บทบาทของครูผู้ช่วยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 The Role of Assistant Teacher in Academic Administration of School under the Office of Chumphon Primary Education Service Area Office 2

Main Article Content

อารี ศรีใสพัฒนกุล
ดร. อรุณ จุติผล
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สำเริง จันชุม

Abstract

                   การวิจัยเรื่องบทบาทของครูผู้ช่วยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 มีวัตถุประสงค์  เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้ช่วยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชุมพร เขต 2 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ลักษณะการสอน และขนาดของโรงเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ ครูผู้ช่วย จำนวน 108 คน โดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิตามขนาดของโรงเรียนและอำเภอ โดยศึกษาบทบาทของครูผู้ช่วยในการบริหารงานวิชาการ จำนวน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยใช้วิธีการทดสอบค่าที (t-test) และทดสอบความแปรปรวนทางเดียว (F-test) ผลการวิจัยพบว่า (1) บทบาทของครูผู้ช่วยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า ด้านวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านการจัดการเรียนรู้ ด้านสื่อการเรียนรู้ และด้านการบริหารจัดการหลักสูตร ตามลำดับ (2) การเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้ช่วย จำแนกตามลักษณะการสอน วุฒิการศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านไม่แตกต่างกัน ส่วนผลการเปรียบเทียบบทบาทของครูผู้ช่วยในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษา จำแนกตามขนาดของโรงเรียน โดยภาพรวมไม่แตกต่างกัน เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่า บทบาทด้านการบริหารจัดการหลักสูตรของโรงเรียนขนาดเล็กและขนาดกลาง มีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05


                   


The purposes of this research were to study and compare the role of teacher assistants for academic administration at school under Chumphon Primary Education Service Area Office 2. The 108 samples consisted of teacher assistants and classify by education level, teaching characteristic and school size. The role of teacher assistants in academic administration had four items which included; curriculum administration, learning administration, innovation and measurement and evaluation. The research instruments are questionnaires. Data analysis employed by percentage, mean, standard deviation, t-test and One-way ANOVA.


The research revealed that;


        1. In overall, the roles of teacher assistants in academic administration are in high level. When considering in each aspect found that measurement and evaluation, learning administration, innovation and curriculum administration are in consequence high level.


  1. The comparison of the roles of teacher assistants in academic administration classified by education level and teaching characteristic found with no difference. While classified by school sized found statistically significant difference at the .05 level.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. กรุงเทพมหานคร:
ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
. (2557). แนวปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน
พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
กันตพัฒน์ มณฑา. (2554). ความสัมพันธ์ระหว่างการบริหารงานวิชาการกับสมรรถภาพการสอนของครูโรงเรียน
เอกชน จังหวัดราชบุรี. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมธิราช, สาขาศึกษาศาสตร์.
นภาดา ผูกสุวรรณ์. (2553). การบริหารงานวิชาการตามทรรศนะของครูโรงเรียนเทศบาลแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัด
ชลบุรี. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยบูรพา, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
พิชิต ฤทธิ์จรูญ. (2554). ระเบียบการวิจัยทางสังคมศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 5. กรุงเทพมหานคร: เฮ้าส์ ออฟ เคอร์มิสท์.
ภัทราภรณ์ แดงแก้ว. (2557). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของข้าราชการครูสังกัดสำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษายโสธร เขต 1. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหาร
การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
มณัฐฎ์ สุขปลั่ง. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูในสถานศึกษาขนาดเล็ก สังกัด
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครนายก. (วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต). สาขา
การบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยอีสเทิร์นเอเชีย.
เมตต์ เมตต์การุณ์จิต. (2553). การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมประชาชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและ
ราชการ. พิมพ์ครั้งที่ 2. กรุงเทพมหานคร: บุ๊คพอยท์.
ราชกิจจานุเบกษา. (2542). พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ.2542 เล่มที่ 116 ตอนที่ 74 ก
วันที่ 19 สิงหาคม 2542. กรุงเทพมหานคร: ราชกิจจานุเบกษา
ลัญจกร นิลกาญจน์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนารูปแบบการเรียนรู้. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 6(2).
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสาร
นาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
วันชัย พงสุพันธ์. (2553). การศึกษาการบริหารงานวิชาการของโรงเรียนขนาดเล็ก สำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษามหาสารคาม เขต 3. (วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สมาน อัศวภูมิ. (2553). การบริหารการศึกษาสมัยใหม่ : แนวคิด ทฤษฎี และการปฏิบัติ. พิมพ์ครั้งที่ 5
อุบลราชธานี: อุบลกิจออฟเซทการพิมพ์.
สายหยุด ประกิคะ. (2552). การศึกษาสภาพและความต้องการมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการ
ของครูผู้สอนในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษานครราชสีมา เขต 6.
(วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาวิชาการบริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมา.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน. (2553). คู่มือ “เส้นทางครูมืออาชีพสำหรับครูผู้ช่วย”.
กรุงเทพมหานคร: ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย.
สุดหทัย ดาราพงษ์. (2555). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูผู้สอนระดับการศึกษาขั้น
พื้นฐาน เขตเทศบาลเมืองตราด จังหวัดตราด. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาวิชาการ
บริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยบูรพา.
สุทธิรา เกษมราษฎร์. (2559). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครูโรงเรียนกลุ่มบางละมุง 4
สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชลบุรี เขต 3. (งานนิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต). สาขาการ
บริหารการศึกษา. มหาวิทยาลัยบูราพา.
สุมาลี สัจจาวัฒนา. (2554). การมีส่วนร่วมในการบริหารงานวิชาการของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษานครราชสีมา เขต 5. (สารนิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต). สาขาการบริหาร
การศึกษา. มหาวิทยาลัยราชภัฏชัยภูมิ.
Krejcie, R.v. and Morgan, D.W. (1970). Determining sample size for research activities.
Education and Psychological Measurement.
Tuff, Lone and Lethbridge. (2011). Teacher perception of character education. University of
Lethbridge. Faculty of Education.
Wendy Symes and Neil Humphrey. (2012). Including pupils with autistic spectrum disorders in
the classroom: the role of teaching assistants. European Journal of Special Needs
Education. 27 (4), 517-532.