การพัฒนาแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นเพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อน เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3

Main Article Content

พีระพล จอมใจเหล็ก
ทวิกา ตั้งประภา
พนิดา ศกุนตนาค

บทคัดย่อ

     การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างและตรวจสอบคุณภาพแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นเพื่อศึกษามโนทัศน์ในการเรียนรู้เรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ สำหรับนักเรียนชั้น ม.3 กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้น ม.3 ของโรงเรียนสังกัดเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาปทุมธานี จำนวน 480 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-Stages Random Sampling) แนวทางพัฒนาคือ (1) สำรวจมโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนด้วยข้อสอบอัตนัยเพื่อให้นักเรียนตอบคำตอบและเหตุผลของคำตอบ (2) สร้างแบบทดสอบวินิจฉัยฯ ลักษณะเป็นข้อสอบหลายตัวเลือกสี่ลำดับขั้น คือขั้นคำตอบ ขั้นเหตุผล ที่ต้องระบุความมั่นใจในแต่ละขั้น (3)ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบวินิจฉัยฯด้านความยากง่าย อำนาจจำแนกและความเชื่อมั่นด้วยวิธี KR-20 ของคูเดอร์-ริชาร์ดสัน
     ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลการสร้างแบบทดสอบวินิจฉัยสี่ลำดับขั้นเพื่อศึกษามโนทัศน์ที่คลาดเคลื่อนเรื่องกระบวนการเปลี่ยนแปลงของโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ ประกอบด้วยแบบทดสอบ 3 ฉบับ คือ ฉบับที่ 1 ปรากฏการณ์ลมฟ้าอากาศและชั้นบรรยากาศ จำนวน 9 มโนทัศน์ มีข้อสอบ 17 ข้อ ฉบับที่ 2 ดิน หิน แร่และน้ำ จำนวน 14 มโนทัศน์ มีข้อสอบ 25 ข้อ และฉบับที่ 3 โครงสร้างโลก ดาราศาสตร์และอวกาศ จำนวน 6 มโนทัศน์ มีจำนวน 12 ข้อ รวม 54 ข้อ (2) ผลการตรวจสอบคุณภาพ พบว่า ข้อสอบมีค่าดัชนีความสอดคล้อง (IOC) อยู่ระหว่าง 0.60-1.00 ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่นของข้อสอบขั้นคำตอบและขั้นเหตุผลของคำตอบ ฉบับที่ 1 อยู่ระหว่าง 0.18-0.73, 0.21-0.62 และ 0.07-0.74, 0.00-0.78 และ 0.67, 0.63 ตามลำดับ ฉบับที่ 2 อยู่ระหว่าง 0.22-0.84, 0.20-0.72 และ 0.22-0.63, 0.22-0.72 และ 0.65, 0.65 ตามลำดับฉบับที่ 3 อยู่ระหว่าง 0.23-0.88, 0.26-0.66 และ 0.26-0.78, 0.22-0.78 และ 0.63, 0.60 ตามลำดับ

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Caleon, Imelda S, Subramaniam R. (2009). Do Students Know What They Know and What They Don’t Know? Using a Four–Tier Diagnostic Test to Assess the Nature of Students’ Alternative Conceptions. Res Sci Educ, 40, 313–337.

Habiddin, Mary P E. (2019). Development and Validation of a Four-Tier Diagnostic Instrument for Chemical Kinetics (FTDICK). Indonesian Journal of Chemistry. 2019(19). 720-736

Ridho A. N, Karina V. (2019). Development of A Four-Tier Diagnostic Test For Misconception of Oscillation and Waves. Journal Penelitian dan Pengembangan Pendidikan Fisika. 2019(5). 69-76

Yuberti, Suryani Y, Kurniawati I. (2020). Four-tier diagnostic test with certainty of response index to identify misconception in physics. Indonesian journal of science and mathematics education. 2020. 246-253

Homrit S. (2016). Development of four-tier diagnostic test to study student’ misconception and lack of knowledge about force and laws of motion for 10th grade students in sing buri province. (Master of Education Thesis). Srinakharinwirot University, Faculty of Science Education. (in Thai)

Karakate T. (2018). Construction of a four-tier diagnostic test to study misconceptions in biology regarding the topic of cell division for grade ten students. (Master of Education Thesis). Srinakharinwirot University, Faculty of Education, Research & Development on Human Potentials. (in Thai)

Laohaphaiboon P. (1999). Science teaching approach. (Revised Edition). Bangkok: Thai Wattana Panich. (in Thai)

Maneesai S. (2012). Develop a diagnostic test for deficiencies in scientific analysis of the reproduction of living things For students in grade 5. (Master of Education Thesis). Rajabhat Maha Sarakham University. Faculty of Graduate Studies. (in Thai)

National Institute of Education Testing Service. (2012). Guide to Ordinary National Educational Test (O-NET) for Grade six and Grade nine , Academic Year 2012. (in Thai)

Paisanit P. (2014). Research and development of research stratigies to improve scientific literacy for matthayomsuksa students: a mixed method approach. An online journal of Education. 2014(9). 739-752. (in Thai)

Puangjan Y. (2014). Create a test for diagnosing defects in studying physics on sound for grade 5 students. (Master of Education Thesis). Rajabhat Maha Sarakham University. Faculty of Graduate Studies. (in Thai)

Saiyot L & Saiyot A. (1996). Learning Outcome Measurement Techniques. Bangkok: Academic Promotion Center Press. (in Thai)

The Office of Secondary Education Service Area of Pathum Thani province. (2018). Results of Ordinary National Educational Test (O-NET) Academic Year 2018. (in Thai)