ฝ่าข้ามความเหลื่อมล้ำด้วยกระบวนการสร้างความรู้ร่วม: การประเมินผลกระทบทางสุขภาพโดยชุมชน

Main Article Content

สมพร เพ็งค่ำ
เขมวไล ธีรสุวรรณจักร

บทคัดย่อ

จากการศึกษาพบว่า รายงานอีไอเอและอีเอชไอเอ มีความสำคัญในฐานะเป็นข้อมูลประกอบการตัดสินใจออกใบอนุญาตโครงการพัฒนาต่างๆ แต่การประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมปัจจุบันขาดความเป็นอิสระทางวิชาการ ความเหลื่อมล้ำเกิดจาก 1) ระบบที่เอื้อประโยชน์ให้กับเจ้าของโครงการมากกว่าคนท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นโอกาสในการเข้าถึงข้อมูล สิทธิและอำนาจในการกำหนดวิธีการ เนื้อหาและความเป็นเจ้าของรายงาน รวมถึงการเข้าถึงกลไกการตัดสินใจรายงาน และ 2) กรอบคิดเกี่ยวกับวิธีการสร้างความรู้ยังคงยึดแบบแผนของผู้เชี่ยวชาญเป็นหลัก ในขณะที่กระแสโลกปรับมาสู่โหมดการสร้างความรู้ร่วม ทำให้มีการใช้อำนาจทางสังคมที่สูงกว่า ผ่านภาษาเทคนิควิชาการมากดทับภาษาและความรู้ของคนท้องถิ่น ในส่วนของชุมชนได้ปรับตัวโดยใช้การประเมินผลกระทบด้านสุขภาพเป็นเครื่องมือในการสร้างคุณค่าและอัตลักษณ์ของชุมชน ผสานความรู้ร่วมกับนักวิชาการที่วางใจ เพื่อเพิ่มอำนาจต่อรองในขั้นพิจารณารายงานฯ และการตัดสินใจออกใบอนุญาตโครงการ ซึ่งกระบวนการดังกล่าว นอกจากจะแสดงให้เห็นถึงการฝ่าข้ามความเหลื่อมล้ำด้วยรูปแบบวิธีการสร้างความรู้ร่วมแล้ว ยังนำไปสู่การเปลี่ยนระบบที่ผูกขาดการสร้างความรู้โดยกลุ่มนักวิชาการ ผู้เชี่ยวชาญที่อยู่ในมหาวิทยาลัย หน่วยวิจัย บริษัทที่ปรึกษา รวมถึงหน่วยงานของรัฐ มาเป็นการเปิดพื้นที่ให้มีผู้สร้างความรู้ กลุ่มใหม่ๆ และให้มีการผสานความรู้ระหว่างกลุ่มผู้สร้างความรู้เหล่านี้เข้าด้วยกัน

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Article)