ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่วัยสูงอายุ
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเสนอผลการศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่วัยสูงอายุ การวิจัยนี้ใช้เทคนิคการวิจัยเชิงปริมาณ ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดจานวน 386 คน แบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้ที่ทางานรับจ้างทั่วไปที่มีนายจ้าง และ 2) กลุ่มผู้ประกอบอาชีพอิสระที่ไม่มีนายจ้าง
การนำเสนอผลการศึกษาแบ่งเป็น 2 ส่วน คือ 1) การเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่วัยสูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า แรงงานนอกระบบถึงร้อยละ 90 มีความ ไม่พร้อมทางด้านเศรษฐกิจในการเข้าสู่วัยสูงอายุ 2) ปัจจัยที่มีผลต่อการเตรียมความพร้อมทางด้านเศรษฐกิจของแรงงานนอกระบบในการเข้าสู่วัยสูงอายุ ผลการศึกษาพบว่า ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวก ได้แก่ ระดับการศึกษา ลักษณะการจ้างงาน รายได้ การเก็บออม การทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย การมีหลักประกันสุขภาพ ฐานะทางการเงินของตนเอง การเกื้อหนุนภายในครอบครัว การเกื้อหนุนภายในชุมชน/สังคม และการรับรู้ถึงระยะเวลาที่ควรเตรียมความพร้อมในการเข้าสู่วัยสูงอายุ ส่วนปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงลบ ได้แก่ จานวนบุตรในครัวเรือน ดังนั้น เพื่อให้แรงงานนอกระบบเกิดการเตรียมความพร้อม รัฐต้องเร่งดาเนินการแก้ไขอย่างเร่งด่วน โดยสนับสนุนให้ประชาชนได้รับโอกาสในการศึกษามากขึ้น ส่งเสริมการวางแผนทางการเงิน รวมทั้งมีหลักประกันต่างๆ ทั้งในด้านสุขภาพ การเงิน ครอบครัว ชุมชน/สังคม
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์