การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบกับความสำเร็จ ในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดชุมพร The Relationship between Systems Thinking Support and Academic A

Main Article Content

อาทิตยา ศักดิ์จันทร์
ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นัฎจรี เจริญสุข
ดร.สมคิด นาคขวัญ

Abstract

             การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)ศึกษาการส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบ 2)ศึกษาความสำเร็จในการบริหารงานด้านวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูและ 3)ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบกับความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดชุมพรกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนจำนวน 278 คน ได้มาโดยการสุ่มอย่างง่ายด้วยวิธีการจับฉลาก เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.93 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐานได้แก่ค่าเฉลี่ยค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน


             ผลการวิจัยพบว่า 1)การส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับดังนี้ ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจด้านการคิดอย่างมีเหตุผลด้านการส่งเสริมอิสระในการคิด และด้านการให้คำปรึกษา 2)ความสำเร็จในการบริหารงานด้านวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูโดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมากเรียงลำดับดังนี้ ด้านการพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษาด้านการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ด้านการวัดผลประเมินผลและการเทียบโอนผลการเรียนด้านการพัฒนาสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษาด้านการนิเทศการศึกษา และด้านการวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษาและ3)ความสัมพันธ์ระหว่างการส่งเสริมกระบวนการคิดเชิงระบบกับความสำเร็จในการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาตามความคิดเห็นของครูสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 11 ในจังหวัดชุมพรพบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับปานกลาง (r= .51**) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01


          


              The purposes of this research were to study: the systems thinking support; the academic administration accomplishment of schools; and the relationship between systems thinking support and academic administration accomplishment of schools perceived by the teachers under the Secondary Educational Service Area Office 11 in Chumphon Province. The sample were 278 teachers selected by simple random sampling. Data were collected by using a questionnaire with yielded the reliability of 0.93. The data were analyzed by using mean, standard deviation and Pearson product - moment correlation coefficient.


             The research resulted showed that the overall and individual systems thinking support was at a high level ranked in descending order: knowledge creation, logical thinking, freedom of thought support and counseling. The overall and individual academic administration accomplishment of schools was at a high level ranked in descending order: school-based curriculum development, learning process development, assessment and credit transfer, educational media innovation and technology development, educational supervision, and research for educational quality development. The relationship between systems thinking support and academic administration accomplishment of schools perceived by the teachers under the Secondary Educational Service Area Office 11 in Chumphon Province showed a moderate positive correlation (r = .51**) at statistical significance level of  0.01.

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

กฤตพร แซ่แง่ สายจันทร์ และกัลยกร ภิญโญ. (2558, มกราคม-มิถุนายน). การประเมินผลการดำเนินงาน
โครงการพัฒนาชุมชนเป็นพื้นที่แบบพึ่งตนเองและยั่งยืน ADP ลำทับ จังหวัดกระบี่. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 7(1).
ธีระ รุญเจริญ. (2550). ความเปนมืออาชีพในการจัดและบริหารการศึกษายุคปฏิรูปการศึกษา.กรุงเทพมหานคร:
แอล.ที.เพรส จํากัด.
นวลนภา คมขำ. (2556). บทบาทการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3. (การศึกษาค้นคว้าอิสระมหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยนเรศวร,
สาขาวิชาบริหารการศึกษา.
นิลรัตน์ นวกิจไพฑูรย์. (2557, กรกฎาคม-ธันวาคม). การพัฒนาสมรรถนะการวิจัยในชั้นเรียนและผลสัมฤทธิ์
ทางการเรียนวิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาการเรียนรู้โดยใช้กระบวนการสอนแบบมีส่วนร่วม 4 P. วารสารนาคบุตรปริทรรศน์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช, 6(2).
พรพรรณ ภูมิภู. (2558). การคิดเชิงระบบ, 9 สิงหาคม 2558. http://www.kmcenter.rid.go.th/
kcffd/information/.../Systems%20Thinking%201.doc.
ภคมนวรรณ ขุนพิณี. (2558). การคิดเชิงระบบ, 9 สิงหาคม 2558. http://www.gotoknow.org/
user/i_phakamonwan/profil.
เรขา ศรีวิชัย. (2554). รูปแบบการบริหารงานสถานศึกษาเอกชนระดับปฐมวัยที่มีประสิทธิผลในจังหวัดนนทบุรี.
(วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีปทุม, สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
วรชัย เยาวปาณี. (2552). กระบวนการคุณภาพซิกซ์ ซิกมา. คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏ
เพชรบุรี.
อรอุมา รุ่งเรืองวณีชกุล. (2556). การพัฒนารูปแบบการเสริมสร้างสมรรถนะครูนักวิจัยด้วยการบูรณาการ
กระบวนการเรียนรู้สำหรับข้าราชการครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 2. (วิทยานิพนธ์ปริญญาดุษฎีบัณฑิต). มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ, สาขาวิชาวิชาศึกษาผู้ใหญ่.
อมรรัตน์ โพธิ์เพชร. (2557). ความสัมพันธ์ระหว่างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษากับ
ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการของสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
มัธยมศึกษา เขต 11. (วิทยานิพนธ์มหาบัณฑิต). มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี, คณะครุศาสตร์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา.
Kerjcie and Morgan. (1970). Determining Sample Size for Research Activities. Journal of
Education and Phychological Measurement.
Kreutzer. (2001). Foreword: Systems Dynamics in education. System Dynamic.
Pegasus Communications. (2000). Organizational learning: The competitive advantage of the
future. London: Prentice Hall.
Senge. (1990). The Fifth Discipline. The Art and Practice of the Learning Organization. New
York: Doubleday/Currency.