การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ด้วยการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และฟังก์ชันลอการิทึมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1

Main Article Content

นพชัย เรืองจักร์
เรวดี กระโหมวงศ์
เขมรัสนี สมใจ

บทคัดย่อ

     งานวิจัยนี้เป็นงานวิจัยเชิงปฏิบัติการในชั้นเรียน มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และฟังก์ชันลอการิทึมของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 ที่ได้รับจากการจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 แผนกวิชาเทคนิคควบคุมระบบขนส่งทางราง จำนวน 39 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2565 วิทยาลัยเทคนิคหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวคิด DAPIC ร่วมกับกระบวนการแก้ปัญหาของโพลยา เรื่อง ฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และฟังก์ชันลอการิทึม จำนวน 3 แผนและแบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ เรื่อง ฟังก์ชันพีชคณิต ฟังก์ชันเอกซ์โพเนนเชียล และฟังก์ชันลอการิทึมซึ่งเป็นแบบเขียนตอบ จำนวน 3 ชุด ชุดละ 4 ข้อ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ 
     ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ชั้นปีที่ 1 มีความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ในด้านการทำความเข้าใจปัญหา ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้านการทำความเข้าใจปัญหาเพิ่มขึ้นตามลำดับ (gif.latex?\bar{x} เท่ากับ 7.92, 7.97 และ 7.97) ในด้านการวางแผนแก้ปัญหา ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้านการวางแผนแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นตามลำดับ(gif.latex?\bar{x}  เท่ากับ 10.67, 10.97 และ 11.21) ในด้านการดำเนินการแก้ปัญหา ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้ มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้านการดำเนินการแก้ปัญหาเพิ่มขึ้นตามลำดับ (gif.latex?\bar{x} เท่ากับ 11.33, 11.51 และ 11.82) และ ในด้านการตรวจสอบและสรุปคำตอบ  ทั้ง 3 แผนการจัดการเรียนรู้มีคะแนนเฉลี่ยของความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ด้านการตรวจสอบและสรุปคำตอบเพิ่มขึ้นตามลำดับ (gif.latex?\bar{x} เท่ากับ 6.46, 7.21 และ 7.77)

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Boonraksa, W. (2018). Student team achievement divisions learning activity management with dapic on mathematical problem solving ability and mathematics learning achievement on pythagorastheorem of mathayomsueksa 2 students. (Master of Education). Burapha University, Faculty of Education, Program in Mathematics Teaching. (in Thai)

Hopkins, D. (2008). A teacher’s quide to classroom research (4thed.) Berkshire : McGraw –Hill.

Huaysai, N. (2021). Development of learning activities based on polya’s problem solving process to enhance mathematics problem solving ability on linear equations with one variable of matthayomsuksa 1 students.(Master of Education). Mahasarakham University, Faculty of Science, Program in Mathematics Education. (in Thai)

Munnee, J. (2022). The Effectiveness of Teaching and Learning Management of Teachers in the 21st Century under Chonburi Primary Education Service Area Office 1. (Master of Education). Krirk University, Faculty of Liberal Arth, Program in Education Administration. (in Thai)

Panich, K. (2020). Development of Mathematical Problems Solving Ability by Using Polya’s Problem Solving Process on Percentage and Ratio for Grade 6 Students. (Master of Education). Ramkhamhaeng University, Faculty of Education, Program in Mathematics Education. (in Thai)

Piromrak, U. (2019). The Development of mathematics problem solving ability through cognitively guided instruction approach and think-pair-share of matthayomsuksa 4 students. (Master of Education). Silpakorn University, Faculty of Education, Program in Curriculum and Instruction.(in Thai)

Sawatpon, N. (2022). The development of mathematics problem solving ability by using KWDL learning activities for matthayomsuksa 4 students. (Master of Education). Mahasarakham University, Faculty of Education, Program in Curriculum and Instruction. (in Thai)

Simuang, A. (2022). The development of learning activities in mathematics using the dapic problem solving process through a digital platform to enhance mathematical solving problem ability for grade 6 students. (Master of Education). Naresuan University, Faculty of Education, Program in Curriculum and Instruction. (in Thai)

Sripirom, R. (2020). The Development of Mathematics Problem Solving and Critical Thinking Abilities of Grade 11 Students Using The SSCS Learning Model with DAPIC Concept. (Master of Education). Khon Kaen University, Faculty of Education, Program in Curriculum and Instruction. (in Thai)

Suwannatrai, Y. (2020). Development of Mathematical Problem Solving Ability and Learning Achievement in Logarithm Function of Mathayomsuksa Four Students by Organizing Learning Activities based on DAPIC. (Master of Education). Mahasarakham University, Faculty of Education, Program in Teaching of Science and Mathematics. (in Thai)

Titaya, P. (2019). The Development of the mathematical word problem solving ability using polya’s problem-solving process and cooperative learning (TAI) for grade 6 students. (Master of Education). Dhurakij Pundit University, College of Education Science, Program in Curriculum and Instruction. (in Thai)