รูปแบบการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาและกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนบ้านสันติราษฎร์บำรุงและบ้านหินจอก อำเภอปะเหลียน จังหวัดตรัง

Main Article Content

กิตติมา เทียบพุฒ
ณัฐธร ขุนทอง
ปริญญา ปทุมมณี
สรรปกรณ์ ศุภการนรเศรฐ
จีรนันท์ ปรีชาชาญ
ณัฐกร บุญทวี

บทคัดย่อ

     บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพการจัดเรียนการสอนและกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุงและบ้านหินจอก 2) ศึกษาปัญหาการจัดเรียนการสอนและกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุงและบ้านหินจอก และ 3) ศึกษารูปแบบจัดการเรียนการสอนพลศึกษาและกิจกรรมนันทนาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุงและบ้านหินจอก ใช้วิธีวิจัยเชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้คือ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้างและใช้การสัมภาษณ์ตัวต่อตัว ผู้ให้ข้อมูลสำคัญ คือ ผู้บริหาร ครูสอนพลศึกษาและนันทนาการในโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดนสันติราษฎร์ประชาบำรุงและบ้านหินจอก รวมทั้งสิ้น 28 คน โดยวิธีการคัดเลือกแบบเฉพาะเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) โรงเรียนตั้งอยู่ในพื้นที่ภูเขาและห่างไกล การจัดสรรพื้นที่ใช้สอยในโรงเรียนเพื่อบริหารจัดการทรัพยากร สิ่งอำนวยความสะดวกเพียงพอในการจัดการเรียนการสอนพลศึกษาได้แต่ขาดในเรื่องของการจัดสรรงบประมาณด้านอุปกรณ์การกีฬา มีความพร้อมและขีดความสามารถของครูผู้สอน2) ปัญหาสมรรถนะและขีดความสามารถในการจัดการเรียนรู้พลศึกษาของครูที่ยังไม่มีความถนัดเฉพาะด้าน เนื่องจากไม่ได้จบตรงสาขาพลศึกษา ปัญหาความพร้อมของสถานที่ อุปกรณ์ สิ่งอำนวยความสะดวกไม่เพียงพอ ขาดความทันสมัย คุณภาพไม่ได้มาตรฐาน 3) มีการจัดการเรียนการสอนในรายวิชาสุขศึกษาควบคู่กับรายวิชาพลศึกษาการจัดการแข่งขันกีฬาภายในและภายนอก การจัดกิจกรรมนันทนาการ การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับผู้มีความต้องการพิเศษ และการเป็นผู้ฝึกสอนกีฬา

Article Details

บท
บทความวิจัย

References

Adulyanon, W. (2010). Toronto charter for physical activity. a global proposal to achieve practice. Retrieved 2023, January 2, from https://ispah.org/wp-content/uploads/2019/08/Toronto_

Behzadnia, B. (2021). The relations between students’ causality orientations and teachers’ interpersonal behaviors with students’ basic need satisfaction and frustration, intention to physical activity, and well-being. Physical Education and Sport Pedagogy, 26(6), 613-632.

Kantimaascharn,T. (2018). Conditions and problems of teaching physical education according to the opinions of physical education teachers. In primary schools in Kanchanaburi Province. Master of Education Thesis. Institute of Physical Education, Suphanburi University, Department of Education, Faculty of Education

Kongkaew, P. (2019). The development model of physical education subjects learning management of chiang mai university in the 21st century. Academic Journal of the Institute of Physical Education, 11(3), 237- 242 (in Thai)

Kunaphisit, W. (2018). Curriculum and learning management for physical education. (revised edition) Bangkok: Academic Promotion Center.

Kunaphisit, W. 2020. Physical education curriculum and learning management. (revised edition) Bangkok: SCL Textbook Center.

Lee, Y., & Park, S. (2021). Understanding of physical activity in social ecological perspective: application of multilevel model. Frontiers in Psychology, 12, 1-8.

Leo, F. M., López-Gajardo, M. A., Rodríguez-González, P., Pulido, J. J., & Fernández-Río, J. (2023). How class cohesion and teachers’ relatedness supportive/thwarting style relate to students’ relatedness, motivation, and positive and negative outcomes in physical education. Psychology of sport and exercise, 65, 102360

Phongcho K. (2019). State and Problems of Teaching and Learning in Physical Education of the Rajamangala University of Technology. Master of Education, Rajamangala University of Technology, Physical Education, Faculty of Education (in Thai)

Pinthong N. & Buppawong N. (2022). Physical education learning management for teachers in the 21st century for students. primary school Under the jurisdiction of the Regional Education Office 4. Journal of Social Science Research, 13(1), 237) (in Thai)

Sawangwong A, Tingsabhat S., & Suddee N. (2023). Effects of physical education learning management using active learning on learning achievement in fundamental movement skills on primary school students. Academic Journal of Thailand National Sports University, 15(1), 290-304 (in Thai)

Suksai, P. (2018). Teacher Phon in the 21st Century. Far Eastern University Academic Journal, (12), 8-21. (in Thai)

Murray, C. J., Abraham, J., Ali, M. K., Alvarado, M., Atkinson, C., Baddour, L. M., ... & Lopez, A. D. (2013). The state of US health, 1990-2010: burden of diseases, injuries, and risk factors. Jama, 310(6), 591-606.