ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชนของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ: องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นกับการบริการสาธารณะ ด้วยเครือข่ายรัฐ เอกชนและประชาสังคม
Main Article Content
บทคัดย่อ
บทความนี้ เป็นการถอดบทเรียนในการดำเนินโครงการ “ศูนย์ดูแลผู้สูงอายุในชุมชน” ของเทศบาลเมืองศรีสะเกษ เพื่อรองรับจำนวนประชากรผู้สูงอายุที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นและตอบสนองต่อความต้องการของผู้สูงอายุในด้านต่าง ๆ ตลอดจนพัฒนากลไกการทำงานในรูปแบบเครือข่ายความร่วมมือ โดยทางเทศบาลฯ ทำหน้าที่เป็นแกนกลางในการประสานงานเครือข่าย ทั้งนี้ ผลสำเร็จที่ได้จากการดำเนินโครงการ คือ การพัฒนาด้านสุขภาพและคุณภาพชีวิต
ให้แก่ผู้สูงอายุ รวมทั้งการพัฒนาให้เกิดศูนย์ต้นแบบและการขยายตัวของศูนย์ดูแลผู้สูงอายุชุมชนที่มีจำนวนศูนย์และสมาชิกเพิ่มมากขึ้น ตลอดจนนำไปสู่การผลักดันให้ผู้สูงอายุเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในการขับเคลื่อนสังคม ซึ่งเป็นกำลังสำคัญในการร่วมขับเคลื่อนนโยบายและร่วมกิจกรรมต่าง ๆ ของทางเทศบาล ปัจจัยที่นำไปสู่ความสำเร็จของการดำเนินนวัตกรรมนี้ ได้แก่ ความเชื่อมโยงและสอดคล้องกับภารกิจของภาคีเครือข่าย ทำให้การสร้างความร่วมมือและการดำเนินกิจกรรมเป็นไปในทิศทางและเป้าหมายที่สอดคล้องกัน นอกจากนี้ปัจจัยด้านเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งนำไปสู่ความต่อเนื่องในการดำเนินนโยบายยังส่งผลให้เกิดการขยายตัวของเครือข่าย และการจัดกิจกรรมอย่างต่อเนื่อง ซึ่งถือเป็นบทเรียนที่ดีในการเป็นตัวอย่างการบริหารงานท้องถิ่นที่มีการบูรณาการความร่วมมือและตอบสนองความต้องการของประชาชนที่มีความเท่าทันต่อความเปลี่ยนแปลงของท้องถิ่นในด้านต่าง ๆ
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์