การมีส่วนร่วมในการปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของคนในชุมชนตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา

Main Article Content

นภวรรณ งามขำ

บทคัดย่อ

งานวิจัยชิ้นนี้ได้ทำการศึกษาว่าการรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางสังคมจากภาคีเครือข่าย ความผูกพันกับชุมชน และความรู้เรื่องสิทธิชุมชน เป็นปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมในการปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารของคนในชุมชน ตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา
           ผลการศึกษาพบว่า การสนับสนุนทางสังคมจากภาคีเครือข่าย และความรู้เรื่องสิทธิชุมชน สามารถร่วมกันทำนาย การมีส่วนร่วมในการปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในชุมชนของหัวหน้าครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในชุมชนตำบลคู้ยายหมี อำเภอสนามชัยเขต จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ร้อยละ 47.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยระดับความรู้เรื่องสิทธิชุมชนอยู่ในระดับสูง ความผูกพันกับชุมชนอยู่ในระดับมาก การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร การสนับสนุนทางสังคมจากภาคีเครือข่าย และการมีส่วนร่วมในการปกป้องพื้นที่ความมั่นคงทางอาหารในชุมชน อยู่ในระดับปานกลาง

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)

References

ภาษาไทย
1. เครือข่ายติดตามผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน.(2560). แถลงการณ์เครือข่ายติดตามผลกระทบจากโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินเขาหินซ้อน (คตฟ.). (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก: https://prachatai.com/journal/2017/03/70733. (วันที่เข้าถึง 23 มีนาคม 2560).

2.จารุณี บุญนิพัทธ์. (2539). พฤติกรรมการเปิดรับข่าวสาร กับความตระหนัก ทัศนคติและการมีส่วนร่วมเรื่องสิ่งแวดล้อม ของพนักงานโรงงานอุตสาหกรรม เขตอำเภอบางบ่อ จังหวัดสมุทรปราการ. วิทยานิพนธ์นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

3. ชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2546). “สิทธิชุมชนท้องถิ่น จากจารีตประเพณีสู่สถานการณ์ปัจจุบัน : การศึกษาเพื่อแสวงหาแนวทางนโยบายสิทธิชุมชนท้องถิ่นในประเทศไทย.” สิทธิมนุษยชน 1. กรุงเทพ:ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร (องค์การมหาชน).

4. น้ำทิพย์ สีก่ำ. (2553). ความรู้และทัศนคติที่มีต่อการป้องกันอันตรายจากสภาพแวดล้อมในการทำงานของคนงานตัดเย็บโรงงานอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม. วิทยานิพนธ์สาธารณสุข ศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยบูรพา.

5. เทพสุดา จิวตระกูล. (2557). การนำเสนอแนวทางการพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อการดำรงอยู่ของเครือข่ายอาหารปลอดภัย. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

6. บำเพ็ญ เขียวหวาน. (2550). “การส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชาวบ้านในการฟื้นฟูทรัพยากรชายฝั่ง ขององค์กรพัฒนาเอกชน กรณี โครงการอันดามัน.” ใน รายงานโครงการความร่วมมือเพื่อการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติอันดามัน. (ออนไลน์). เข้าถึงได้จาก : www.sceb.doae.go.th/Documents/SSV/.../วิจัยโครงการอันดามัน.ppt. (วันที่เข้าถึง 20 กุมภาพันธ์ 2561).

7. พงษ์ศักดิ์ ฉัตรเตชุ. (2540). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่อนุรักษ์ พื้นที่อุทยานแห่งชาติแม่โถ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

8. ศศินา ศิริวงษ์.(2556). การมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาท้องถิ่น : กรณีศึกษาองค์การบริหารส่วนตำบลไผ่หูช้าง อำเภอบางเลน จังหวัดนครปฐม. วิทยานิพนธ์รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยศิลปากร.

9. เสน่ห์ จามริก และชลธิรา สัตยาวัฒนา. (2546). สิทธิชุมชนท้องถิ่นชาวเขา. กรุงเทพ : แชทโฟร์พริ้นติ้ง.

10. สุภา ใยเมือง. (2555). ตัวชี้วัดความมั่นคงทางอาหารระดับชุมชน. นนทบุรี : บริษัทพิมพ์ดีจำกัด.

11. สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ. (2555). “ความขัดแย้งบนพื้นที่เกษตรกรรมและวิถีชุมชนคนลุ่มน้ำคลองท่าลาด.” ใน ความมั่นคงทางอาหารกับพลังงานถ่านหิน. กรุงเทพมหานคร:สำนักพิมพ์แปลนพริ้นติ้ง จำกัด.

12. องค์การบริหารส่วนตำบลคู้ยายหมี. (2559). ข้อมูลบริบทชุมชน. (ออนไลน์) เข้าถึงได้จาก: http://www.khuyaimee.go.th/index.php. (วันที่เข้าถึง 30 มกราคม 2559).

13. อนุรักษ์ นิยมเวช. (2556). บทความเกี่ยวกับการพัฒนาการเมือง และการมีส่วนร่วมของประชาชน. กรุงเทพ:สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา.

14. อานันท์ กาญจนพันธ์. (2544). วิวัฒนาการของการบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตป่า กรณีศึกษาภาคเหนือตอนบน. กรุงเทพ : สำนักพิมพ์นิตยสารสารคดี.

ภาษาอังกฤษ
1.Best, J. W. (1981). Research in education. New Jersey: Prentice Hall.

2. Jennifer, E. Cross. (2004). Improving Measure of Community Attachment. Paper prepared for the Annual Meeting of the Rural Sociology Society, August 12-15, 2004.

3. Yamane, Taro. (1973). Statistics: An Introductory Analysis. (Third edition). New York: Harper and Row Publication.

สัมภาษณ์
1. นันทวัน หาญดี. ผู้ประสานงานเครือข่ายเกษตรกรรมทางเลือกพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา. 20 มิถุนายน 2559. สัมภาษณ์.