การศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี A Study of the Relationship Between the Efficiency of Academic Administration Affairs and the Quality of Learner under the Secondary Educational Service Area Office 11 in Suratthani Province
Main Article Content
บทคัดย่อ
จากปัญหาการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนในการจัดการศึกษาที่ได้มีการจัดการทดสอบการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) จากผลการทดสอบ จะมีทิศทางเดียวกันในทุกๆ ปี คือ ผู้เรียนมีความรู้ต่ำกว่ามาตรฐานโดยภาพรวมการวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษาควรมีการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพในการจัดการและพัฒนาคุณภาพการศึกษา โดยใช้การบริหารงานวิชาการเป็นเครื่องมือในการปรับปรุงคุณภาพการเรียนการสอน คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา และความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษา จำนวน 44 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ สถานศึกษา จำนวน 40 โรงเรียน ได้มาโดยการสุ่มอย่าง กำหนดผู้ให้ข้อมูล ได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษา โรงเรียนละ 1 คน และ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ โรงเรียนละ 8 คน รวมทั้งสิ้น 360 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามมีค่าความเชื่อมั่น 0.96 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติพื้นฐาน ได้แก่ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน
ผลการวิจัย พบว่า ประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ดังนี้ การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในสถานศึกษา การวิจัยเพื่อพัฒนาคุณภาพการศึกษา การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ การวัดประเมินผลและเทียบโอนผลการเรียน และ การพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า คุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา โดยรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับ ดังนี้ ความสามารถในการคิดวิเคราะห์ ความรู้และทักษะที่จำเป็น ทักษะในการทำงาน สุขนิสัย สุขภาพกายและสุขภาพจิตที่ดี จริยธรรมและค่านิยมที่พึงประสงค์ และทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง ความสัมพันธ์ระหว่างประสิทธิภาพการบริหารงานวิชาการกับคุณภาพผู้เรียนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต11 ในจังหวัดสุราษฎร์ธานี พบว่า มีความสัมพันธ์กันทางบวกในระดับสูง (r = .51) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 เพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่ความเป็นเลิศและมาตรฐานศึกษาที่กำหนดและนักเรียนมีคุณภาพมาตรฐานการศึกษาและมาตรฐานสากล
Article Details
References
Fongsri, P. (2012). Writing research reports and theses. (2nd Edition). Bangkok: Sutthakarn Printing Center. (In Thai)
Jummuang, C. (2010). Effective leadership styles of school administrators under the Bangkok Metropolitan Administration. (Doctor of Philosophy Dissertation). The field of educational administration Burapa university. (In Thai)
Likert, Rensis. (1961). New Pattern of Management. New York : McGraw – Hill
Ministry of Education. (2016). Basic Education Standards 2016. Retrieved 2015, April 9, from http: // www.pccpl.ac.th/~plan
Phayakha, S. (2014). Study of conditions and problems of academic administration of educational institutions under the jurisdiction of Surat Thani Primary Education Area Office 3. Term paper (Master of Education in Educational Administration). College Surat Thani Rajabhat University. (In Thai)
Phothchan, S. (2015). The relationship between academic administration efficiency and quality of learners in basic education institutions under the Office of Kanchanaburi Primary Education Area. (Faculty of Management Studies). Kanchanaburi Rajabhat University. (In Thai)
Rojcharoenchai, W. (2010). Academic administration using schools as the base of educational institutions in the development of quality education network Benjamit, Mae Chaem District, Chiang Mai Province. Independent research, (Master of Education Faculty of Management Studies). Chiang Mai University. (In Thai)
Sagwnnam, C. (2008). Theory and Practice in Educational Administration (2nd edition). Bangkok: Bookpoint. (In Thai)
Secondary education area Zone 11. (2013). Study objectives. Retrived 2017, April 1, from http: // www.chaiwut.net/download.php