การพัฒนาระบบและกลไกการบริหารโรงเรียนคุณภาพสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3

Main Article Content

อยุทธ์ คงเซ็น
อโนทัย ประสาน
รุ่งชัชดาพร เวหะชาติ

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธี (Mixed Method) มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนคุณภาพ 2) พัฒนาระบบและกลไกการบริหารโรงเรียนคุณภาพ และ 3) ตรวจสอบระบบและกลไกการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครศรีธรรมราช เขต 3 กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 132 คน จากการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างโดยใช้ตารางของเครจซี่และมอร์แกน และใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบแบ่งชั้น โดยใช้ประเภทของโรงเรียนคุณภาพเป็นตัวแบ่ง และ ผู้ทรงคุณวุฒิในการสัมภาษณ์ จำนวน 7 คน การจัดการสัมมนาอิงผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 11 คน และการสนทนากลุ่ม จำนวน 8 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถามและแบบประเมินระบบและกลไกการบริหารโรงเรียนคุณภาพ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ การวิเคราะห์เนื้อหา การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน และการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ยและค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน
     ผลการวิจัย พบว่า 1) องค์ประกอบของการบริหารโรงเรียนคุณภาพ มี 4 องค์ประกอบหลัก ได้แก่ ด้านปัจจัย ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต และด้านผลลัพธ์ 2) ระบบและกลไกการบริหารโรงเรียนคุณภาพ มีโครงสร้างและองค์ประกอบ 6 ส่วน ได้แก่ วัตถุประสงค์ หลักการ แนวคิด ระบบการบริหาร กลไกการขับเคลื่อน และเงื่อนไขความสำเร็จ และ 3) ระบบและกลไกการบริหารโรงเรียนคุณภาพที่พัฒนาขึ้น มีความเหมาะสม ความถูกต้องความเป็นไปได้ และความเป็นประโยขน์ อยู่ในระดับมากที่สุด

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Chaoranong, W. (2019). Educational institution administration using a systematic method. Mukdahan: Khamsroi Pittayasan School. (in Thai)

Chumpa K., & Uppinjai, S. (2023). Community quality school management. Rajapark Journal, 17(51), 205-216 (in Thai)

Hair, J., Black, W. C., Barbin, B. J., Anderson, R. E., & Tatham, R. L. (2010). Multivariate data analysis. New Jersey: Prentice-Hall.

Khongsen, A. (2023). Development of administrative system and mechanism of quality school under the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 3. (Master of Education Thesis) Nakhon Si Thammarat Rajabhat University. Faculty of Education, Program in Educational Administration. (in Thai)

Klumgen, P., Sakpakronkan, N., & Rukkarnsil, S. (2022). Development of administration model of quality sub-district schools for school administrator in Nakhonchaiburin Provinces. Journal of Humanities & Social Sciences, 20(3), 101-122. (in Thai)

Kongsri, K. (2018). Developing good citizenship of students using KID-DE MODEL. Songkhla: Rattaphum Witthaya School. (in Thai)

Krejcie, R. V., & Morgan, D. W. (1970). Determining sample size for research activities. Educational and Psychological Measurement, 30(3), 607-610.

Manokarn, M. (2018). Basic educational reform with area-based education. Academic Journal of Education, 19(1), 1-15. (in Thai)

Puttanon, W. (2020). New normal Thai education with 4 new learning forms. Retrieved 2023, January 25, from https://www.thebangkokinsight.com/367124/. (in Thai)

Srisa-at, B. (2017). Preliminary research (10th ed.). Bangkok: Suviriyasan. (in Thai)

The Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 3. (2023). Development direction of the Office of Nakhon Si Thammarat Primary Educational Service Area 3. Nakhon Si Thammarat: Policy and Planning Group. (in Thai)

Wanichbuncha, K. (2018). Statistics for research. Bangkok: Sam Lada. (in Thai)