การจัดการความปลอดภัยในการชุมนุมสาธารณะ กรณีศึกษา ประเทศอังกฤษ ประเทศสหรัฐอเมริกา และประเทศไทย
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความชิ้นนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทาความเข้าใจหลักการ โดยเฉพาะวิธีการและกลไกทางกฎหมายที่เกี่ยวข้องในการจัดการความปลอดภัยสาธารณะในการชุมนุม จากการสำรวจทบทวนรูปแบบและเครื่องมือของรัฐจากกรณีศึกษาของ 3 ประเทศ พบว่า 1) ประเทศอังกฤษอันเป็นประเทศที่มีกฎหมายเฉพาะ 2) ประเทศสหรัฐอเมริกาในฐานะประเทศที่ไม่มีกฎหมายเฉพาะ และ 3) ประเทศไทย ที่มีประสบการณ์การชุมนุมทางการเมืองครั้งใหญ่หลายครั้ง และมีพัฒนาการจากการไม่มีกฎหมายเฉพาะสู่การมีกฎหมายเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับการชุมนุมสาธารณะฉบับแรกในประเทศไทย อย่างพระราชบัญญัติการชุมนุมสาธารณะ พ.ศ. 2558 บทความนี้ชี้ให้เห็นถึงความเหมือนและความแตกต่าง จากกรณีศึกษา และพัฒนาการสู่แนวทางการจัดการของประเทศไทย อันจะนาไปสู่การพัฒนาแนวทางการจัดการความปลอดภัยให้เกิดขึ้นในการชุมนุมทางการเมืองในอนาคต
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง