การพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนโดยใช้กระบวนการวิจัย : “การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน” A Development learner competencies by research : “Classroom action research"

Main Article Content

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์

Abstract

                        การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นกระบวนการศึกษาค้นคว้าหาความรู้ความจริงเกี่ยวกับกระบวนการเรียนการสอนของครู การแสวงหาวิธีการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เกิดขึ้นในบริบทของชั้นเรียนเพื่อแก้ปัญหาหรือพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนอย่างเป็นระบบ สามารถดำเนินการควบคู่ไปกับการจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนปกติ  ด้วยกระบวนการที่เรียบง่ายและเชื่อถือได้ครูผู้สอนจึงเป็นครูนักวิจัยที่ค้นหาวิธีการหรือนวัตกรรมเพื่อนำมาใช้ในการจัดการเรียนรู้ เพื่อพัฒนาสมรรถนะผู้เรียนให้เป็นไปตามเป้าหมายของหลักสูตร ลักษณะของการวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียนเป็นการบูรณาการการจัดการเรียนรู้กับการวิจัย ผู้วิจัยยังคงทำงานสอนตามปกติ สามารถใช้เครื่องมือวัดผลการเรียนรู้ที่เกี่ยวกับพฤติกรรมผู้เรียนด้านพุทธิพิสัย จิตพิสัย ทักษะพิสัย หรือทักษะกระบวนการต่างๆ เป็นเครื่องมือวิจัย วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานการดำเนินการวิจัยจะดำเนินการตามวงจรการวิจัยของเคมมิส 4 ขั้นตอน คือขั้นวางแผน ขั้นดำเนินการ ขั้นสังเกตตรวจสอบผลที่เกิด และขั้นสะท้อนผล


                   Classroom action research is a studying process to find out the fact of teachers learning and teaching process. It’s also seeking the way to solve  the problems or develop learners in the context of the class with systematically, simply and reliability. Teachers acted as researchers who search for learning innovations to integrate for learning management according to meet the curriculum goals. The classroom action research is the integrated implementation between learning management and research. The learners’ behavior domains are cognitive, affective, psychological and skill should be measure by several processes. Data analyzed should be from basic statistic such as a conclusion with graph, figure, testing score or categorize etc. The classroom action research complied of four steps as we called Kemmis’s cycle; planning, action, observed and reflect.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2542). พระราชบัญญัติแห่งชาติ พุทธศักราช 2542. กรุงเทพมหานคร: คุรุสภา.
คณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ, สำนักงาน. (2544). แนวทางการปฏิรูปการศึกษาระดับอุดมศึกษาตาม
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพ.ศ.2542. กรุงเทพมหานคร: วีทีซี คอมมิวนิเคชั่น.
ทิศนา แขมมณี. (2540). ผลิตผลและผลิตภัณฑ์ทางการศึกษาจากงานวิจัย. ฝ่ายวิจัย คณะครุศาสตร์
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
ทิศนา แขมมณี. (2547). ศาสตร์การสอน:องค์ความรู้เพื่อการจัดกระบวนการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพ.
กรุงเทพมหานคร: สำนักพิมพ์แห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2556). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. เอกสารประกอบการประชุมสัมมนา
นวัตกรรมเพื่อการพัฒนาในศตวรรษที่ 21 วันที่ 7 กันยายน 2556 ณ บัณฑิตวิทยาลัยมหาวิทยาลัย
ราชภัฏนครศรีธรรมราช.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
ปรีชา สามัคคี และปัญญา เลิศไกร. (2557). การสังเกต 360 องศาเพื่อการวิจัยและพัฒนา. วารสารนาคบุตร
ปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(1).
พิมพันธ์ เดชะคุปต์. (2544). การวิจัยในชั้นเรียน : หลักการสู่การปฏิบัติ. กรุงเทพมหานคร: เดอะมาสเตอร์กรุ้ป แมเนจเม้นจำกัด.
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
วิจารณ์ พานิช. (2555). วิถีสร้างการเรียนรู้เพื่อศิษย์ในศตวรรษที่ 21. กรุงเทพมหานคร: มูลนิธิสดศรีสวัสดิ์วงศ์
สุนทร โตบัว. (2554). การพัฒนาสมรรถนะวิจัยของนิสิตวิชาชีพครูด้วยชุดการเรียนรู้ด้วยตนเอง.
การประชุมวิชาการระดับชาติ มหาวิทยาลัยบูรพา 6–7 กรกฎาคม 2554.
สุวิมล ว่องวาณิช. (2548). การวิจัยปฏิบัติการในชั้นเรียน. พิมพ์ครั้งที่ 8. กรุงเทพมหานคร: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
อภิสรรค์ ภาชนะวรรณ. (2552, กุมภาพันธ์–พฤษภาคม). รูปแบบการพัฒนาสมรรถนะการวิจัยของครูด้วย
กระบวนการวิจัยแบบมีส่วนร่วม. วารสารศึกษาศาสตร์, 20(2).
อุทุมพร จามรมาน. (2537). การวิจัยของครู. กรุงเทพมหานคร: ฟันนี่ .