การพัฒนานโยบายการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว : กรณีศึกษาธุรกิจที่พักในจังหวัดอุบลราชธานี Development of Human Resource Development Policy of Tourism Industry in Ubon Ratchathani Province: Case Study of Lodging Business

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์วิกานดา เกษตรเอี่ยม
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.จตุรงค์ ศรีวงษ์วร

Abstract

              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนานโยบายการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานี : กรณีศึกษาธุรกิจที่พักกลุ่มตัวอย่างจำแนกได้ดังนี้ 1)เจ้าของธุรกิจที่เกี่ยวข้องและได้รับผลประโยชน์โดยตรงจากธุรกิจที่พัก จำนวน 10 ธุรกิจ ทำการเลือกตัวอย่างแบบโควตา 2) ผู้ประกอบการธุรกิจที่พัก ขนาดกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น จำนวน 9 คนทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง 3) ประชากรที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการพัฒนานโยบายการพัฒนาบุคลากรในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวจังหวัดอุบลราชธานีจำนวน 7 คน ทำการเลือกตัวอย่างแบบเจาะจง และ 4) นักท่องเที่ยวชาวไทยและนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติที่ได้มาพำนักในจังหวัดอุบลราชธานีเนื่องจากไม่ทราบจำนวนประชากรที่แน่ชัดจำนวน 400 คนเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วยแบบสอบถามและการสัมภาษณ์กลุ่มสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา


ผลการวิจัยพบว่า


  1. ความต้องการของนักท่องเที่ยวเกี่ยวกับธุรกิจที่พักในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่านักท่องเที่ยวมีความต้องการในประเด็นที่พักมีระยะทางไปยังแหล่งท่องเที่ยวต่างๆ ที่เหมาะสมมากที่สุด รองลงมาได้แก่ นักท่องเที่ยวมีความต้องการในด้านความต้องการสิ่งอำนวยความสะดวก อาทิ บริการรถรับส่ง ร้านอาหาร บริการซักผ้า เป็นต้น และ นักท่องเที่ยวมีความต้องการในด้านการให้บริการ/แนะนำการท่องเที่ยว

  2. ระดับความพึงพอใจโดยรวมของนักท่องเที่ยวต่อการใช้บริการที่พัก โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อจำแนกเป็นรายข้อเรียงลำดับจากมากไปน้อย พบว่านักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจด้านทำเลที่ตั้งมากที่สุด รองลงมา ได้แก่ ความพึงพอใจด้านลักษณะห้องพัก และ ความพึงพอใจด้านราคา

  3. แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการปฏิบัติงานของบุคลากรในธุรกิจที่พัก สามารถแบ่งประเด็นหลัก (Major theme) ได้ 3 ประเด็นหลักๆ คือ 1) แนวทางการพัฒนาบุคลากรในด้านการบริการ, 2)แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านการทำงานองค์รวม และ 3) แนวทางการพัฒนาบุคลากรด้านความพึงพอใจในการทำงาน

              This research aims to developing Human Resource Development (HRD) of Tourism Industry in Ubon Ratchathani Province: Case Study of Lodging Business. The samples consisted of 1)10 owners of business which related to Lodging Business using Quota sampling, 2)9 owners of lodging business using purposive sampling, 3)7 peoples who involved in the developing of Human Resource Development (HRD) of Tourism Industry in Ubon Ratchathani Province using purposive sampling, and 4)400 tourists in Ubon Ratchathani Province. The research instrument were a five–rating–scale questionnaire and focus group. The statistics used is mean, standard deviation and content analysis.


The result of the study found that


  1. The need of Tourist to the operation of lodging business was in the high level in overall, when put in order from high to low as the following; the need of the distance between the lodging business and tourism attraction, facilities in lodging business, and information service provides.

  2. The level of tourist satisfaction was in the high level in overall, when put in order from high to low as the following; the satisfaction in the location of lodging business, the satisfaction in types of rooms, and the satisfaction in price.

  3. The way to increase operational efficiency of lodging business can categorize in 3 major theme as follow; human resource development in term of operational service, overall and job satisfaction.

 

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กรมการท่องเที่ยวกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา. (2554). สรุปสถิติการท่องเที่ยวประเทศไทย ปี 2553, 9 กันยายน 2558. http://www.tourism.go.th/2010/th/statistic/tourism.php?cid=30.
กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์ และกัลยกร ภิญโญ. (2558, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินผลการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2558). บริหารทรัพยากรมนุษย์. กรุงเทพมหานคร: โอเดี่ยนสโตว์.
จตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ และวิกานดา เกษตรเอี่ยม. (2555). ปัญหาและความต้องการพัฒนาบุคคลของมหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
บุญชม ศรีสะอาด. (2545). การวิจัยเบื้องต้น. พิมพ์ครั้งที 7. กรุงเทพมหานคร: สุวีริยาสาส์น.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ปรียาพร วงศ์อนตรโรจน์. (2544). จิตวิทยาการบริหารบุคคล. กรุงเทพมหานคร: พิมพ์ดี.
ปิยนุช เกาะกลาง. (2552). ปัจจัยที่สัมพันธ์กับแรงจูงใจในการทำงานของพนักงานโรงแรมบูติคแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่. (การค้นคว้าแบบอิสระ). มหาวิทยาลัยเชียงใหม่, บัณฑิตวิทยาลัย.
พิชญา วัฒนะรังสรรค์ และชลวิช สุธัญญารักษ์. (2559). การเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของพนักงานโรงแรมระดับ 4 ดาว ย่านสยามสแควร์, วารสารวิจัยและพัฒนาวไลยอลงกรณ์ในพระบรมราชูปถัมภ์ สาขามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์, 11(1), 71–80.
สโรชา แพร่ภาษา. (2549). ความพึงพอใจของประชาชนที่มีต่อการให้บริการขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น: องค์การบริหารส่วนจังหวัดฉะเชิงเทรา อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา, วารสารวิชาการมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มหาวิทยาลัยบูรพา, 14(21), 106–122.
สำนักงานสถิติแห่งชาติ. (2557). การสำรวจการประกอบกิจการโรงแรมและเกสต์เฮาส์ พ.ศ. 2557 (The 2014 Hotels and Guest Housed Survey). กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร.
อรุณี ลอมเศรษฐี. (2554). ปัจจัยที่มีผลต่อการตัดสินใจของนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติในการเลือกใช้บริการที่พักในเขตกรุงเทพมหานคร. (การค้นคว้าอิสระ). มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี, คณะบริหารธุรกิจ.
อัยรดา พรเจริญ และจตุรงค์ ศรีวงษ์วรรณะ. (2554). การบริหารทรัพยากรมนุษย์ขององค์การธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อยในเขตอีสานใต้. รายงานการวิจัย. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
อัศวินี ไชยวุฒิ. (2551). ความพึงพอใจในงานของพนักงานแผนกบริการส่วนหน้าโรงแรม ในจังหวัดเชียงใหม่. เชียงใหม่: มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.
Aday, L.A. and Andersen, R.M. (1974). A framework for the study of access to medical care, Health Services Research, 9(3). 208-220.