แซนพนม: ภูมิปัญญาเขมรโบราณมิติความสัมพันธ์ ระหว่างคน สิ่งศักดิ์สิทธิ์ และสิ่งแวดล้อม กรณีชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความเรื่องแซนพนมภูมิปัญญาเขมรโบราณมิติความสัมพันธ์ระหว่างคนสิ่งศักดิ์สิทธิ์และธรรมชาติ กรณีชุมชนรอบเขาพนมรุ้งเป็นบทความที่เขียนขึ้นเพื่อเสนอให้เห็นถึงประเพณีที่สะท้อนภูมิปัญญาท้องถิ่นด้านมิติความสมพันธ์ระหว่างคนสิ่งศักดิ์สิทธิ์และสิ่งแวดล้อม ซึ่งมาจากฐานคติลัทธิวิญญาณนิยม ความเชื่ออานาจศักดิ์สิทธิ์เหนือธรรมชาติ จึงเป็นบ่อเกิดแห่งพิธีกรรมการอ้อนวอนหรือการเซ่นไหว้ เนื่องจากการประกอบอาชีพชาวเขมรพึ่งพิงอาศัยน้ำจากธรรมชาติหรือฝนฟ้า จึงผูกโยงความเชื่อตาพนมกับการทำมาหากินเข้าด้วยกันบนฐานคิดแบบวิญญาณนิยมเพื่อให้มีผลิตผลที่งดงามและความอุดมสมบูรณ์เป็นปรัชญาเขมรโบราณที่เชื่อมโยงฐานคิดเชิงภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สื่อออกมา 3 มิติ ได้แก่ 1) ภูมิปัญญาการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 2) ภูมิปัญญาการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับคน สิ่งที่แสดงออกมาคือกิจกรรมจนกลายเป็นจารีตหรือประเพณีที่ได้ปฏิบัติร่วมกันทั้งชุมชน 3) ภูมิปัญญาการเชื่อมความสัมพันธ์ระหว่างคนกับสิ่งเหนือธรรมชาติบนฐานความคิด ความเชื่อ ความต้องการร่วมกัน ถือว่าเป็นภูมิปัญญาจากฐานวัฒนธรรมความเชื่อที่สืบทอดมาแต่โบราณของชาวเขมรในชุมชนรอบเขาพนมรุ้ง
Article Details
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์