เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน Sufficiency Economy in school
Main Article Content
Abstract
เศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน เป็นแนวทางให้ผู้บริหาร ครูผู้สอน สามารถประยุกต์ใช้กับการเรียน การสอน เป็นแนวการทำกิจกรรมเสริมในโรงเรียน กิจกรรมชุมชนแบบมีส่วนร่วม การพึ่งตนเองเป็นหลัก ที่เน้นความสมดุลทั้ง 3 คุณลักษณะ คือ พอประมาณ มีเหตุมีผล และมีภูมิคุ้มกัน เป็นกระบวนการสร้างคนให้กับสังคม ที่เป็นคนตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงให้มีวิธีคิด วิธีการควบคุมตนเองในการตัดสินใจดำเนินชีวิต หรือตัดสินใจในกำหนดตนเอง ให้มีจิตใจเข้มแข็ง อดทนต่อสิ่งยั่วยุมีจิตสำนึกที่ดี ใจกว้างมีเหตุผล มีจิตสาธารณะ คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมเป็นหลัก โดยสร้างความตระหนักให้เกิดขึ้นในตัวครูและนักเรียน
โรงเรียนจะจัดกระบวนการเรียนรู้ สร้างคนด้านการทำงานเป็นทีม ทักษะการประสานงาน ประสานเครือข่ายสร้างความพร้อมที่จะทำงาน การจัดการกิจกรรมโครงการเน้นความพอเพียงที่เกิดจากรากฐานทรัพยากรที่มีในโรงเรียนและในชุมน พยายามจัดระบบรายได้ที่มีให้สมดุลกับรายจ่ายอย่างมีเหตุผล ประหยัดเก็บออมเงินและแบ่งปันผู้อื่น รู้จักใช้เทคโนโลยี และนวัตกรรม ภูมิปัญญาที่เหมาะสม สอดคล้องกับสภาพแวดล้อมในโรงเรียนและในชุมชน ฝึกฝนการใช้ทรัพยากรอย่างฉลาด สร้างสำนึกอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เน้นการคิดวิเคราะห์และจัดการอย่างฉลาดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ดูแลสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืน
Sufficiency Economy in school is a guideline for administrators and teachers. They can be applied to teaching and learning, it is a complementary activity in school, community engagement activities, and self-reliance. It emphasizes the balance of the three features: moderate, rational, and immune. It is a process of creating people for society that is the philosophy of Sufficiency Economy for thinking method, controlling method yourself in making a living decision or decides determination on myself, to have strong heart patience with provocation, good conscience. Then they have public mind, take into account the collective benefit by raising awareness among teachers and students.
The school will organize the learning process, build teamwork, and coordination skills networking, build up, ready to work. They make a project activities focused on sufficiency based on resource foundations in schools and in congregations.They try to arrange a balanced income system with reasonable expenses.Save money and share with others. They know the technology and innovation wisdom to correspond to school and community environment. They He practiced smart use of resources, create environmental awareness, focus on thinking, analyzing and managing wisely and environmentally sustainable.
Article Details
References
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
ภัคพงศ์ ปวงสุข. (2553). เศรษฐกิจพอเพียงกับการศึกษาเกษตร. กรุงเทพมหานคร: มีนเซอร์วิสซัพพลายลิมิต
เต็ด พาทเนอร์ชิพ.
ถวัลย์ มาศจรัส. (2550). Model. การจัดการเรียนรู้ตามปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง. (ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์).
สมบัติ กุสุมาวลี. (2550). หลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงกับการพัฒนาองค์การ. เอกสารสัมมนา.
(ไม่ปรากฏสถานที่พิมพ์)
สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.(2550). วิชาการประจำปี 2550 ปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงกับการบริหารการพัฒนา. กรุงเทพมหานคร: สถาบันบัณฑิตพัฒนาบริหารศาสตร์.
ปัญญา เลิศไกร. (2558). ทฤษฏีการวิจัยและพัฒนานวัตกรรม. นครศรีธรรมราช: มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช.
ปัญญา เลิศไกร, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). การเก็บข้อมูลวิจัยชุมชนภาคสนาม.
วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
พระมหาเทพรัตน์ อริยว์โส, ลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, กรกฎาคม–ธันวาคม). รูปแบบการจัด
กิจกรรมบูรณาการเพื่อการพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม วัดพรหมโลก อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(2).
วรดี เลิศไกร, จรุงใจ มนต์เลี้ยง และสุชาดา จิตกล้า. (2559, มกราคม–มิถุนายน). การจัดกิจกรรมของ
เล่นภูมิปัญญาเพื่อพัฒนาเด็กปฐมวัยกรณีเทศบาลตำบลทอนหงส์ อำเภอพรหมคีรี จังหวัดนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลันราชภัฏนครศรีธรรมราช. 8(1).
อรวรรณ แซ่อึ่ง, หัสชัย สิทธิรักษ์ และลัญจกร นิลกาญจน์. (2559, มกราคม–มิถุนายน). การถอดบทเรียนการ
ผลิตไบโอดีเซลจากน้ำมันพืชนครศรีธรรมราช. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
นครศรีธรรมราช, 8(1).
Luis R. Gomez-Mejia and David B. Balkin. (2012). Management People I Performance I
Change. New Jersey: Pearson.
Ronald H. Humphrey. (2014). Effective Leadership. Singapore: Sage.