ความไม่เท่าเทียมของนโยบายการพัฒนาเมืองในภูมิภาค กรณีเมืองสงขลาและเมืองสตูล
Main Article Content
บทคัดย่อ
การพัฒนาเมืองสงขลาและเมืองสตูลในช่วงปี 2540-2560 รัฐไทยได้มีความพยายามเชื่อมโยงการพัฒนาเมืองในระดับภูมิภาคมาโดยตลอด ทำให้การศึกษาครั้งนี้มีข้อสันนิษฐานเบื้องต้นที่ว่า หากใช้ทฤษฎีทำเลที่ตั้ง (location theory) เป็นกรอบในการวิเคราะห์ เมืองทั้งสองแห่งที่มีความคล้ายคลึงกันหลายประการทั้งในแง่ของทำเลที่ตั้งเดียวกัน มีฐานเศรษฐกิจคล้ายคลึงกัน อีกทั้งยังเคยเป็นเมืองเก่าที่มีอายุของเมืองใกล้เคียงกัน ก็น่าจะมีโอกาสในการพัฒนาที่ไม่แตกต่างกัน อย่างไรก็ตาม ผลการศึกษากลับชี้ว่า แม้เมืองสตูลและเมืองสงขลาจะมีความคล้ายคลึงกันในหลายประการ แต่การพัฒนาเมืองที่ผ่านมานั้นได้ทำให้การพัฒนาเมืองเมืองสงขลาก้าวหน้ากว่าเมืองสตูลทั้งในเชิงกายภาพ เศรษฐกิจ สังคม และการบริหารจัดการ ซึ่งเป็นผลมาจากรัฐได้ดำเนินนโยบายการพัฒนาเมืองสงขลาที่ชัดเจนและต่อเนื่องมากกว่าเมืองสตูล ดังนั้นเพื่อให้การพัฒนาเมืองในภูมิภาคมีประสิทธิภาพ เกิดความเท่าเทียมและยั่งยืนมากกว่าที่เป็นอยู่ จำเป็นอย่างยิ่งที่รัฐจะต้องปรับบทบาทใหม่ โดยการกระจายอำนาจผ่านเมืองให้ท้องถิ่นและภาคประชาชนก้าวขึ้นมามีบทบาทในการพัฒนาเมืองมากขึ้น
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์