ชีวิตพระป่า
Main Article Content
บทคัดย่อ
พระสงฆ์ในประเทศไทยแบ่งเป็น 2 ฝ่ายคือพระป่า (อรัญญวาสี) และ พระบ้าน (คามวาสี) พระป่าดำเนินชีวิตเป็นอยู่สัมพันธ์กับป่าไม้ ภูเขา อาศัยสภาพแวดล้อม ความสงบจากป่าเป็นเครื่องมือในการฝึกกาย ฝึกจิตใจให้ถึงอุดมการณ์สูงสุดในพระพุทธศาสนาคือความ “หลุดพ้นทุกข์” คนไทยจึงนิยมเรียกพระสงฆ์ที่ดำรงชีวิตเยี่ยงนี้ว่า “พระป่า” หนังสือ ชีวิตพระป่า ไม่เพียงแต่อธิบายถึงความเป็นอยู่ การดำเนินชีวิต ความผูกพันธ์ระหว่างอาจารย์ลูกศิษย์ อุดมคติการอยู่ป่า แต่ยังได้อธิบายกระบวนการการจะไปเป็นพระป่า การใช้ชีวิตประจำวันและเป้าหมายสูงสุดของพระป่า รวมถึงชาวบ้านที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพระป่าควรทำความเข้าใจอย่างไร อันจะไม่ทำให้วิถีพระป่าเปลี่ยนแปลงความเป็นตัวตนจนเสียเอกลักษณ์
หนังสือเล่มนี้มีคุณค่าอย่างมากต่อการอ่าน ทำให้ผู้อ่านได้รับองค์ความรู้ใหม่ สร้างแรงบันดาลใจและมีมุมมองแนวคิดมากกว่าเดิม ขณะเดียวกันในแต่ละหัวข้อผู้เขียนได้วิพากษ์แนวคิดและแนะนำวิธีปฏิบัติของชาวพุทธที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับพระป่า อันจะส่งผลต่อความเปลี่ยนแปลงของพระป่าในปัจจุบันและอนาคตได้ ซึ่งทำให้ผู้อ่านได้มองปรากฏการณ์เหล่านั้นกว้างขึ้น
Article Details

This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและความคิดเห็นที่ปรากฏในบทความในวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้แต่งบทความนั้น และไม่ถือเป็นทัศนะและความรับผิดชอบของกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคมและปริทัศน์ สถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กองบรรณาธิการไม่สงวนสิทธิ์ในการคัดลอก แต่ให้ระบุถึงการอ้างอิง