การเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนหมู่บ้านคีรีวงจากการท่องเที่ยว Changes in The Way of Life and The Impact of Tourism on The Local Way of Kiriwong Life
Main Article Content
Abstract
การศึกษางานวิจัยเรื่องนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชุมชนที่เกิดจากการท่องเที่ยวและผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงของวิถีชีวิตชุมชนคีรีวง ในด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรมและด้านสภาพแวดล้อม โดยดำเนินการเก็บข้อมูลโดยการสังเกตแบบมีส่วนร่วมและการสัมภาษณ์ผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน สมาชิกองค์การบริหารส่วนตำบล ตัวแทนกลุ่มต่างๆในชุมชน ประชาชนในพื้นที่ชุมชนคีรีวง จำนวน 50 คน และมีการวิเคราะห์ข้อมูลสรุปผลการศึกษาและนำเสนอผลการศึกษาโดยการพรรณนา
ผลจากการวิจัย พบว่า ชุมชนคีรีวงในอดีตมีการการเปลี่ยนแปลงไปอย่างช้าๆ แต่เมื่อมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงในจังหวัดนครศรีธรรมราชในด้านการท่องเที่ยว ส่งผลให้ชุมชนมีการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตอย่างรวดเร็วมากในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา ชุมชนมีการประกอบอาชีพเพื่อการท่องเที่ยวมากขึ้น สร้างบ้านเรือนที่มีการตกแต่งและมีแบบที่ทันสมัยมากขึ้น การเกษตรมีการใช้เครื่องมือที่ทันสมัยและสารเคมีมากขึ้น สภาพทางเศรษฐกิจของชุมชนดีขึ้น มีลักษณะการกระจายรายได้เพิ่มขึ้น ภาระหนี้สินมีเพิ่มขึ้นเนื่องจากการลงทุนและผลิตสินค้าและบริการ มีการเปลี่ยนมือการถือครองที่ดินอย่างหลากหลายทั้งคนในและคนนอกพื้นที่ และเพื่อการประกอบธุรกิจในพื้นที่ ความสุขโดยภาพรวมของครอบครัวมีมากขึ้น คนในชุมชนให้ความสำคัญกับการศึกษาและบุตรหลานมีระดับการศึกษาสูงขึ้น ผลิตภัณฑ์ชุมชนมีหลายประเภท ความสัมพันธ์ของคนในชุมชนเป็นลักษณะห่างเหินมากกว่าในอดีต เนื่องจากการเป็นชุมชนท่องเที่ยว กิจกรรมที่คนมีร่วมกันในชุมชนจะเป็นงานบุญและงานเทศกาลเป็นหลัก ปัญหาความขัดแย้งมีอยู่บ้างแต่ไม่ถึงขั้นรุนแรง มีปัญหาอาชญากรรมน้อย เนื่องจากชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนท้องถิ่นที่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน โดยสรุปผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตชุมชนนั้นประกอบด้วยผลกระทบทางบวกและทางลบทั้งใน ด้านเศรษฐกิจ ด้านสังคม ด้านวัฒนธรรม และด้านสภาพแวดล้อม
This research aims to study changes in the way of Kiriwonglife and to study impacts of tourism on the local way of Kiriwong life in economy, society, culture, and environment. Data was collected by using participant observationand interview methods.
There were 50 participants which were community leaders, Village heads, Member of the Sub-district AdministrativeOrganization Council, representatives of groups in community, and people ofKiriwong Village. Data was analyzed to summarize the results. Then the results were presented by using descriptive method.
The research reveals that theway of Kiriwong life changed slowlyin the past. However, when the village has evolved over the years to become one of Nakhon Si Thammartpopular tourist attractions, the local way of Kiriwonglife has changed rapidly over the pastthree years.The important changes in the Kiriwong way of life are as follows: people have more career opportunities in the fast growing industry of travel; houses and buildings have been decorated and designed in a more contemporary style; modern instruments and chemical substances are more often used in the local agriculture; the community economy is getting better, especially in income distribution; household debt keeps rising because of the needs to invest and to product products and services, landshave been transferredto different holders from both inside and outside community, members of families are more satisfied and happier with their lives, more people in the community started to pay attention to education so their children have got a higher degree; there are more variety of local products; people in the community become more estranged than people in the past; as being a tourist attraction, people gather to do two main activities which are religious ceremony and festival; there is some disagreement among people in the community but it is not intense conflict; and there are only few community crime problemsdue to good relationship between people in all levels of the community.In conclusion, there are positive and negative impacts of tourism on the local way of Kiriwong life in economy, society, culture, and environment.
Article Details
References
หมู่เกาะช้าง จังหวัดตราด. (ปริญญาวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์, บัณฑิต
วิทยาลัย. สาขาอุทยานและนันทนาการ.
นิยพรรณ วรรณศิริ. (2540). มานุษยวิทยาสังคมและวัฒนธรรม. กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร. (2557). การสังเกต 360 องศาเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(1).
ปานจิตร จินหิรัญ และพีรสิทธิ์ คำนวณศิลป์. (2556). ศึกษาผลกระทบของการท่องเที่ยวต่อชุมชนชาวเกาะพะ
งันบทความจากการประชุมหาดใหญ่วิชาการ ครั้งที่ 4 เรื่อง การวิจัยเพื่อพัฒนาสังคมไทย.
พระมหาเทพรัตน์ อริยว์โส, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). รูปแบบการจัดกิจกรรมบูรณา
การเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสาร
นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
วรดี เลิศไกร จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม-มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของเล่นภูมิ
ปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัย กรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 8(1).
ศุภวรรณ เจริญชัยสมบัติ. (2554). การเปลี่ยนแปลงสิ่งแวดล้อมและวิถีชุมชนจากการท่องเที่ยวกรณีศึกษาเกาะ
เสม็ด จังหวัดนนทบุรี. (ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศิลปากร, บัณฑิตวิทยาลัย.สาขาวิชาการประกอบการ.
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ. (2559). แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
ฉบับที่ 12 (2560-2564).
อัญญารัตน์ ธราวรรณ. (2557). การศึกษาผลกระทบทางสังคมและวัฒนธรรมจากการจัดการการท่องเที่ยว
กรณีศึกษาเมืองเชียงคาน ตำบลเชียงคาน อำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย. (ปริญญาศิลปศาสตรบัณฑิต).
มหาวิทยาลัยศิลปากร. คณะโบราณคดี. สาขาวิชาการจัดการทรัพยากรวัฒนธรรม.
อุสา บุญบำรุง และคณะ. (2548). พลังงานน้ำกับภูมิปัญญาท้องถิ่น กรณีศึกษาหมู่บ้านคีรีวง. มหาวิทยาลัยพระ
จอมเกล้าธนบุรี.
องค์การบริหารส่วนตำบลกำโลน. (2559). ข้อมูลทั่วไปขององค์การบริการส่วนตำบลกำโลน. นครศรีธรรมราช.
Ann R. J. Briggs, Marianne Coleman and Marlene Morrison. (2012) Research Methods in
Educational, Leadership and Management. California: SAGE publication Inc.
Barney G. Glser. (1978). Advances in the Methodology of Grounded Theory Theoretical
Sensitivity. University of California San Francisco.
Finberg. H.P.R., ed. ( 1962). Approaches to History, A Symposium. University of Toronto press.
Louvered, Jordan J. (1988). Analyzing Decision Making. California: Sage Publications Inc.