การพัฒนาความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจโดยใช้โมชั่นกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
Main Article Content
บทคัดย่อ
การเรียนการสอนภาษาอังกฤษเป็นการเรียนรู้ที่ผู้สอนต้องมีเทคนิควิธีการสอนเพื่อพัฒนาทักษะผู้เขียนโดยเฉพาะด้านการอ่าน ซึ่งเป็นทักษะสำคัญ ศักยภาพของโมชั่นกราฟิกสามารถประยุกต์ใช้เป็นเครื่องมือจัดการเรียนการสอนเพื่อเพิ่มคุณภาพการเรียนรู้ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาโมชั่นกราฟิกเพื่อการอ่านเพื่อความเข้าใจ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) หาประสิทธิภาพของโมชั่นกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 13) เปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้โมชั่นกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1ก่อนเรียนและหลังเรียนและ 4) ศึกษาความพึงพอใจในการใช้โมชั่นกราฟิกเพื่อพัฒนาการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ประชากร ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวีวิทยา จำนวน 400 คน
ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2563 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนสวีวิทยา ภาคเรียนที่ 2
ปีการศึกษา 2563 จำนวน 39 คน ด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยในการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย โมชั่นกราฟิก จำนวน 4 เรื่อง แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชา อ21102 ภาษาอังกฤษพื้นฐาน จำนวน 4 แผน แบบทดสอบวัดความสามารถในการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจก่อนเรียนและหลังเรียน
เป็นแบบทดสอบปรนัยชนิด 4 ตัวเลือก ตอบถูกได้ 1 คะแนน และตอบผิดได้ 0 คะแนน จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่ายระหว่าง 0.30-0.73 ค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.92 และแบบสอบถามความพึงพอใจ ค่าความเชื่อถือได้เท่ากับ 0.91 สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมุติฐานโดยใช้การทดสอบทีแบบไม่เป็นอิสระต่อกัน (t-test for dependent)
ผลการวิจัยพบว่า 1) ประสิทธิภาพของโมชั่นกราฟิก ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1) มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 84.87/82.48 (E1/E2) ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ 2) ความสามารถด้านการอ่านเพื่อความเข้าใจโดยใช้โมชั่นกราฟิกของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และ 3) ความพึงพอใจในการใช้โมชั่นกราฟิกสำหรับการอ่านเพื่อความเข้าใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในภาพรวม พบว่า อยู่ในระดับมาก โมชั่นกราฟิกจัดเป็นเครื่องมือทางการศึกษาที่ทรงพลังที่มีลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้อย่างตื่นตัว สามารถเข้าใจได้อย่างรวดเร็วจากเรื่องที่อ่าน
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
References
Bicen, H., & Beheshti, M. (2019) . Assessing perceptions and evaluating achievements of ESLstudents with the usage of infographics in a flipped classroom learning environment.Interactive Learning Environments, 27(7),1-29.
Infographics Lab 203. (2012). Infographics Process. Retrieved 2019, May 15, from http://visual.ly/infographics-process. (in Thai)
Kultawanich, K. (2016) Motion Graphic for Thailand 4.0. Retrieved 2019, January 24, from http://www.kulachai.com. (in Thai)
Moollaong, S. (2015). The Development of Reading Comprehension Practice Using Cooperative Reading Strategies and Graphic Diagram Techniques for Mathayomsuksa 3 Students Sa Yai Som School, U-Thong District, Suphanburi Province. Veridian E-Journal, Silpakorn University, 8(2), 2656-2672. (in Thai)
Munawaroh, S. (2019, March). Teaching the Narrative Texts Using Animation Video: Raising Students’Skills onReading Comprehension. Journal of Ultimate Research and Trends in Education, 5(1), 13-17.
Niknejad, S. & Rahbar, B. (2015, May). Comprehension through Visuaization: The Case of Reading Comprehenson of Multimedia-Based Texts. International Journal of Educational Investigations, 5(2), 144-151.
Nitedsin, W. (2008) Instructional and Innovation for learning. Bangkok : Skybook. (in Thai)
Pohlae, P.& Chuailuam, P. (2015) Infographic By Professional RIDC. Retrieved: 2020, April 18, fromhttp://www.tnrr.in.th/?page=knowledgebase&kb_id=33. (in Thai)
Pongkunapon, P. (2016, January - April). The development of video infographic and experiential learning activity entitled Activity management procedure for students at Faculty of Industrial Education and Technology. Siam Communication Review Journal, 16(21) 11-20. (in Thai)
Rasri, P. (2016, January - June). The development of Static infographic instruction media to develop learning achievement of Mathayom suksa one students. ECT Journal, 16(2), 1-10. (in Thai)
Tedsana, Ch. (2015). Infographics. Retrieved 2019, May 10, from http://www.thinkttt.com/wp- content/uploads/2014/04/how_to_infographics-2.pdf. (in Thai)
Thammachot, W. (2019, July – December). Development of Motion Graphics Learning Materials for SOC22101 Course Learning Social Studies, Religions, and Cultures on the Buddha, the Dhamma, and the Sangha for Mattayomseuksa 2 level. Journal of Applied Information Technology, 5(2), 37-47. (in Thai)
Wankong, U. (2016, July – December). English Teaching in the 21st Century. Journal of Yanasangvorn Research Institute Mahamakut Buddhist University, 7(2), 68-77 (in Thai)