรมุณี (แก้วโกมุท). (2556). ขบวนการสรรโวทัยกับการพัฒนามนุษย์สู่ความเป็นพลเมืองโลก. เข้าถึงได้จาก htpp://www.undv.org/vesak2013/ book/book2013.pdf.
พระมหากฤษฎา นันทเพชร. (2540). ทัศนคติของพระสงฆ์ต่อบทบาทการพัฒนาสังคม. (วิทยานิพนธ์พัฒนบริหารศาตรมหาบัณฑิต). สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์, สาขาพัฒนาสังคม.
พระราชเขมากร (ประยุทธ ภูริทตฺโต). (2556). การศึกษาบทบาทของพระสงฆ์ในการให้การศึกษาแก่ชุมชนใน
จังหวัดแพร่. กองวิชาการ สำนักงานอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย.
พระอธิการชรัตน์ อิตคโณ (มีแก้ว). (2554). บทบาทการบริหารกิจการคณะสงฆ์ของพระสังฆาธิการในอำเภอ
หัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์. (วิทยานิพนธ์ปริญญาพุทธศาตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยมหา
จุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขาวิชาการจัดการเชิงพุทธ.
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
วรพงษ์ แสนเมือง. (2546). การศึกษาสภาพปัจจุบันและปัญหาการดําเนินงานของวัดพัฒนาตัวอย่างในเขต
การศึกษา 11. (วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สิทธิพันธ์ พูนเอียด. (2555). วิจัยเรื่องการสร้างแผนพัฒนาศักยภาพในการปฏิบัติงานของคณะกรรมการ
ชุมชน กรณีศึกษา : เทศบาลนครสุราษฎร์ธานี. (วิทยานิพนธ์ปริญญาศิลปศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาราชภัฎสุราษฎร์ธานี, บัณฑิตวิทยาลัย. สาขารัฐประศาสนศาสตร์.
สุนทร พูนเอียด. (2552).การจัดการศึกอบรมและสัมมนา. สุราษฎร์ธานี ราชภัฏสุราษฎร์ธานี.
Biidle,Bruce J. (1979). Role Theory Expectation Identities and Behaviors. New York: John Hiley.
Getzel, Jaccob W. and G.W. Cubon. (1957). Socisl Behavior and the Administrative Process. Social Review.
Shaw, M.E. andJ.M. Wright. (1967). Scale for the Measurementof Attitude. NewYork: McGraw-Hill
Book Company.
Young Kimball and Raymond Mackw. (1959). Sociology andSocial Life. New York: American book
company.