ความตระหนักและอุปสรรคในการป้องกันโรคติดเชื้อ ไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของคนไร้บ้าน ในศูนย์พักพิงคนไร้บ้านกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี
Main Article Content
บทคัดย่อ
งานวิจัยชิ้นนี้มุ่งศึกษาความสัมพันธ์ของความตระหนักในการป้องกันตัวเองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 และปัจจัยอุปสรรคของศูนย์พักพิงคนไร้บ้านที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของคนไร้บ้านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 โดยใช้วิธีวิจัยแบบผสมผสาน คือ วิธีวิจัยเชิงปริมาณในศูนย์พักพิงคนไร้บ้านกรุงเทพมหานครและปทุมธานี จำนวน 109 คน ด้วยการสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ (Accidental Sampling) ด้วยเครื่องมือแบบสอบถามปัจจัยที่ส่งผลต่อความตระหนักในการป้องกันตนเองของกลุ่มคนไร้บ้าน พื้นที่กรุงเทพมหานครและปทุมธานี ร่วมกับการใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการสัมภาษณ์เชิงลึกทางโทรศัพท์กับผู้ดูแลศูนย์คนไร้บ้านแห่งหนึ่งในกรุงเทพมหานครและจังหวัดปทุมธานี จำนวน 5 คนต่อศูนย์ โดยคัดเลือกผู้ให้ข้อมูลแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพด้วยวิธีการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis)
ผลการศึกษาพบว่า ความตระหนักในการป้องกันตนเอง ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อยู่ในระดับมาก และพฤติกรรมในการป้องกันตนเองในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 อยู่ในระดับดี โดยมีปัจจัยอุปสรรคของศูนย์พักพิงคนไร้บ้าน ที่ส่งผลต่อพฤติกรรมการป้องกันตนเองของคนไร้บ้านในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ของศูนย์คนไร้บ้านแห่งหนึ่งในพื้นที่จังหวัดปทุมธานี คือ งบประมาณ และปัจจัยอุปสรรคของศูนย์คนไร้บ้านแห่งหนึ่งในพื้นที่กรุงเทพมหานคร คือ จำนวนบุคลากร งบประมาณ พื้นที่รองรับคนไร้บ้าน และความรู้ของบุคลากร อีกทั้งค้นพบประเด็นปัญหาเพิ่มเติม คือ ผู้สูงอายุถูกบุตรหลานทอดทิ้ง ทั้งนี้ ข้อเสนอแนะจากผลการวิจัย คือ ควรดำเนินการออกแบบรูปแบบที่เหมาะสมกับบริบทชีวิตคนไร้บ้านในการสร้างความตระหนักด้านการป้องกันตนเองของคนไร้บ้านและระดมทรัพยากรเพื่อลดปัจจัยอุปสรรคในการป้องกันในส่วนของงบประมาณเพื่อให้คนไร้บ้านสามารถป้องกันตนเองภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ได้
Article Details
This work is licensed under a Creative Commons Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International License.
1) บทความนี้เป็นลิขสิทธิ์ของสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แต่ความคิดเห็นและเนื้อหาเป็นของผู้แต่ง
2) ทัศนะและข้อคิดเห็นในวารสารวิจัยสังคมเป็นของผู้เขียนแต่ละท่าน มิใช่ทัศนะและข้อเขียนของกองบรรณาธิการฯ หรือสถาบันวิจัยสังคม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้ประสงค์จะนำข้อความใดๆ ไปผลิต / เผยแพร่ซ้ำต้องได้รับอนุญาตจากผู้เขียนและกองบรรณาธิการวารสารวิจัยสังคม ว่าด้วยกฎหมายลิขสิทธิ์