การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านพรุบัว อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช Assessment of The Project development to quality of life of students Ban Phru Bua School, Cha-uat District, Nakhon Si Thammarat Province

Main Article Content

สาครินทร์ จันทรมณี

Abstract

              การประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียน โรงเรียนบ้านพรุบัว อำเภอชะอวด จังหวัดนครศรีธรรมราช มีวัตถุประสงค์เพื่อการประเมินโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนฯ ทั้ง 6 ด้าน ได้แก่ ด้านร่างกาย ด้านอารมณ์และจิตใจ ด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียน ด้านวิชาการ ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครู และด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อนในโรงเรียน และเพื่อเสนอแนะแนวทางแก้ไขปัญหาต่อการดำเนินกิจกรรมในโครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนฯ การศึกษาครั้งนี้ประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) ที่ประกอบด้วยการประเมินด้านบริบทหรือสภาวะแวดล้อม การประเมินปัจจัยเบื้องต้นหรือปัจจัยป้อน การประเมินกระบวนการ และการประเมินผลผลิตของทั้ง 6 กิจกรรมซึ่งอยู่ภายใต้โครงการพัฒนาคุณภาพชีวิตของนักเรียนฯ ได้แก่ กิจกรรมโรงเรียนส่งเสริมสุขภาพ กิจกรรมพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม กิจกรรมพัฒนาอาคารสถานที่และสิ่งแวดล้อม กิจกรรมพัฒนาการวัดและประเมินผลตามหลักสูตร กิจกรรมพัฒนาระบบการดูแลช่วยเหลือนักเรียน และกิจกรรมประชาธิปไตยในโรงเรียน ประชากรที่ใช้ในการศึกษา จำนวน 73 คน ได้แก่ บุคลากรครู จำนวน 8 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 54 คน และคณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือแบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ การสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ด้านบริบท ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมเห็นว่ามีการนำมาปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.68, σ= 0.49) 2) ด้านปัจจัยนำเข้า ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมเห็นว่ามีการนำมาปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (μ= 4.62, σ = 0.58) 3) ด้านกระบวนการ ครูและคณะกรรมการสถานศึกษา ในภาพรวมเห็นว่ามีการนำมาปฏิบัติอยู่ในระดับมากที่สุด (μ = 4.71, σ = 0.47) และด้านผลผลิต นักเรียนและผู้ปกครองประเมินระดับคุณภาพชีวิตของนักเรียนหลังจากเข้าร่วมโครงการดังกล่าว โดยพบว่าในภาพรวมมีคุณภาพชีวิตอยู่ในระดับมาก (μ = 4.42, σ = 0.79) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านร่างกายอยู่ในระดับมาก (μ = 4.39, σ = 0.83) ด้านอารมณ์และจิตใจอยู่ในระดับมาก (μ = 4.43, σ = 0.75) ด้านสิ่งแวดล้อมภายในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก (μ = 4.50, σ = 0.76) ด้านวิชาการอยู่ในระดับมาก (μ = 4.29, σ = 0.87) ด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับครูอยู่ในระดับมาก (μ = 4.59, σ = 0.63) และด้านสัมพันธภาพระหว่างนักเรียนกับเพื่อนในโรงเรียนอยู่ในระดับมาก (μ = 4.32, σ = 0.93)


         Assessment of The Project development to quality of life of students Ban Phru Bua School, Cha-uat District, Nakhon Si Thammarat Province. The objective is to evaluate the quality of life of students in physical, emotional and psychological, Environmental in the school, academic, relationship between students and teachers, the relationship between students and friends in the school and suggestion. This study applied the concept of CIPP Model. That consists of an evaluation of context, input, process and product. The population used in the study was 73 persons, including 8 teachers, 54 students and 9 school committees. The tools were questionnaires, interview forms and focus group. Statistics were percentage, mean, standard deviation and analyze content. The results of the research were as follows: 1) Context evaluation : it is seen that the implementation is highest level (μ = 4.68, σ = 0.49). 2) Input evaluation : it is seen that the implementation is highest level (μ = 4.62, σ = 0.58). 3) Process evaluation : it is seen that the implementation is highest level (μ = 4.71, σ = 0.47). 4) Product evaluation : Students and parents assess the quality of life of students after participating in this project, it is seen that the implementation is at the high level (μ = 4.42, σ = 0.79). The physical is high level (μ = 4.39, σ = 0.83). The emotional and psychological is highest level (μ = 4.43, σ = 0.75). The Environmental in the school is high level (μ = 4.50, σ = 0.76). The academic is high level (μ = 4.29, σ = 0.87). The relationship between students and teachers is high level (μ = 4.59, σ = 0.63). the relationship between students and friends in the school is high level (μ = 4.32, σ = 0.93).

Article Details

Section
บทความวิจัย

References

Banjong, S. (2015). Evaluation of Agricultural Projects According to the Philosophy of
Sufficiency Economy in Ban School Kok Witthayakhan by CIPP MODEL. (Master of
Education Thesis Graduate school). Maha Sarakham Rajabhat University. (In Thai)
Ban Phru Bua School. (2018). Action plan of the academic year 2018. [Copy]. (In Thai)
Ministry of Education. (2016). Education Development Plan of the Ministry of Education, 12th
edition (2017 - 2021). Bangkok: Office of the Permanent Secretary for Education. (In Thai)
Office of Educational Reform. (2015). Educational Reform 2015-2021. Bangkok: Bunsiri Printing.
(In Thai)
Office of the National Education Commission. (2002). National Education Act 1999 and
Amendment (Version 2) 2002. Bangkok: Prikwhangraphic. (In Thai)
Pandon, P. (2010). The participation of basic education committee in managing Mae Tuen
Witthayakhom school. (Master of Education Thesis Graduate school), Chiang Mai
University. (In Thai)
Phongsri, P. (2010). Evaluation of educational projects. Bangkok: Book Pulse. (In Thai)
Saenrot, S. (2016). Evaluation of the Village Life Quality Development Project Pattani
Province. (Master of Education Thesis Graduate school). Prince of Songkla University. (In
Thai)
Sinpeng, D. (2010). Developing learners to a learning society: Learning-centered learning
management. Bangkok: Chulalongkorn University. (In Thai)
Unakarn, K. (2011). Evaluation of the Moral Project Brings Knowledge to Goodness in the Model
School of Morality. Brings Knowledge to Goodness. Under the Office of Suphan Buri Educational Service Area 2. (Master of Education Thesis Graduate school). Kanchanaburi Rajabhat University. (In Thai)